โดยผู้ที่ได้รับทุนในปี 2565 ได้แก่
– ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.โกวิท พัฒนาปัญญาสัตย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โครงการวิจัยเรื่อง “วิศวกรรมการปรับแต่งเอ็กโซโซม เพื่อการนำส่งยาจำเพาะแม่นยำ สำหรับรักษาโรคทางระบบประสาท หัวใจและหลอดเลือด”
– ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด จอห์น รูฟโฟโล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โครงการวิจัยเรื่อง “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของกัมมันตรังสีในอวกาศ”
– ดร.กัลยาณ์ ศรีธัญญลักษณา-แดงติ๊บ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และอาจารย์สมทบภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โครงการวิจัยเรื่อง “การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ของกลไกการอยู่ร่วมกันของกุ้งและไวรัสเพื่อประโยชน์ ในการควบคุมโรคระบาดที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกุ้ง”
และผู้ที่ได้รับทุนในปี 2566 ได้แก่
– ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โครงการวิจัยเรื่อง “นวัตกรรมทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งพื้นฐานของประชาธิปไตยอัตลักษณ์ไทย”
– ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิศิษฎ์ ทองบุญเกิด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โครงการวิจัยเรื่อง “การค้นหาระบุชนิดและลักษณะเฉพาะของโปรตีนในปัสสาวะที่มีฤทธิ์ยับยั้งหรือกระตุ้นการเกิดนิ่วไตชนิดแคลเชี่ยมอ๊อกซาเลทแบบครอบคลุม”
– รองศาสตราจารย์ ดร.ครศร ศรีกุลนาถ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการวิจัยเรื่อง “การเพิ่มขีดความสามารถการปรับปรุงพันธุ์กลุ่มปลาดุก (ปลาดุกอุย ปลาดุกยักษ์ และลูกผสมบิ๊กอุย) เพื่อยกระดับผลผลิตและนวัตกรรมอุตสาหกรรมสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน”
สำหรับ โครงการ ‘วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของกัมมันตรังสีในอวกาศ’ เป็นโครงการที่จะช่วยพัฒนาให้ประเทศไทยมีเทคโนโลยีอวกาศเป็นของตนเองโดย ขณะนี้ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด จอห์น รูฟโฟโล หัวหน้าโครงการวิจัย และทีมนักฟิสิกส์อวกาศและอนุภาคพลังงานสูงของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมุ่งศึกษาอนุภาคพลังงานสูงนอกโลก หรือรังสีคอสมิก ที่ปลอดปล่อยมาจากกิจกรรมของดวงอาทิตย์ และส่งผลกระทบทางสภาพอวกาศต่อกิจกรรมของมนุษย์ กำลังสร้างเครื่องวัดรังสีคอสมิกขนาดเล็ก เพื่อติดตามผลกระทบของพายุสุริยะต่อกัมมันตรังสีรอบโลก สำหรับดาวเทียมวิจัยดวงแรกของไทย (Thai Space Consortium 1 หรือ TSC-1) ซึ่งวางแผนว่าจะโคจรข้ามขั้วโลกในปี พ.ศ. 2568 และในระยะต่อไปก็ตั้งใจที่จะพัฒนาเครื่องวัดรังสีคอสมิกสำหรับยาน TSC-2 ยานอวกาศที่จะโคจรรอบดวงจันทร์ซึ่งประเทศไทยมีแผนที่จะพัฒนาขึ้นใน พ.ศ. 2570 ซึ่งจะเป็นการยกระดับการศึกษาอนุภาครังสีคอสมิกจากภาคพื้นดินสู่อวกาศ และยังมีแผนจะต่อยอดการวิเคราะห์ข้อมูลจากยาน Parker Solar Probe (PSP) ขององค์กร NASA ซึ่งเป็นยานแรกที่ “สัมผัส” ดวงอาทิตย์ ขณะยานนี้เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ พร้อมกับข้อมูลจากยานอวกาศอื่น ๆ เพิ่มเติมในอนาคต
ที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ ดร.เดวิด จอห์น รูฟโฟโล ได้ร่วมกับนักวิจัยไทยและนานาชาติทำการศึกษารังสีคอสมิก เสนอทฤษฎีและการวิเคราะห์ข้อมูลการเคลื่อนที่ของรังสีคอสมิกมายังโลกท่ามกลางความปั่นป่วนของลมสุริยะ การเร่งอนุภาคที่คลื่นกระแทกจากพายุสุริยะ และวิธีบ่งชี้ล่วงหน้าก่อนอนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์จะมาถึงโลกและส่งผลกระทบทางสภาพอวกาศต่อกิจกรรมของมนุษย์ ตั้งสถานีตรวจวัดนิวตรอนสิรินธร ณ ยอดดอยอินทนนท์ เพื่อวัดอนุภาคและพลังงานของรังสีคอสมิกต่อเวลา ได้รับการสนับสนุนระยะ 10 ปีจาก Australian Antarctic Division (AAD) เพื่อดูแลและปรับปรุงเครื่องตรวจวัดนิวตรอนและอนุภาคมิวออน ณ Mawson Station ทวีปแอนตาร์กติกา เข้าร่วมในโครงการ LHAASO ซึ่งมีเครื่องวัดรังสีคอสมิกยักษ์ใหญ่ ขนาดกว่า 1 ตร.กม. ใน ประเทศจีนอีกด้วย
เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ
ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ
ภาพข่าวโดย : งานสื่อสารองค์กร สำนักงานอธิการบดี,
รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี
เว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพ
วันที่ 8 สิงหาคม 2566