คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
1 – 2 เมษายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 10 สตาร์ทอัพ ด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติ ร่วมโปรแกรมเร่งการเติบโตธุรกิจ (Accelerator Program) ภายใต้โครงการ SPACE-F Accelerator รุ่นที่ 6 เพื่อยกระดับศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมอาหารโลกอย่างยั่งยืน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเปิดโอกาสในการเติบโตในอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมกับพาร์ทเนอร์ธุรกิจระดับโลก
สำหรับโปรแกรมบ่มเพาะผู้ประกอบการ (Accelerator Program) นั้น สตาร์ทอัพจะได้พัฒนานวัตกรรมร่วมกับบริษัทพาร์ทเนอร์ในโครงการ และสร้างความร่วมมือเพื่อเปิดโอกาสทางธุรกิจ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชนในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงอาจารย์และนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้คำปรึกษาและสนับสนุนด้านวิชาการ เทคโนโลยี พื้นที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นระยะเวลากว่า 4 เดือน
โดยในวันที่ 1 เมษายน 2568 ได้มีการคัดเลือกจากคณะกรรมการหน่วยงานพันธมิตรในโครงการ SPACE-F ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นำโดย คุณธวัช สุธาสินีนนท์ (Director of Global Innovation Center), สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) นำโดย ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส รองผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจและสังคม, บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) นำโดย คุณต้องใจ ธนะชานันท์ (Executive Vice President, and Chief Sustainability and Strategy) คุณดนัย ครามโกมุท (Assistant Vice President-Channels Business Development) และ คุณประทีป ศิริสุขถาวร (Assistant Manager OISHI Trading Co., Ltd.), บริษัท บริษัท เนสท์เล่ ภูมิภาคอินโดไชน่า นำโดย คุณ Jennica Cruz (Head of Corporate Innovation, and Sustainability) และ ผู้อำนวยการโครงการ SPACE-F รุ่นที่ 6 คุณ Sean Mak
และในวันที่ 2 เมษายน 2568 ของการคัดเลือก ได้มีคณะกรรมการหน่วยงานพันธมิตรในโครงการ SPACE-F ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิริยะ เตชะรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล และ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นำโดย คุณ Magnus Bergkvist (Head of Science & Research) และ คุณ Chris Aurand, PhD (Open Innovation Leader), สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) นำโดย ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส รองผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจและสังคม, บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) นำโดย คุณต้องใจ ธนะชานันท์ (Executive Vice President, and Chief Sustainability and Strategy), คุณดนัย ครามโกมุท (Assistant Vice President-Channels Business Development) และ คุณประทีป ศิริสุขถาวร (Assistant Manager OISHI Trading Co., Ltd.), บริษัท บริษัท เนสท์เล่ ภูมิภาคอินโดไชน่า นำโดย คุณ Jennica Cruz (Head of Corporate Innovation, and Sustainability) และ ผู้อำนวยการโครงการ SPACE-F รุ่นที่ 6 คุณ Sean Mak ที่ได้เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลงานของ Startup ที่ได้ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายในรูปแบบ online เพื่อคัดเลือก Startup 10 ทีมสุดท้าย เข้าสู่โปรแกรมผู้ประกอบการเทคโนโลยีอาหาร รุ่นที่ 6 ต่อไป
โดย SPACE-F Accelerator รุ่นที่ 6 ได้มีสตาร์ทอัพจากทั่วโลก จำนวนกว่า 106 ทีม สมัครเข้าร่วมโปรแกรมเร่งการเติบโต ซึ่งในรอบสุดท้ายนี้มีสตาร์ทอัพที่เข้ารอบทั้งหมด 32 ทีม จากประเทศ ได้แก่ ไทย สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส โปแลนด์ สเปน อินเดีย อิสราเอล เขตบริหารพิเศษฮ่องกง (จีน) เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ซึ่งจะมีการเปิดตัว 10 สตาร์ทอัพที่มีเทคโนโลยีและไอเดียโดดเด่น ในเร็ว ๆ นี้ โดยสามารถติดตามรายละเอียดของกิจกรรมได้ที่ https://www.space-f.co/ และ https://www.facebook.com/spaceffoodtech
เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ และ นายคุณานนต์ ศิริเขตร์
ตรวจสอบโดย : รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ
ภาพข่าวโดย : นางสาวปัณณพร แซ่แพ และ นายคุณานนต์ ศิริเขตร์
เว็บมาสเตอร์ : นายคุณานนต์ ศิริเขตร์
วันที่ 2 เมษายน 2568