20 มกราคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาสาธารณะ “จริยธรรมการวิจัยกับปัญหาการซื้อขายผลงาน” แสดงความคิดเห็นในประเด็นการซื้อขายผลงานวิจัยในวงการวิชาการ ณ ห้อง K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท พร้อมถ่ายทอดผ่านระบบประชุม online WebEx Meeting
1. ซื้อขายชื่อผู้เขียนผลงานวิจัย
2. ไม่ได้ขอจริยธรรมการวิจัย หรือขอการรับรองตามระเบียบการวิจัยอื่น ๆ ซึ่งต้องดำเนินการก่อนและไม่สามารถย้อนกลับมาขอภายหลังได้
3. ใส่ชื่อผู้ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในงานวิจัย (Gift Authors) หรือจ้างผู้อื่นทำงานวิจัยแทนตนเอง (Ghost Authors)
4. สร้างชื่อปลอมขึ้นมา และแอบอ้างชื่อสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เพื่อตีพิมพ์ผลงานวิจัย (Fake Authors)
5. ใช้บริการบริษัทบริการแต่งข้อมูลปลอม หรือใช้ AI เขียนงานวิจัย
6. ใช้บริการเอเจนซี่ตีพิมพ์งานวิจัย
7. ลอกเลียนแบบผลงานวิจัยทั้งงานของตนเองและผู้อื่น (Plagiarism)
8. ส่งผลงานวิจัยเรื่องเดียวกันตีพิมพ์หลายวารสาร หรือส่งโครงการเรื่องเดียวกันที่มีรายละเอียดเหมือนกันขอทุนหลายที่ (Duplication)
9. ซอยแบ่งงานวิจัยที่ควรจะตีพิมพ์เป็น 1 บทความ แยกตีพิมพ์เป็นหลายบทความ โดยมีรายละเอียดบางส่วนทับซ้อนกัน (Salami Publication)
10. อ้างอิงบทความวิจัยที่ถูกถอดออกจากวารสาร (Zombie Publication)
ตอนที่ 1 : Research & Publication and Ethical Issues ได้ที่
ได้ที่ https://youtu.be/RK2J-gDTUEU
ตอนที่ 2 : จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
ได้ที่ https://youtu.be/5JeKzeYyngM
ตอนที่ 3 : 10 ประเด็นจรรยาบรรณและจริยธรรม
ได้ที่ https://youtu.be/pZIorh-FQb4
และข่าวสารการจัดกิจกรรม หรือข่าวต่าง ๆ ที่น่าสนใจของคณะวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจได้ทาง https://science.mahidol.ac.th/news/
เขียนข่าว : นางสาวปัณณพร แซ่แพ
ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ
ภาพข่าวโดย: นายนภาศักดิ์ ผลพานิช
เว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพ
วันที่ 20 มกราคม 2566