EP1: Radiation safety…save ใจ รู้ไว้ปลอดภัยถ้วนหน้า

เรื่อง ‘รังสี’ ใครว่าเป็นเรื่องเล็ก เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2566 ที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ ‘ซีเซียม-137’ ซึ่งเป็นวัตถุกัมมันตรังสีที่ส่งผลต่อสุขภาพหายไปจากโรงงาน แล้วพบว่าถูกถลุงเป็นฝุ่นแดง สร้างความตื่นตระหนกไปทั่วประเทศ จะดีกว่าไหมถ้าหากเรารู้จักสัญลักษณ์ความปลอดภัยทางรังสีง่าย ๆ อย่างป้ายเตือนที่เป็นสากลของวัตถุกัมมันตรังสี หรือเครื่องหมายพื้นที่ที่มีกัมมันตภาพรังสี และอันตรายจากการสัมผัสวัตถุกัมมันตรังสี รวมถึงการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อป้องกันเหตุการณ์แบบนี้ในอนาคต

01:05 คำถามนำ ‘สัญลักษณ์เตือนอันตรายจากกัมมันตภาพรังสีหน้าตาเป็นอย่างไร?’

01:58 คำชวนสับสน ‘กัมมันตรังสี’ vs ‘กัมมันภาพรังสี’ ความหมายต่างกันอย่างไร?

02:23 การสลายตัวของกัมมันตรังสีโดยทั่วไป และการสลายตัวของ ‘ซีเซียม-137’

02:58 อันตรายจากการสัมผัสกัมมันตรังสีในระยะสั้นและระยะยาว

03:26 ผลกระทบต่อสุขภาพ ปัจจัยที่ส่งผลต่ออันตรายจากการสัมผัสรังสี หลักการหลีกเลี่ยงอันตรายจากการสัมผัสรังสี

06:15 ตัวอย่างกัมมันตรังสีที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมและการแพทย์

06:31 การใช้รังสีรักษาทางการแพทย์

07:29 การใช้รังสีในการศึกษาวิจัยทางเคมี

08:41 การบริหารจัดการความเสี่ยงภายในองค์กรที่มีการเก็บวัตถุกัมมันตรังสี

09:09 เฉลยคำตอบ ‘ป้ายเตือนที่เป็นสากลของวัตถุกัมมันตรังสี หรือพื้นที่ที่มีกัมมันตภาพรังสีหน้าตาเป็นอย่างไร’

09:50 สิ่งที่ควรทำหากพบวัตถุต้องสงสัยว่าเป็นวัตถุกัมมันตรังสี