เกร็ดน่ารู้วัคซีนโควิด – 19

ปัจจุบันการระบาดของโควิด-19 ทำได้เราได้เห็นถึงเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนที่น่าทึ่ง มีการผลิตวัคซีนหลากหลายประเภทออกมาเพื่อหยุดยั้งการระบาดของโรค ไม่ว่าจะเป็น Inactivated vaccine Viral vector vaccine Subunit vaccine หรือ mRNA vaccine แต่รู้หรือไม่เทคโนโลยีการผลิตวัคซีนบางชนิดมีมาก่อนที่จะเกิดการระบาดครั้งใหญ่ และบางเทคโนโลยีก็ต่อยอดมาจากเทคโนโลยีอื่น เช่น ยีนบำบัด (gene therapy) มาฟังเกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีน ทั้งความเป็นมา หลักการทำงาน และความพิเศษของเทคนิคการผลิตวัคซีนแต่ละชนิด พร้อมอัปเดตวัคซีนไทยที่น่าจับตามอง กับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ผู้มากความสามารถ หนึ่งในผู้เขียนหนังสือ Vaccine War สมรภูมิวัคซีนโควิด-19 ผู้แปลหนังสือ เมื่อโลกติดเชื้อ ฉบับกระชับ บรรณาธิการหนังสือ ไวรัส ฉบับกระชับ คอลัมน์นิสต์ประจำมติชนสุดสัปดาห์ กรุงเทพธุรกิจ ทั้งยังฝากผลงานไว้บนนิตยสาร อาทิ สาระวิทย์ สารคดี Update Science World รวมถึง Facebook page ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ย่อยง่ายอีกหลายแห่ง

01:50 ความเป็นมาของการมีวัคซีน และที่มาที่ไปของวัคซีนเชื้อตาย (Inactivated vaccine)

รูปภาพอธิบายหลักการผลิตวัคซีนเชื้อตาย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ เล่าถึงวัตถุประสงค์และความเป็นมาของการฉีดวัคซีน ว่าเป็นการทำให้ร่างกายรู้จักเชื้อก่อโรคก่อน โดยมีวิธีการหนึ่งก็คือการทำให้เชื้อก่อโรคตายแล้วฉีดเข้าไปในร่างกาย ซึ่งเทคนิคนี้มีการพัฒนาขึ้นมาก่อนจะมีการระบาดของโรคโปลิโอแต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก จนกระทั่งมีการใช้ควบคุมการระบาดของโปลิโอ ส่วนโรคโควิด-19 ได้ยกตัวอย่างประเภทเชื้อตายที่มีการใช้กันมากในประเทศไทยอย่างซิโนแวค (Sinovac) ซิโนฟาร์ม (Sinopharm) พร้อมอธิบายหลักการทำงานของวัคซีนเชื้อตาย และเผยข้อเท็จจริงต่อความเชื่อที่ว่าวัคซีนเชื้อตายปลอดภัยเพราะเป็นเทคโนโลยีที่ใช้กันมานาน และเสริมด้วยเรื่องของวัคซีนเชื้อตายลูกผสม NDV HexaPro ของไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในวัคซีนที่น่าสนใจ พัฒนาโดยคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับองค์การเภสัชกรรม

09:21 วัคซีนไวรัสพาหะ (Viral vector vaccine) จากวัคซีนแบบฉีดสู่แบบพ่น

รูปภาพอธิบายหลักการผลิตวัคซีนไวรัสพาหะ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ เผยว่าแท้จริงแล้ววัคซีนประเภทไวรัสพาหะ หรือ Viral vector vaccine นั้นต่อยอดมาจากเทคโนโลยียีนบำบัด (gene therapy) พร้อมเล่าถึงการทำงานของวัคซีน

รูปภาพอธิบายหลักการทำงานของวัคซีนไวรัสพาหะ

และยกตัวอย่างไวรัสพาหะที่ใช้ในการสร้างวัคซีนต้านโควิด-19 สปุตนิก วี (Sputnik V) แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) เสริมด้วยความน่าสนใจของแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งเป็นผลจากการนำงานวิจัยขึ้นหิ้งลงสู่ห้างได้สำเร็จ นำทีมโดยท่านผู้หญิงซาราห์ กิลเบิร์ต (Dame Sarah Gilbert) ลักษณะพิเศษของวัคซีนไวรัสพาหะและที่สามารถนำมาพัฒนาจากวัคซีนแบบฉีดสู่วัคซีนแบบพ่นได้ ซึ่งขณะนี้ในประเทศไทยมีการพัฒนาโดยทีมวิจัยของ สวทช.

13:41 ซับยูนิตวัคซีน / วัคซีนโปรตีนซับยูนิต (Subunit vaccine / Protein subunit vaccine) รวมมิตรแหล่งผลิตโปรตีนหนาม

รูปภาพอธิบายหลักการผลิตวัคซีนโปรตีนซับยูนิต

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อธิบายถึงแนวคิดการพัฒนาโปรตีนซับยูนิตวัคซีน และหลักการทำงานของวัคซีนให้เห็นภาพอย่างง่าย

รูปภาพอธิบายโครงสร้างของไวรัส

พร้อมยกตัวอย่างหลักการผลิตโปรตีนหนามและรูปแบบการผลิตโปรตีนหนามของวัคซีนต้านโควิด-19 ที่มาแรงอย่าง โนวาแวกซ์ (Novavax) และใบยาไฟโตฟาร์ม ซึ่งพัฒนาโดยสตาร์ทอัพ บริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด ภายใต้ CU Enterprise แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

21:48 วัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA vaccine) งานวิจัยนอกสายตาสู่ทรัพย์สินทางปัญญามูลค่าสูง

รูปภาพอธิบายหลักการผลิตวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ

ปิดท้ายด้วยวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ หรือ mRNA vaccine ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ เล่าถึงนักวิทยาศาสตร์หญิงชาวฮังการี ดร.เคทลิน คาริโก (Dr. Katalin Kariko) ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้สร้างวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเออันเลื่องลือในปัจจุบัน อย่าง ไฟเซอร์ โมเดอนา ซึ่งมีจิตวิญญาณความเป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวจริงอย่างเต็มเปี่ยม

รูปภาพอธิบายหลักการผลิตวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ
รูปภาพอธิบายการทำงานของวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ

เกร็ดความรู้หลักการทำงานของวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ การผลิต และการคว้าทุนดาร์พา (Defense Advance Research Projects Agency: DARPA) หรือ สำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงด้านกลาโหม แหล่งทุนสนับสนุนการพัฒนาวัคซีนต้านโควิด-19 ของสหรัฐอเมริกาของทีมวิจัยวัคซีน เสริมด้วยเรื่องราวอีกด้านของการพัฒนาวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอของบางบริษัทที่อาจไม่ได้ภูมิคุ้มกันที่พุ่งสูงเสมอไป พร้อมอัปเดตวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอของไทย ChulaCov19 ซึ่งนำทีมพัฒนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาของวัคซีนเอ็มอาร์เอ็น และฝากข้อคิดดี ๆ ถึงคนรุ่นใหม่ที่ต้องการคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและโลกใบนี้


แหล่งข้อมูล

รูปภาพอธิบายหลักการผลิตวัคซีนเชื้อตายจาก

https://www.facebook.com/photo/?fbid=10103203100318084&set=pb.310935.-2207520000..

รูปภาพอธิบายหลักการผลิตวัคซีนไวรัสพาหะจาก

https://www.facebook.com/photo/?fbid=10103203100343034&set=pb.310935.-2207520000..

รูปภาพอธิบายหลักการทำงานของวัคซีนไวรัสพาหะจาก

https://www.facebook.com/photo/?fbid=10103203100607504&set=pb.310935.-2207520000..

รูปภาพอธิบายหลักการผลิตวัคซีนโปรตีนซับยูนิตจาก

https://www.facebook.com/photo/?fbid=10103203100797124&set=pb.310935.-2207520000..

รูปภาพอธิบายโครงสร้างของไวรัสจาก

https://www.facebook.com/photo/?fbid=10103203100073574&set=pb.310935.-2207520000..

รูปภาพอธิบายหลักการผลิตวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอจาก

https://www.facebook.com/photo/?fbid=10103203100537644&set=pb.310935.-2207520000..

https://www.facebook.com/photo/?fbid=10103203100547624&set=pb.310935.-2207520000..

รูปภาพอธิบายการทำงานของวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอจาก

https://www.facebook.com/photo/?fbid=10103203101116484&set=pb.310935.-2207520000..