พลิกหลังกล่องหน้ากากอนามัย
ปฏิเสธไม่ได้ว่าหน้ากากอนามัย กลายเป็นหนึ่งในสิ่งจำเป็นในยุคนี้ไปเสียแล้ว เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งมีการกลายพันธุ์และแพร่กระจายเป็นวงกว้างอย่างต่อเนื่อง เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการพูดถึงประสิทธิภาพของหน้ากากอนามัยในการป้องกันโควิด-19 และตัวย่อ BFE, PFE, VFE บนกล่องหน้ากากอนามัยกันเป็นวงกว้างในโซเชียลมีเดีย จนทำให้หลายคนเกิดความวิตกกังวลว่าหน้ากากอนามัยที่เราใส่อยู่สามารถป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่
มาพลิกหลังกล่องหน้ากากอนามัย ไขความหมายของตัวย่อ BFE, PFE, VFE ทำความเข้าใจประสิทธิภาพของหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันโควิด-19 ไปกับ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติทัศน์ สุบรรณจุ้ย อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
01:12 BFE, PFE, VFE บนกล่องหน้ากากอนามัยหมายถึงอะไร
รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติทัศน์ สุบรรณจุ้ย กล่าวถึงความหมายของ BFE, PFE, VFE บนกล่องหน้ากากอนามัยอย่างคร่าว ๆ
02:14 ต้องเป็นหน้ากากอนามัยที่ได้ VFE 99% เท่านั้นไหม ถึงจะป้องกันไวรัสได้
รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติทัศน์ สุบรรณจุ้ย อธิบายถึงรายละเอียดภายใต้มาตรฐาน BFE, PFE, VFE ประเภทละอองในอากาศ (Arosol Type) ที่ใช้ในการทดสอบ ขนาดอนุภาคที่สามารถกรองได้ และข้อมูลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการกรองของหน้ากากอนามัยมาตรฐานแบบต่าง ๆ ตามผลงานวิจัยเรื่อง A comparison of facemask and respirator filtration test methods โดย Samy Rengasamy, Ronald Shaffer, Brandon Williams & Sarah Smit ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Journal of Occupational and Environmental Hygiene
11:28 ละอองในอากาศที่จัดว่าเป็นละอองฝอยขนาดเล็ก (Airborne) มีขนาดเท่าไหร่
รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติทัศน์ สุบรรณจุ้ย กล่าวถึงขนาดโดยประมาณของละอองฝอยขนาดเล็ก (Airborne) เช่น PM10 PM 2.5 แบคทีเรีย ไวรัสก่อโรคโควิด-19 และเล่าถึงผลของงานวิจัยเรื่อง Minimum Sizes of Respiratory Particles Carrying SARS-CoV-2 and the Possibility of Aerosol Generation จากวารสารวิชาการ International Journal of Environmental Research and Public Health ซึ่งทำการศึกษา คำนวณ และชี้แจงขนาดต่ำสุดของอนุภาคละอองฝอยที่เป็นพาหะของโรคโควิด-19 รวมถึงระยะเวลาที่ละอองฝอยล่องลอยอยู่ในอากาศ
14:55 ละอองฝอยจากการจามสามารถ ไปได้ไกลแค่ไหน
รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติทัศน์ สุบรรณจุ้ย กล่าวถึงระยะที่ละอองฝอยจากการจามโดยไม่สวมใส่หน้ากากอนามัยสามารถฟุ้งกระจายออกไปได้ และผลการเปรียบเทียบการจามในขณะใส่หน้ากากอนามัยที่ผลิตขึ้นตามคำแนะนำของ The United States Surgeon General จำนวน 1 ชั้น หรือ 2 ชั้น ว่ามีอนุภาคละอองฝอยหลุดออกมาหรือไม่ อ้างอิงจากงานวิจัยเรื่อง Face masks against COVID-19: Standards, efficacy, testing and decontamination methods ซึ่งตีพิมพ์ทางวารสารวิชาการ Advances in Colloid and Interface Science
17:03 ประสิทธิภาพการดักจับอนุภาคของหน้ากากอนามัย และลักษณะเส้นใยของหน้ากาก
รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติทัศน์ สุบรรณจุ้ย อธิบายถึงประสิทธิภาพการดักจับอนุภาค และชี้ให้เห็นถึงลักษณะเส้นใยของหน้ากากอนามัยแบบต่าง ๆ ซึ่งมีการระบุไว้ในงานวิจัยเรื่อง Face masks against COVID-19: Standards, efficacy, testing and decontamination methods เช่นกัน พร้อมเน้นย้ำให้ตระหนักถึงการป้องกันตนเองและลดความเสี่ยง เพื่อรักษาสุขภาพของตนเองให้ปลอดภัยจากโควิด-19
อ้างอิง
A comparison of facemask and respirator filtration test methods https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7157953/
Minimum Sizes of Respiratory Particles Carrying SARS-CoV-2 and the Possibility of Aerosol Generation https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32977575/
Face masks against COVID-19: Standards, efficacy, testing and decontamination methods https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0001868621000762
Podcast: Play in new window | Download
Subscribe: Apple Podcasts