เผยการพัฒนาชุดตรวจ COVID-19 จากน้ำลายด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสี ใช้สตาร์ทอัพโมเดลสร้างนวัตกรรม เล็งกระจายชุดตรวจสู่ รพ.ชุมชน

เมื่อไม่นานมานี้ ทีมนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ บริษัท เซโนสติกส์ จำกัด บริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีชีวภาพสัญชาติไทย แถลงข่าวการคัดกรองผู้ติดเชื้อด้วยตัวอย่างน้ำลายและชุดทดสอบแบบเร็วด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) และคุณกวิน น้าวัฒนไพบูลย์ หัวหน้านักวิจัย และกรรมการผู้จัดการบริษัท เซโนสติกส์ จํากัด บริษัทสตาร์ทอัพภายใต้คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เผยถึงความสำเร็จการพัฒนาชุดตรวจ COVID-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสี ด้วยการใช้สตาร์ทอัพโมเดล

01:16 โครงการพัฒนาชุดทดสอบแบบเร็วเริ่มขึ้นอย่างไร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ เผยจุดเริ่มต้นของการพัฒนาชุดตรวจ COVID-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีภายใต้โครงการพัฒนาชุดทดสอบแบบเร็ว

03:40 เทคนิคแลมป์เปลี่ยนสี หรือ RT-LAMP คืออะไร มีข้อดีอย่างไร

รู้จักกับเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสี หรือ RT-LAMP และจุดเด่นที่ทำให้ทีมเลือกใช้เทคนิคนี้มาพัฒนาเป็นชุดตรวจ COVID-19 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ และ คุณกวิน น้าวัฒนไพบูลย์

05:53 เบื้องหลังการพัฒนาชุดตรวจ COVID-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสี และการลงพื้นที่นำชุดตรวจไปทดลองใช้จริง

เปิดองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญที่จำเป็นในการพัฒนาชุดตรวจ และเบื้องหลังการนำชุดตรวจไปทดลองใช้จริงในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ช่วงล็อคดาวน์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ และมุมมองในการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ตอบสนองความต้องการในยุคดิสรัปชั่นอย่างทันท่วงทีโดย คุณกวิน น้าวัฒนไพบูลย์

09:24 สตาร์ทอัพกับความเชี่ยวชาญเฉพาะในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ และคุณกวิน น้าวัฒนไพบูลย์ อธิบายถึงข้อได้เปรียบในการดึงสตาร์ทอัพที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะมาร่วมพัฒนาชุดตรวจ และปัจจัยสนับสนุนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

12:19 กว่าจะออกมาเป็นชุดตรวจเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสี ทีมนักวิจัยพบกับปัญหาอะไรบ้าง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ และคุณกวิน น้าวัฒนไพบูลย์ เล่าถึงอุปสรรคในการพัฒนาชุดตรวจ

16:07 พัฒนาต่อยอดจากการใช้งานจริง

การพัฒนาต่อยอดต้นแบบชุดตรวจโดยการบูรณาการการวิจัยร่วมกับแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สู่การยกระดับความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ไปอีกขั้น

17:49 สตารท์อัพกับการพัฒนาประเทศ

สตาร์ทอัพกับการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมเทคโนโลยีด้านอุปกรณ์การแพทย์ และการสาธารณสุขในการตรวจ รักษา บำบัด ช่วยพัฒนาประเทศไทยได้อย่างไร