3 นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล เผยเบื้องหลังเรื่องราวการพัฒนาชุดตรวจ COVID-19 ฝีมือคนไทย ด้วยเทคโนโลยี CRISPR Diagnostic แบบเจาะลึก

สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ก็คงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ยอดผู้ป่วยโดยรวมทั่วโลกเพิ่มขึ้น หลายประเทศทั่วโลกขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ แต่ท่ามกลางวิกฤติ ก็มีนวัตกรรมการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์เกิดขึ้นเช่นกัน

3 นักวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดนยา ปโกฏิประภา อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชนก ตินิกุล อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี และ ดร.สิทธินันท์ ชนะรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในภาคีเครือข่าย ทีมนักวิจัยผู้คิดค้นชุดตรวจ COVID-19 ที่ made in Thailand ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิทยสิริเมธี หรือ VISTEC และ Broad Institute, Massachusetts Institute of Technology and Harvard, USA รวมถึงอีกหลากหลายสถาบันชั้นนำของประเทศ โดยการสนับสนุนงบประมาณการวิจัยจากกลุ่ม ปตท. และ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เผยความสำคัญของเรื่องราวเบื้องหลังการพัฒนาชุดตรวจ COVID-19 แบบเจาะลึก

01:55 ความเป็นมาของความร่วมมือระหว่างสถาบันชั้นนำรับมือการระบาด COVID-19 ปัญหาที่มีความเร่งด่วนระดับโลก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดนยา ปโกฏิประภา เผยจุดเริ่มต้นของการรวมทีมผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสถาบันชั้นนำร่วมพัฒนาชุดตรวจ COVID-19

03:21 จากที่ WHO บอกว่าเราจะต้อง Test Test Test เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 การตรวจโรคเมื่อเกิดการแพร่ระบาดใหญ่ครั้งใหญ่สำคัญอย่างไร

ทำไมการตรวจโรคเมื่อเกิดการแพร่ระบาดครั้งใหญ่จึงเป็นเรื่องสำคัญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดนยา ปโกฏิประภาเล่าถึงประโยชน์ของการตรวจโรคที่ส่งผลต่อการป้องกันไม่ให้มีจำนวนผู้ป่วยมากเกินกำลังที่ระบบสุขภาพจะรองรับไหว

06:10 Sensitivity (ความไว) และ Specificity (ความจำเพาะ) คืออะไร แบบไหนที่ควรมีมากกว่าในชุดตรวจ COVID-19 เมื่อสถานการณ์การระบาดเข้าสู่ระยะที่ 3

ทำความเข้าใจกับ 2 คุณสมบัติของชุดตรวจโรค Sensitivity (ความไว) และ Specificity (ความจำเพาะ) ชุดตรวจที่มีค่าความไวหรือความจำเพาะที่มากหรือน้อยไปจะส่งผลอย่างไร แบบไหนเหมาะกับการใช้เพื่อควบคุมและป้องกันการระบาดในวงกว้าง โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดนยา ปโกฏิประภา

09:38 กว่าจะมาเป็นชุดตรวจ COVID-19 ต้องผ่านกี่ขั้นตอน อาศัยองค์ความรู้/เทคโนโลยีอะไรบ้าง

ดร.สิทธินันท์ ชนะรัตน์ เผย 3 สิ่งที่ต้องรู้ เพื่อออกแบบและพัฒนาชุดตรวจ COVID-19

13:16 จุดเด่นของชุดตรวจ COVID-19 ที่ทีมวิจัยคิดค้นขึ้นมาคืออะไร

จุดเด่น 3 ข้อของชุดตรวจ COVID-19 ที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้นเทียบกับการตรวจด้วย RT-PCR ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน (Gold standart) ที่ WHO แนะนำ และแนวทางการงานใช้ชุดตรวจอย่างเหมาะสม โดย ดร.สิทธินันท์ ชนะรัตน์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดนยา ปโกฏิประภา

17:36 CRISPR Diagnostic คืออะไร

CRISPR Diagnostic หรือชุดตรวจคริสเพอร์ที่ใช้คริสเพอร์แคสเทคโนโลยี (CRISPR-Cas technology) คืออะไร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดนยา ปโกฏิประภา อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานของชุดตรวจที่พัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยี CRISPR-Cas พร้อมเผยโปรตีนกลุ่ม Cas ตัวไหนที่ทีมใช้พัฒนาชุดตรวจ มีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถในมาทำชุดตรวจ COVID-19 อย่างไร

24:13 ผลการนำชุดตรวจไปใช้จริงเป็นอย่างไร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชนก ตินิกุล เล่าถึง ผลการนำชุดตรวจไปจริง และขั้นตอนหลังจากผ่านการทดสอบการงานจริงแล้ว ก่อนแจกจ่ายชุดตรวจให้กับโรงพยาบาลต่าง ๆ

25:40 ทีมวิจัยมีแผนจะพัฒนาต่อยอดชุดตรวจนี้หรือไม่

นอกจากโปรตีน Cas ที่ทีมใช้พัฒนาชุดตรวจ COVID-19 แล้ว โปรตีนชนิดนี้ ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการตรวจหาอะไรได้อีก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชนก ตินิกุล ชวนมองไปข้างหน้า นำเทคโนโลยีของชุดตรวจไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตและส่งออกอาหาร ซึ่งเป็นหนึ่งอุตสาหกรรมของประเทศไทยที่มีความสามารถแข่งขันบนเวทีโลก