คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเครือข่ายมหาวิทยาลัยที่จัดกิจกรรม “มหาวิทยาลัยเด็ก” ที่จัดทำโครงการนำร่องมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทยขึ้น ในปี พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มหาวิทยาลัยเครือข่าย เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล และองค์กรความร่วมมือแลกเปลี่ยนทางวิชาการแห่งสหพันธรัฐเยอรมนี (DAAD) เพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนต้นได้ร่วมทำกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต่างๆ โดยมีนักวิจัย และ นักศึกษาระดับปริญญาตรี โท และเอก เป็นพี่เลี้ยงคอยดูแลให้คำแนะนำในการทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผลจากการร่วมกิจกรรมโครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ส่งผลให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ เกิดแรงบันดาลใจ และรับการพัฒนาทักษะ การสังเกต การตั้งคำถาม และการค้นหาคำตอบด้วยตนเองผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนเป็นการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเหล่านี้เติบโตไปเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2562 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษารวม 305 คน ร่วมโครงการ “มหาวิทยาลัยเด็กประเทศไทย ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (TCUMU) พญาไท” รวม 5 ครั้ง ได้แก่
1. วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2561 เวลา 8.30 - 12.30 น. ตอน "ยาหม่อง ตรา TCUMU" โดยมีกิจกรรมให้เรียนรู้และพัฒนาทักษะการใช้สารเคมีเตรียมยาหม่องเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ มี รศ.ดร. เทียนทอง ทองพันชั่ง เป็นวิทยากรให้ความรู้ และทีมนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาภาควิชาเคมี มาร่วมช่วยดำเนินกิจกรรมสอนการเตรียมยาหม่องอย่างถูกต้องและปลอดภัย และมีนักเรียนระดับประถมศึกษามาร่วมงาน 60 คน
https://www.facebook.com/media/set/?vanity=MahidolSCED&set=a.2175451499133745
2. วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 08.30 – 12.30 น. ตอน "นักสืบวิทยาศาสตร์ตัวน้อยตอน ซัมเมอร์สุขสันต์ของฉันและเธอ" เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และความสนใจของเยาวชนในสาขานิติวิทยาศาสตร์ ผ่านกิจกรรมการจำลองสถานการณ์ ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เล่นเกมส์ และตอบคำถาม ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ บทบาทหน้าที่ของนักนิติวิทยาศาสตร์ให้กับผู้ปกครอง โดยมีคณาจารย์และนักวิทยาศาสตร์จากหลักสูตรนิติวิทยาศาสตร์เป็นวิทยากรให้ความรู้และดำเนินกิจกรรม และมีนักเรียนระดับประถมศึกษาร่วมกิจกรรม 55 คน
https://www.facebook.com/media/set/?vanity=MahidolSCED&set=a.2417768564902036
3. วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม 2562 เวลา 08.30 – 12.30 น. ตอน “ของเล่นชวนคิด นักวิทย์ชวนทำ” นำโดย ผศ.ดร. สุจินต์ สุวรรณะ อาจารย์ประจำจากภาควิชาฟิสิกส์ เป็นวิทยากรให้ความรู้ และนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาควิชาฟิสิกส์ ร่วมดำเนินกิจกรรมครั้งนี้ กิจกรรมที่จัดครั้งนี้ ได้แก่ การประดิษฐ์หุ่นยนต์ไต่เชือก และตุ๊กตาล้มลุก เพื่อให้นักเรียนระดับประถมศึกษาได้เรียนรู้กลไกลทางฟิสิกส์ และมีนักเรียนร่วมกิจกรรมรวม 70 คน
https://science.mahidol.ac.th/th/activity/may62-11.php
4. วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน 2562 เวลา 08.30 – 12.30 น. ตอน “หมอก หรือ ควัน” โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรกนก บุญวงษ์ ดร.สุนทรี อุณหพิพัฒน์ และ ดร.เอกวัจน์ เชาว์วิชารัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ เป็นวิทยากรให้ความรู้ รวมถึงนักวิจัย และ นักศึกษาระดับปริญญาตรี โท และเอก เป็นพี่เลี้ยงคอยดูแลให้คำแนะนำในการทำกิจกรรมท่ามกลางบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุกสนานจากการได้ลงมือทำจริง ซึ่งเปิดโอกาสให้น้องๆ ทดลองวัดค่าฝุ่น PM2.5 ตามจุดต่างๆ ในพื้นที่คณะวิทยาศาสตร์ แล้วนำมาคำนวณค่ากลางทางสถิติ ทำความเข้าใจกับหน่วยวัดทางวิทยาศาสตร์และสัญลักษณ์ รวมถึงขนาดของฝุ่นจิ๋วและผลกระทบกับสุขภาพ โดยมีนักเรียนระดับประถมศึกษา 60 คน เข้าร่วมกิจกรรม
https://science.mahidol.ac.th/th/activity/jun62-22.php
5. วันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2562 เวลา 8.30-12.30 น. ตอน “ผลึก” โดยมี รศ.ดร. เทียนทอง ทองพันชั่ง อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี เป็นวิทยากรให้ความรู้ และทีมนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาภาควิชาเคมีเป็นผู้ช่วยดำเนินกิจกรรมการเตรียมผลึกจากสารเคมี ซึ่งทำให้นักเรียนระดับประถมศึกษาที่ร่วมกิจกรรมค้นหาคำตอบด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผู้ร่วมกิจกรรมทั้งหมดจำนวน 60 คน
https://www.facebook.com/media/set/?vanity=MahidolSCED&set=a.2696497170362506