MUSC Sustainable Development Goals (SDGs)

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Quality education
งานสัมมนา/Conference
เสวนาพิเศษ Science Café ตอน เจาะลึกรางวัลโนเบล สาขาการแพทย์ปี 2018 : สู้มะเร็งด้วยภูมิคุ้มกัน
หัวข้อ รายละเอียด
 ประเภทข้อมูล  งานสัมมนา/Conference
 ชื่องานสัมนา/Conference เสวนาพิเศษ Science Café ตอน เจาะลึกรางวัลโนเบล สาขาการแพทย์ปี 2018 : สู้มะเร็งด้วยภูมิคุ้มกัน
 คณะ/สาขาวิชา คณะวิทยาศาสตร์
 ที่มาและความสำคัญ คณะกรรมการพิจารณารางวัลโนเบล สถาบัน Swedish Academy ได้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ปี 2018 โดยผู้ที่ได้รับรางวัลได้แก่ ศาสตราจารย์ เจมส์ พี. แอลลิสัน (James P. Allison) จากมหาวิทยาลัยเทกซัสของสหรัฐอเมริกา และ ศาสตราจารย์ ทาซุกุ ฮอนโจ (Tasuku Honjo) จากมหาวิทยาลัยเกียวโตของญี่ปุ่น ผู้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการรักษามะเร็งในรูปแบบใหม่ด้วยระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของมนุษย์ (cancer immunotherapy) ผ่านการปลดล็อคตัวยับยั้งโปรตีนบนเซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยที่มีหน้าที่เข้าจู่โจมเซลล์มะเร็งโดยตรง ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 SDG Goal หลัก ที่เกี่ยวข้อง 4 Quality Education
ตัวชี้วัด -
หัวข้อในการสัมนา เจาะลึกรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ปี 2018 : สู้มะเร็งด้วยภูมิคุ้มกัน
สถานที่จัดงาน ห้อง L-05 อาคารบรรยายรวม ตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตพญาไท
หน่วยงานที่ร่วมจัดงาน งานสื่อสารองค์กร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตพญาไท
บทบาทของหน่วยงาน เป็นเจ้าภาพจัดงานเสวนา
วัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและความตระหนักต่อบทบาทและความสำคัญของวิทยาศาสตร์ ให้กับนักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจด้านวิทยาศาสตร์ ในปีแห่งการเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปีแห่งการก่อตั้ง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม -
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาจากกี่ประเทศ 1
วันที่เริ่มจัดกิจกรรม 18/10/2561
วันที่สิ้นสุดการจัดกิจกรรม 18/10/2561
ข้อสรุปที่ได้จากงานสัมนา/Conference (ถ้ามี) ศาสตราจารย์แอลลิสัน ได้ค้นพบโปรตีน CTLA-4 ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวรับบนเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์ (T-cell) และพบว่าโมเลกุลของตัวรับชนิดนี้จะยับยั้งการทำงานของภูมิคุ้มกันร่างกาย ในปี ค.ศ.1995 จึงทดลองปิดกั้นการทำงานของ โปรตีน CTLA-4 ในหนูทดลอง นำไปสู่การขยายผลการศึกษาโดยนำไปผลิตเป็นยาเพื่อบำบัดมะเร็งผิวหนัง ที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) อนุมัติให้ใช้แอนติบอดีต้านโปรตีน CTLA-4 เป็นยารักษามะเร็งผิวหนังที่มีชื่อทางการค้าที่รู้จักกันทั่วไปว่า “เยอร์วอย” (Yervoy) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการรักษาผู้ป่วยในบางกรณี โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ที่ไม่เคยรักษาได้มาก่อน ในปี ค.ศ.2011 ส่วนทางด้านศาสตราจารย์ฮอนโจนั้น ได้ค้นพบโปรตีนบนเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ชื่อ ลิแกนด์ PD-1 (ligand PD-1) และพบว่าการยับยั้งการทำงานของโปรตีนชนิดนี้ก็สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้เช่นกัน และยังได้ผลกับการรักษามะเร็งหลายประเภทอีกด้วย ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 2014 แอนติบอดีต้านโปรตีน ลิแกนด์ PD-1 (ligand PD-1) ก็ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) ให้เป็นยาเพื่อการทดลองรักษามะเร็งต่อไป
ผลลัพธ์ที่ได้จากงานสัมนา/Conference (ถ้ามี) เป็นแรงบันดาลใจและความตระหนักต่อบทบาทและความสำคัญของวิทยาศาสตร์ ให้กับนักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจด้านวิทยาศาสตร์ ในปีแห่งการเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปีแห่งการก่อตั้ง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน https://science.mahidol.ac.th/th/activity/oct61-10-1.php
รูปภาพประกอบ Seminar
SDG Goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
Faculty of Science, Mahidol University : Updated 13 สิงหาคม 2563
272 Rama VI Road, Ratchathewi District, Bangkok 10400, THAILAND Tel: +66 2201 5000 Fax: +66 2354 7165
Webmaster: Arisara Rakdamrongtham Tel: +66 2201 5892 Email: scwww@mahidol.ac.th