MUSC Sustainable Development Goals (SDGs)

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Quality education
กิจกรรม/โครงการ
โครงการศึกษาดูงาน ฝึกงาน และอบรมเชิงปฏิบัติการทางพยาธิวิทยา
หัวข้อ รายละเอียด
 ประเภทข้อมูล  กิจกรรม/โครงการ
 ชื่อกิจกรรม/โครงการ โครงการศึกษาดูงาน ฝึกงาน และอบรมเชิงปฏิบัติการทางพยาธิวิทยา
 คณะ/สาขาวิชา คณะวิทยาศาสตร์/ภาควิชาพยาธิชีววิทยา
 ที่มาและความสำคัญ ภาควิชาพยาธิชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดโครงการศึกษาดูงาน ฝึกงาน และอบรมเชิงปฏิบัติการทางพยาธิวิทยาขึ้น ภายใต้โครงการจัดตั้งคลังข้อมูลและศูนย์เรียนรู้ทางพยาธิวิทยา เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะทางพยาธิวิทยา มีการจัดแสดงขั้นตอนการเลือกและเตรียมตัวอย่างชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา การตัดเนื้อเยื่อแผ่นบาง การย้อมสีเนื้อเยื่อ และมีบริการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างครบวงจรแก่นักศึกษา บุคลากรทางการศึกษา บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข บุคลากรภาคเอกชนและอุตสาหกรรม และประชาชนทั่วไปผ่านการศึกษาดูงาน การฝึกงาน และโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการต่าง ๆ เช่น โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคทางจุลพยาธิวิทยาในงานประจำและงานวิจัย โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการย้อมตัวอย่างด้วยเทคนิคอิมมูโนฟลูออเรสเซนต์ (Immunofluorescence assay) และโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการอิมมูโนฮีสโตเคมมิสทรี (Immunohistochemistry) ซึ่งเป็นการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและต่อยอดงานวิจัย อันเป็นการเพิ่มศักยภาพในการพัฒนางานนวัตกรรมทางพยาธิวิทยาสู่เชิงพาณิชย์ได้
 SDG Goal หลัก ที่เกี่ยวข้อง 4 Quality Education
ตัวชี้วัด 4.4 เพิ่มจำนวนเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีทักษะที่จำเป็นรวมถึงทักษะทางเทคนิคและอาชีพสำหรับการจ้างงาน การมีงานที่ดีและการเป็นผู้ประกอบการภายในปี 2573
วันที่เริ่มจัดกิจกรรม/โครงการ -
วันที่สิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ -
สถานที่จัดกิจกรรม คลังข้อมูลและศูนย์เรียนรู้ทางพยาธิวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นักเรียน/นักศึกษาทุกระดับชั้น ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป สถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับพยาธิวิทยา
วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะทางพยาธิวิทยา ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างครบวงจร
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ -การศึกษาดูงาน
-การฝึกงาน
- โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม -นักเรียน/นักศึกษา
- บุคลากรทางการศึกษา
- บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
- บุคลากรภาคเอกชนและอุตสาหกรรม
- ประชาชนทั่วไป
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 200
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาจากกี่ประเทศ -
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม มีแหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะทางพยาธิวิทยา ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างครบวงจร ซึ่งเป็นการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน https://pathobiology.sc.mahidol.ac.th/SDG/SDG-PA-WP-workshop.html
รูปภาพประกอบ Activity Activity Activity Activity Activity
SDG Goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
Faculty of Science, Mahidol University : Updated 14 สิงหาคม 2563
272 Rama VI Road, Ratchathewi District, Bangkok 10400, THAILAND Tel: +66 2201 5000 Fax: +66 2354 7165
Webmaster: Arisara Rakdamrongtham Tel: +66 2201 5892 Email: scwww@mahidol.ac.th