MUSC Sustainable Development Goals (SDGs)

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Quality education
กิจกรรม/โครงการ
1.“การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภาพสามมิติ และวัสดุศาสตร์สมัยใหม่เพื่อยกระดับการศึกษากายวิภาคศาสตร์ให้มีความเชื่อมต่อกับองค์ความรู้คลินิกแพทยศาสตร์”
2.“การพัฒนาสื่อการสอนสามมิติทางกายวิภาคศาสตร์ด้วยวัสดุสมัยใหม่ เพื่อยกระดับการเรียนการสอนแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ”
หัวข้อ รายละเอียด
 ประเภทข้อมูล  กิจกรรม/โครงการ
 ชื่อกิจกรรม/โครงการ 1.“การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภาพสามมิติ และวัสดุศาสตร์สมัยใหม่เพื่อยกระดับการศึกษากายวิภาคศาสตร์ให้มีความเชื่อมต่อกับองค์ความรู้คลินิกแพทยศาสตร์”
2.“การพัฒนาสื่อการสอนสามมิติทางกายวิภาคศาสตร์ด้วยวัสดุสมัยใหม่ เพื่อยกระดับการเรียนการสอนแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ”
 คณะ/สาขาวิชา คณะวิทยาศาสตร์/ภาควิชากายวิภาคศาสตร์
 ที่มาและความสำคัญ การเรียนการสอนกายวิภาคศาสตร์ เป็นหัวใจขององค์ความรู้ที่สำคัญมากสำหรับการการเรียนการสอนแพทยศาสตร์ ทั้งระดับปรีคลินิกของทุกสถาบันที่มีการเรียนการสอนทางด้านแพทยศาสตร์ศึกษา เพื่อนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในระดับคลินิกต่อไป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดของการประยุกต์ใช้ องค์ความรู้ของกายวิภาคศาสตร์ในวงการแพทย์ คือ การวินิจฉัยความผิดปกติของพัฒนาการมนุษย์ ซึ่งอิงความรู้ทางด้านคัพภะวิทยา (Embryology หรือ Human Development) อีกทั้งการรักษาความผิดปกติของหัวใจ หรือการซ่อมแซมกระดูกส่วนที่หัก โดยอิงองค์ความรู้ทางด้านโครงสร้างของอวัยวะ (Human Structures and Functions) หรือแม้แต่การผ่าตัดสมองในชั้นต่าง ๆ ก็จำเป็นที่จะต้องใช้ความรู้ด้านประสาทวิทยาเป็นอย่างดี (Neurobiology) ซึ่งองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่ได้กล่าวข้างต้น นักศึกษาแพทย์ทุกคนจะต้องศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง ในขณะที่เรียนอยู่ในระดับปรีคลินิกชั้นปีที่ 2 สื่อการเรียนการสอนที่สถาบันแพทยศาสตร์ทุกสถาบันทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกยังคงใช้ประกอบการเรียนการสอนแพทยศาสตร์นั้น ยังคงเป็นการอิงตำรารูปภาพ (Atlas) ในระดับ 2 มิติ เพื่อให้นักศึกษาได้ร่ำเรียนทั้งในห้องสมุดและห้องเรียนจริง ๆ แม้ว่าปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีการสร้างภาพแบบ 3 มิติ ที่ทันสมัยโดยเครื่องมือแพทย์รุ่นใหม่ ๆ เช่น เอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ CT-SCAN หรือ MRI ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ทำให้เกิดช่องว่างขององค์ความรู้ระหว่างการเรียนปรีคลินิก และความรู้ที่แพทย์ต้องประยุกต์ใช้งานจริงในการรักษาคนไข้ ทั้ง ๆ ที่มีเทคโนโลยีทันสมัยที่สามารถนำองค์ความรู้แบบ 3 มิติ มาประยุกต์เข้ากับการเรียนการสอนตั้งแต่ต้นที่นักศึกษาแพทย์ที่เรียนชั้นปรีคลินิก นอกจากการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์แล้ว การเรียนรู้กายวิภาคศาสตร์ ยังครอบคลุมไปถึงการเรียนการสอนของกลุ่มนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ อาทิเช่น พยาบาล เทคนิคการแพทย์ รังสีเทคนิค สาธารณสุขศาสตร์ กายภาพบำบัด และอื่น ๆ ดังนั้น การนำระบบการเรียนการสอนแบบ 3 มิติสมัยใหม่มาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน จะสามารถกระตุ้นการเรียนรู้แบบเสมือนจริงได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เกิดความเข้าใจในศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานนี้ได้อย่างถ่องแท้ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล รับผิดชอบการเรียนการสอนกายวิภาคศาสตร์ให้กับการศึกษากลุ่มแพทยศาสตร์ถึง 5 สถาบัน ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี, คณะแพทยศาสตร์นวมินทราธิราช, สถาบันแพทยศาสตร์พระบรมราชชนก 3 แห่ง (ศูนย์แพทยศาสตร์ รพ.มหาราช จ.นครราชสีมา, รพ.สวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์ และรพ.มหาราช จ.นครศรีธรรมราช) รวมจำนวนนักศึกษาแพทย์ประมาณ 370 คนต่อปี และนักศึกษากลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพประมาณ 1,100 คนต่อปี จากประสบการณ์การสอนมากว่า 50 ปี และการพัฒนาการสอน โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาผสมผสานแบบการเรียนเสริมออนไลน์ (E-learning) มาโดยตลอด ทำให้ตระหนักถึงว่าการเรียนการสอนปรีคลินิกในปัจจุบันยังมีช่องว่าง (Knowledge gap) ของการทำความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่จะทำให้นักศึกษาได้ประสบการณ์จากองค์ความรู้ที่ใกล้เคียงกับความรู้ที่นักศึกษาต้องใช้จริงในอนาคต (สำหรับกลุ่มนักศึกษาแพทย์) และการสามารถเข้าใจองค์ความรู้อย่างถ่องแท้ในขณะที่เรียนกายวิภาคศาสตร์ (สำหรับนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ) ภาควิชาจึงดำริที่จะพัฒนาสื่อการเรียนการสอนแบบ 3 มิติที่ใช้ภาพจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ได้จากกล้องจุลทรรศน์ควบกับสไลด์สแกนเนอร์ หรือภาพจากเครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT-SCAN) หรือ เอ็กซ์เรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ซึ่งรวมหมายถึงการปรับปรุงกายภาพห้องให้เหมาะสมในการแสดงภาพ 3 มิติด้วย นอกจากนี้ ภาควิชาฯ จะร่วมมือกับหลักสูตรวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน (นานาชาติ) ในการพัฒนาเครื่องพิมพ์ 3 มิติจากวัสดุที่ทันสมัย ซึ่งสามารถหล่อแบบ 3 มิติ ที่นักศึกษาต้องคิดและเลือกแบบ 3 มิติ ให้สอดคล้องกับโจทย์ปัญหาคลินิกในอนาคต นับเป็นการต่อยอดองค์ความรู้โดยใช้เทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 3 มิติ มาใช้เพื่อการเรียนการสอนแพทยศาสตร์เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งนับเป็นนวัตกรรมต้นแบบที่จะสามารถขยายผลต่อไปในการผลิตสื่อการสอน 3 มิติ เพื่อป้อนให้กับคณะแพทยศาสตร์ หรือคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพพื้นฐาน ไม่ใช่เฉพาะเพียงแค่ในมหาวิทยาลัยมหิดลเท่านั้น แต่จะยังส่งผลต่อเนื่องไปยังคณะแพทยศาสตร์ หรือคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ต่าง ๆ ทั่วประเทศต่อไป
 SDG Goal หลัก ที่เกี่ยวข้อง 4 Quality Education
ตัวชี้วัด 4.7 สร้างหลักประกันว่าผู้เรียนทุกคนได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนรวมไปถึงการศึกษาสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน สิทธมนุษยชน ความเสมอภาคระหว่างเพศ การส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความสงบสุขและไม่ใช้ความรุนแรง การเป็นพลเมืองของโลกและความนิยมในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและในส่วนร่วมของวัฒนะธรรมต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนภายในปี 2573
วันที่เริ่มจัดกิจกรรม/โครงการ 3/8/2562
วันที่สิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ -
สถานที่จัดกิจกรรม อาคารวิทยาศาสตร์ 3 ห้อง 201 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นักศึกษาวิทยาศาสตร์สายสุขภาพ
วัตถุประสงค์ 1.เพื่อพัฒนาสื่อ 3 มิติ กายวิภาคศาสตร์จากเทคโนโลยีและวัสดุสมัยใหม่ เพื่อยกระดับการเรียนการสอนกายวิภาคศาสตร์ สำหรับแพทยศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้อง
2.เพื่อปรับปรุงกายภาพของห้องเรียนให้รองรับการเรียนการสอนแบบ 3 มิติ เชิงภาพถ่ายและวัสดุสมัยใหม่
3.เพื่อเผยแพร่สื่อ 3 มิติกายวิภาคศาสตร์ ให้สามารถเข้าถึงได้ โดยสถาบันที่ทำการเรียนการสอนแพทยศาสตร์ศึกษาและวิทยาศาสตร์สุขภาพพื้นฐานทั่วประเทศ
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ Interactive museum
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม นักศึกษาแพทย์คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี, คณะแพทยศาสตร์นวมินทราธิราช, สถาบันแพทยศาสตร์พระบรมราชชนก 3 แห่ง (ศูนย์แพทยศาสตร์ รพ.มหาราช จ.นครราชสีมา, รพ.สวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์ และรพ.มหาราช จ.นครศรีธรรมราช) และนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาต่าง ๆ ที่เรียนกับวิชากายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม -
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาจากกี่ประเทศ -
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม องค์ความรู้ที่ทันสมัยและสมจริงได้รับการเผยแพร่ไปอย่างกว้างขวาง
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน http://anatomy.sc.mahidol.ac.th/museum
รูปภาพประกอบ -
SDG Goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
Faculty of Science, Mahidol University : Updated 14 สิงหาคม 2563
272 Rama VI Road, Ratchathewi District, Bangkok 10400, THAILAND Tel: +66 2201 5000 Fax: +66 2354 7165
Webmaster: Arisara Rakdamrongtham Tel: +66 2201 5892 Email: scwww@mahidol.ac.th