หัวข้อ | รายละเอียด |
ประเภทข้อมูล | กิจกรรม/โครงการ |
ชื่อกิจกรรม/โครงการ | “ศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อสะเต็มศึกษา” เพื่อผลักดันการศึกษาแบบบูรณาการที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต และพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านอาชีพของผู้เรียน |
คณะ/สาขาวิชา | คณะวิทยาศาสตร์/คณะวิทยาศาสตร์ |
ที่มาและความสำคัญ | ศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อสะเต็มศึกษา หรือที่รู้จักกันในนาม ศูนย์ MUSC-STEM จัดตั้งขึ้นภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ Euro-Asia Collaboration for Enhancing STEM Education (EASTEM) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก Erusmus+ Programme ประกอบด้วยเครือข่ายความร่วมมือจาก 15 สถาบันที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในด้านสะเต็มศึกษา ทั้งในยุโรป (สวีเดน ลิทัวเนีย ฝรั่งเศส) และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย) โดยมีมหาวิทยาลัย Uppsala ประเทศสวีเดนเป็นสถาบันหลักของเครือข่าย สำหรับประเทศไทยเรามีเครือข่ายที่เข้มแข็งจาก 3 มหาวิทยาลัยที่ร่วมมือกัน คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ศูนย์ภาคเหนือ) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ศูนย์ภาคใต้) และ มหาวิทยาลัยมหิดล (ศูนย์ภาคกลาง) โดยที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้สนับสนุนให้คณะวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ประสานงานหลักในนามของมหาวิทยาลัย ซึ่งในงานเปิดตัวศูนย์ฯ ครั้งนี้ ได้มีผู้แทนจากสถาบันเครือข่ายฯ ในโครงการ EASTEM จาก 4 ประเทศ รวม 11 สถาบันศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อสะเต็มศึกษา จะช่วยผลักดันการเรียนการสอน และกิจกรรมการจัดฝึกอบรมด้านสะเต็มศึกษา มุ่งสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศในทุกระดับ ตั้งแต่ การศึกษาภาคบังคับไปจนถึงระดับอุดมศึกษา รวมถึงบุคลากรที่อยู่ในสายอาชีพต่างๆ เพื่อให้สามารถบูรณาการ ความรู้อย่างเข้าใจและเข้าถึงศาสตร์ที่จำเป็นต่อการพัฒนาตนเอง สามารถเชื่อมโยงและแก้ปัญหาในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพได้ โดยศูนย์ MUSC-STEM จะมีการประสานการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ทั้งกับ สถาบันเครือข่ายฯ และภาคส่วนต่างๆ ทั้งรัฐและเอกชน รวมทั้งองค์กรอิสระทั้งในและนอกประเทศ เพื่อเป้าหมายในการยกระดับการเรียนการสอนแบบบูรณาการของประเทศให้ทันสมัย ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และสามารถผลิตบัณฑิตที่มีทักษะความสามารถที่จำเป็น อันเป็นที่ต้องการของตลาดงานในยุคปัจจุบัน มีศักยภาพในการสร้าง ความเปลี่ยนแปลงเชิงสร้างสรรค์ให้กับเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมอย่างเป็นรูปธรรม |
SDG Goal หลัก ที่เกี่ยวข้อง | 4 Quality Education |
ตัวชี้วัด | - |
วันที่เริ่มจัดกิจกรรม/โครงการ | 10/3/2561 |
วันที่สิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ | 26/9/2562 |
สถานที่จัดกิจกรรม | ห้องเรียนสะเต็ม ตั้งอยู่ ณ ชั้น 1 อาคารวิทยาศาสตร์ 4 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | คณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โรงเรียนระดับประถมและมัธยมศึกษา |
วัตถุประสงค์ | เพื่อสามารถยกระดับกระบวนการผลิตทรัพยากรบุคคล ที่มีศักยภาพความรู้ความสามารถสูงและมีทักษะทางอาชีพและสังคม ที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ในสภาวะที่เศรษฐกิจการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพแบบเดิม ถูกทำให้หยุดชะงักในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัล พัฒนาอย่างรวดเร็ว (Technology Disruption) |
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ | มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ไปใช้ในการเชื่อมโยงและแก้ปัญหาในชีวิตจริงและการประกอบอาชีพในอนาคต รวมทั้งมีการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 |
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม | โรงเรียนประถมและมัธยมศึกษา และเอกชน |
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม | 100 |
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาจากกี่ประเทศ | 1 |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม | ยกระดับการเรียนการสอนแบบบูรณาการของประเทศให้ทันสมัย ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และสามารถผลิตบัณฑิตที่มีทักษะความสามารถที่จำเป็น อันเป็นที่ต้องการของตลาดงานในยุคปัจจุบัน มีศักยภาพในการสร้าง ความเปลี่ยนแปลงเชิงสร้างสรรค์ให้กับเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมอย่างเป็นรูปธรรม |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน | https://science.mahidol.ac.th/th/activity/nov62-14.php |
รูปภาพประกอบ | |
SDG Goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ |