MUSC Sustainable Development Goals (SDGs)

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Good health and well-being

จมูกอิเล็กทรอนิกส์ : เครื่องมือตรวจวิเคราะห์กลิ่นตัว

โดย น.ส. ธารทิพย์ เอี่ยมสะอาด นักศึกษาระดับปริญญาโท - เอก หลักสูตรวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       ผศ. ดร.ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ผลงานวิจัย (งบ62) https://ieeexplore.ieee.org/stamp/stamp.jsp?tp=&arnumber=8574831
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้
https://science.mahidol.ac.th/ventureclub/pdf/electronicnoss.pdf
https://science.mahidol.ac.th/th/award/award60_2.php
http://smartfarmthailand.com/precisionfarming/index.php/product/e-nose
https://science.mahidol.ac.th/th/award/award60_1.php

จมูกอิเล็กทรอนิกส์เป็นการเลียนแบบการดมกลิ่นของมนุษย์โดยจะเปลี่ยนข้อมูลโมเลกุล กลิ่นให้เป็นข้อมูลดิจิทัล (Digitization of Smell) ทำให้เราสามารถวิเคราะห์ ประเมิน คุณลักษณะ ของกลิ่นได้ รวมทั้งจดจำ และจำแนกแยกแยะ ได้ง่าย จึงสามารถนำไปใช้ในงานหลายรูปแบบทั้งในด้านอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม การเกษตร สิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยเครื่องจมูกอิเล็กทรอนิกส์ สามารถดมกลิ่นได้หลากหลายเพื่อที่จะนำมาแยกแยะกลิ่นซึ่งบางครั้งจมูกของมนุษย์นั้นไม่สามารถแยกแยะได้เนื่องจากข้อจำกัดบางอย่าง เช่น ความเข้มข้นของโมเลกุลของกลิ่นนั้นน้อยหรือมากเกินไป

จมูกอิเล็กทรอนิกส์ก็จะมีลักษณะที่เลียนแบบระบบรับรู้กลิ่นในธรรมชาติ ดังนี้

  1. ส่วนรับกลิ่นประกอบไปด้วยตัวนํากลิ่นเข้ามาซึ่งอาจมีมอเตอร์ดูดอากาศ มีท่อรวบรวมกลิ่น (Concentrator) เพื่อให้กลิ่นมีความเข้มข้นสูงขึ้นและที่สําคัญที่สุดก็คือ เซ็นเซอร์รับกลิ่นจํานวนมาก ตั้งแต่ 4 ตัวไปจนถึงนับพันตัว ซึ่งหากจะเปรียบเทียบกับธรรมชาติก็ถือว่าน้อยมาก เช่น สุนัขอาจมีเซลล์รับกลิ่นนับล้านเซลล์
  2. ส่วนรวบรวมสัญญาณ ซึ่งจะทําการแปรสัญญาณจากเซ็นเซอร์ (Tranducing) และทําการจัดการสัญญาณ (Signal Conditioning) เช่น ลดสัญญาณรบกวน จากนั้นก็จะแปลงสัญญาณจากอนาล็อกให็เป็นดิจิตอล (A/D Converter)
  3. ส่วนประมวลผลซึ่งจะนําสัญญาณที่ได้รับมาทําการเปรียบเทียบเชิงสถิติกับฐานข้อมูลที่มีอยู่เดิม ซึ่งอาจจะใช้วิธีการระบบประสาทเทียม (Artificial Neural Networks) เพื่อทําการแยกแยะกลิ่น

การทำงานของจมูกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic-Nose) จะสามารถตรวจวัดระดับความเหม็นของกลิ่นตัว มีระบบการเตือนผู้ใช้งานเมื่อกลิ่นตัวมีความเหม็นมาก บ่งชี้อาการเบื้องต้นของโรคที่เกี่ยวข้องกับกลิ่นตัว เช่น โรคตัวเหม็น (Fish malador syndrome) และตรวจวัดระดับของการออกกำลังกายได้จากการวัดกลิ่นที่มาจากเหงื่อ

ผลจากงานวิจัยส่งผลให้ผลงานเข้าสู่การดำเนินงาน ดังนี้

  1. ผ่านเข้ารอบ Semi Finals (Private Event at THE HANGAR by NUS Enterprise) ในรายการแข่งขัน นวัตกรรมเทคโนโลยีความสวยงาม (BeautyTECH Startup) ของบริษัท ลอรีอัล จำกัด           การแข่งขันในครั้งนี้ได้นำเสนอไอเดีย “เครื่องตรวจวัดกลิ่นตัวแบบพกพา” (Body sniffer device)
  2. จัดตั้ง "บริษัท จมูกอิเล็กทรอนิกส์ จำกัด" ( Electronic Nose ) โดย ผศ. ดร.ธีรเกียรติ์        เกิดเจริญ และ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับคัดเลือกโดย Ministry of Science, ICT and Future Planning of Korea สาธารณรัฐเกาหลี ให้เป็น “1 ใน 50 สตาร์ทอัพของโลก” (คัดเลือกจาก 1,515 ประเทศทั่วโลก) เพื่อเข้าร่วมโครงการ K-STARTUP GRAND CHALLENGE 2017 โดยไปใช้พื้นที่โครงการสำหรับการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์บ่มเพาะธุรกิจสตาร์ทอัพ ณ ซิลิกอนวัลเลย์ สาธารณรัฐเกาหลี เป็นระยะเวลา 4 เดือน (วันที่ 7 สิงหาคม 2560 ถึง 30 พฤศจิกายน 2560) โดยระหว่างร่วมโครงการฯ ได้รับงบประมาณสนับสนุนฯ จากรัฐบาลเกาหลีเป็นจำนวนเงินประมาณ 87,000 บาทไทย/ทีม/เดือน หลังจากนั้นจะมีการคัดเลือกทีม ให้เหลือ 25 ทีม โดยคณะกรรมการจากบริษัทที่มีชื่อเสียงของประเทศเกาหลี ได้แก่ SUMSUNG, LG, Hyundai Motors, KT, Kakao, Naver, CJ Sk เป็นต้น

ความสำเร็จจากการพัฒนาชุดตรวจสอบกลิ่นตัวสามารถประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ เช่น การวัดความสุกของผลไม้ การควบคุมคุณภาพของไวน์และเครื่องดื่มอื่นๆ การตรวจวัดความสดของเนื้อสัตว์และอาหารทะเล ตลอดจนผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ

แหล่งทุนสนับสนุน
Center of Excellence on Medical Biotechnology (CEMB), The S&T Postgraduate Education and Research Development Office (PERDO).

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

Activity Photo

RELATED SDGs

Faculty of Science, Mahidol University : Updated 10 กันยายน 2563
272 Rama VI Road, Ratchathewi District, Bangkok 10400, THAILAND Tel: +66 2201 5000 Fax: +66 2354 7165
Webmaster: Arisara Rakdamrongtham Tel: +66 2201 5892 Email: scwww@mahidol.ac.th