หัวข้อ | รายละเอียด |
ประเภทข้อมูล | กิจกรรม/โครงการ |
ชื่อกิจกรรม/โครงการ | พิธีเปิด หน่วยพัฒนาการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศทางกายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล |
คณะ/สาขาวิชา | คณะวิทยาศาสตร์/งานพันธกิจพิเศษ |
ที่มาและความสำคัญ | ศูนย์พัฒนาศักยภาพการเรียนการสอนกายวิภาคศาสตร์และสื่อการสอน 3 มิติ ได้จัดตั้งขึ้นภายใต้การดูแลของภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในพื้นที่อาคารวิทยาศาสตร์ 3 (SC3) ของคณะวิทยาศาสตร์ วิทยาเขตศาลายา โดยได้ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชากายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน ให้กับนักศึกษากลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพรวมเป็นจำนวนกว่า 1,200 คนต่อปี และรายวิชามหกายวิภาคศาสตร์ซึ่งมีการศึกษาผ่านการชำแหละร่างอาจารย์ใหญ่ ให้กับมีนักศึกษาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) ของคณะวิทยาศาสตร์ และนักศึกษาจากคณะกายภาพบำบัด อีกจำนวนกว่า 200 คนต่อปี ทั้งนี้ เพื่อลดปัญหาพื้นที่ที่แออัดและให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพจากการสัมผัสไอฟอร์มาลินของบุคลากร อาจารย์และนักศึกษา จึงได้มีการปรับปรุงพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์แบบอเนกประสงค์และบูรณาการ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ใช้สอยในการเรียนการสอนปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์พื้นฐานประมาณ 1,100 ตร.ม. และพื้นที่ในรายวิชามหกายวิภาคศาสตร์ซึ่งมีการศึกษาผ่านการชำแหละร่างอาจารย์ใหญ่อีกประมาณ 260 ตร.ม. รวมถึงการปรับปรุงระบบระบายอากาศ/ระบบดูดไอฟอร์มาลิน (HVAC) และระบบไฟฟ้าส่องสว่าง/ระบบไฟฟ้ากำลัง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอนปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ที่ดำเนินการตลอดทั้งปีการศึกษา นอกจากนี้ ศูนย์ฯ ยังได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอนแบบ 3 มิติที่ใช้ภาพจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ได้จากกล้องจุลทรรศน์ควบกับสไลด์สแกนเนอร์ หรือภาพจากเครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT-SCAN) หรือ เอ็กซ์เรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ร่วมกับการปรับปรุงกายภาพห้องให้เหมาะสมในการแสดงภาพ 3 มิติ โดยยังได้ร่วมมือกับหลักสูตรวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน (นานาชาติ) ในการพัฒนาสื่อการพิมพ์ 3 มิติจากวัสดุที่ทันสมัย ซึ่งสามารถหล่อแบบ 3 มิติ ที่ได้คิดวิเคราะห์และเลือกแบบ 3 มิติ ให้สอดคล้องกับโจทย์ปัญหาคลินิกในอนาคต นับเป็นการต่อยอดองค์ความรู้โดยใช้เทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 3 มิติ มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนเป็นลำดับต้น ๆ ในประเทศไทย ซึ่งนับเป็นนวัตกรรมต้นแบบที่จะสามารถขยายผลต่อไปในการผลิตสื่อการสอน 3 มิติ ไม่เพียงเฉพาะเพื่อใช้ในมหาวิทยาลัยมหิดลเท่านั้น แต่จะยังส่งผลต่อเนื่องไปยังสถาบันการแพทย์อื่นทั่วประเทศอีกด้วย |
SDG Goal หลัก ที่เกี่ยวข้อง | 3 Good Health and Well-Being |
ตัวชี้วัด | - |
วันที่เริ่มจัดกิจกรรม/โครงการ | 3/8/2562 |
วันที่สิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ | 3/8/2562 |
สถานที่จัดกิจกรรม | อาคารวิทยาศาสตร์ 3 คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาเขตศาลายา |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ / คณะกายภาพบำบัด |
วัตถุประสงค์ | มุ่งสร้างปัจจัยสนับสนุนให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาการเรียนการสอนและงานวิจัยของคณะฯ ให้ครบทุกด้านอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น |
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ | พิธีเปิด / จุดเยี่ยมชม 1: การเรียนการสอน basic anatomy 2: การเรียนการสอน clinical/medical anatomy 3: นิทรรศการงานวิจัยทางกายวิภาคศาสตร์และสื่อการสอน 3 มิติ |
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม | 1. คณะฯ ต่าง ๆ ที่คณะวิทยาศาสตร์บริการสอนรายวิชา มหกายวิภาคศาสตร์ 2. ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ 3. นักศึกษาต่างชาติ 4. สื่อมวลชน |
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม | 80 |
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาจากกี่ประเทศ | 6 |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม | โรงเรียนมัธยมติดต่อขอเข้าชมการเรียนการสอน |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน | http://anatomy.sc.mahidol.ac.th/ |
รูปภาพประกอบ | |
SDG Goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ | - |