หัวข้อ | รายละเอียด |
ประเภทข้อมูล | กิจกรรม/โครงการ |
ชื่อกิจกรรม/โครงการ | อบรมเชิงปฏิบัติการ Fundamental Biosafety for BSL-2 |
คณะ/สาขาวิชา | คณะวิทยาศาสตร์/งานวิจัย |
ที่มาและความสำคัญ | คณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้คณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาสามารถดำเนินการทำวิจัยได้อย่างปลอดภัยทั้งต่อตนเองและบุคคลทั่วไป ดังนั้นคณะกรรมการฯ จึงเห็นสมควรให้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2” ขึ้น การอบรมดังกล่าวมีทั้งภาคบรรยายและปฏิบัติ มีบรรยากาศการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างวิทยากร คณาจารย์ และนักวิจัยในการดำเนินการวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพ นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสให้คณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาได้ทราบขั้นตอนในการพิจารณาโครงการวิจัยที่ขอคำรับรองความปลอดภัยทางชีวภาพว่ามีการดำเนินการอย่างไรบ้าง การอบรมดังกล่าวนับว่าเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรในคณะวิทยาศาสตร์ที่จะนำไปสู่การดำเนินงานวิจัยที่มีปลอดภัยและมีมาตรฐานสากล |
SDG Goal หลัก ที่เกี่ยวข้อง | 3 Good Health and Well-Being |
ตัวชี้วัด | - |
วันที่เริ่มจัดกิจกรรม/โครงการ | 08/07/2562 |
วันที่สิ้นสุดกิจกรรม/โครงการ | 12/07/2562 |
สถานที่จัดกิจกรรม | อาคารเรียนรวมคณะวิทยาศาสตร์ ห้อง L04 อาคารเฉลิมพระเกียรติ ห้อง K306 K609 K615 K617 K625 ห้องปฏิบัติการเอนกประสงค์ (MDL) 1 และ 4 อาคารชีววิทยา ห้อง B601 B611 และห้อง B613A คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | นักวิจัยและบุคลากรที่เข้ารับการอบรม |
วัตถุประสงค์ | 1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพ 2. กระตุ้นให้คณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาทำงานในห้องปฏิบัติการเป็นไปด้วยความปลอดภัยทั้งต่อตนเองและบุคคลทั่วไป 3. เป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำวิจัยเพื่อร่วมกันหาแนวทางในการจัดการห้องปฏิบัติการให้มีความปลอดภัย 4. เป็นช่องทางที่เปิดโอกาสให้คณาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษาของคณะฯได้มีโอกาสทราบขั้นตอนในการพิจารณาโครงการวิจัยที่ขอคำรับรองความปลอดภัยทางชีวภาพว่ามีการดำเนินการอย่างไรบ้าง |
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ | อบรมเชิงปฏิบัติการ |
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม | อาจารย์ นักวิจัยและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมและแมลงพาหะ |
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม | 95 |
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาจากกี่ประเทศ | ภายในประเทศ |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม | 1. คณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพมากขึ้น 2. มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำวิจัยระหว่างผู้เข้าร่วมอบรมกับวิทยากรเพื่อร่วมกันหาแนวทางในการจัดการห้องปฏิบัติการให้มีความปลอดภัย 3. คณาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษาของคณะฯ ทราบขั้นตอนในการพิจารณาโครงการวิจัยที่ขอคำรับรองความปลอดภัยทางชีวภาพ |
Web link อ้างอิงการดำเนินงาน | https://science.mahidol.ac.th/th/activity/jul62-11.php |
รูปภาพประกอบ | - |
SDG Goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ |