ผลงานวิจัยที่ได้รับประโยชน์


การศึกษาเชิงเปรียบเทียบคุณภาพของยางล้อรถจักรยานยนต์ไทยเทียบกับคู่แข่ง

   ยางล้อรถจักรยานยนต์เป็นผลิตภัณฑ์ยางหลักผลิตภัณฑ์หนึ่งสำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางไทย เนื่องจากมีปริมาณการใช้งานสูง อีกทั้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ยางธรรมชาติได้เป็นอย่างดี อุตสาหกรรมผลิตยางล้อรถจักรยานยนต์จึงมีศักยภาพที่จะพัฒนาและเติบโตได้อีกมาก โดยแนวทางในการพัฒนาคือการยกระดับคุณภาพยางล้อ โดยยังคงความสามารถในการแข่งขันในด้านต้นทุนการผลิต

   ในการพัฒนาคุณภาพยางล้อรถจักรยานยนต์ ควรจะต้องเริ่มต้นจาการศึกษาคุณภาพของยางล้อที่ผลิตโดยบริษัทคนไทยก่อน เปรียบเทียบกับของบริษัทคู่แข่งซึ่งมักจะเป็นบริษัทต่างประเทศหรือบริษัทไทยที่ร่วมทุนกับต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาดังกล่าวอย่างเป็นระบบ

   โครงการวิจัยนี้จึงดำเนินการศึกษาดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเชิงเปรียบเทียบคุณภาพยางล้อรถจักรยานยนต์ที่ผลิตโดยผู้ประกอบการไทยเทียบกับคุณภาพยางล้อรถจักรยานยนต์ที่ผลิตโดยบริษัทต่างชาติเพื่อนำผลการศึกษาที่ได้ไปใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพยางล้อรถจักรยานยนต์ที่ผลิตโดยผู้ประกอบการไทยต่อไป

ผลงานวิจัย

   ได้ศึกษาเชิงเปรียบเทียบโครงสร้างของยางล้อรถจักรยานยนต์ (รูปที่ 1) องค์ประกอบและสมบัติเชิงกลของเนื้อยางและสมบัติความทนทานต่อการใช้งานของยางล้อรถจักรยานยนต์ที่ผลิตโดยบริษัทคนไทย 5 บริษัท เทียบกับยางล้อที่ผลิตโดยบริษัทร่วมทุนที่คุณภาพได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ 4 บริษัท โดยศึกษายางล้อ 3 ขนาดคือ 60/90-17, 70/90-17 และ 2.50-17

Motorcycle Tyre

รูปที่ 1 โครงสร้างยางล้อรถจักรยานยนต์ที่ศึกษา (จำนวนชั้นผ้าใบ องศาการวางชั้นผ้าใบ จำนวนเส้นใยที่ใช้ต่อระยะ 1 ตารางนิ้ว)

ตารางที่ 1 ผลการศึกษาเปรียบเทียบยางขนาด 60/90-17 ของบริษัท 9 บริษัท

ตัวอย่าง (ขนาด 60/90-17) A B C D E F G H I
มาตรฐาน มอก. ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ไม่ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยหน้ายาง (oC) 68.3-
70.0
63.0-63.5 66.3-
66.6
59.8-
60.0
68.5-
68.7
57.5-
57.8
59.8-
60.5
56.0-
56.4
64.1-
64.3
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยแก้มยาง (oC) 64.0-
69.0
60.7-
62.0
63.7-
65.4
57.4-
60.2
64.7-
67.2
57.2-
57.5
59.2-
59.6
56.6-
56.7
61.2-
63.2
องค์ประกอบหน้ายาง/สัดส่วน NR:SBR 65:35 60:40 50:50 50:50 40:60 65:35 50:50 50:50 50:50
องค์ประกอบแก้มยาง/สัดส่วน NR:SBR 65:35 60:40 50:50 50:50 40:60 65:35 50:50 50:50 50:50
โครงสร้างผ้าใบ(ชั้น)/องศาการวางผ้าใบ (องศา)/จำนวนเส้นใยของผ้าใบต่อ 1 นิ้ว (เส้น) 2/33.5/28 2/35/24 2/34.5/27 2/32/22 2/35/26 2/33/25 2/33/25 2/32/25 3/33,30/22

   ผลการศึกษาพบว่ายางล้อรถจักรยานยนต์ทั้ง 9 บริษัทที่ทดสอบสามารถผ่านมาตรฐาน มอก. 682-2540 ได้เป็นส่วนใหญ่ ยางรถจักรยานยนต์ของบริษัทที่ผลิตโดยบริษัทคนไทย 5 บริษัทเมื่อเทียบกับบริษัทร่วมทุนที่ในระดับนานาชาติอีก 4 บริษัทพบว่าจะมีความไม่สม่ำเสมอของผลิตภัณฑ์และคุณภาพด้อยกว่าของบริษัทต่างชาติอยู่ประมาณ 30 - 50 % แล้วแต่ขนาดและยี่ห้อของผลิตภัณฑ์ แต่ก็มีราคาต่ำกว่า 30-50 % เช่นกัน ฉะนั้นอาจเป็นไปได้ที่จะทำให้คุณภาพของยางล้อรถจักรยานยนต์ของบริษัทคนไทยมีคุณภาพดีสู้กับของบริษัทต่างชาติได้ เพียงแต่ต้นทุนในการผลิตก็จะสูงตามไปด้วย แต่ความต้องการยางล้อจักรยานยนต์ราคาถูกยังมีอยู่ โดยเฉพาะในแถบชานเมืองและต่างจังหวัด

การนำผลงานไปใช้ประโยชน์

   ได้เผยแพร่ผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการในประเทศ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยียางสามารถนำผลงานวิจัยที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพยางล้อรถจักรยานยนต์ของบริษัทคนไทยได้