ความปลอดภัย

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (English Version)” เสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล

28 – 29 พฤศจิกายน 2565 งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (English Version)” เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย มาตรฐาน และแนวปฏิบัติต่าง ๆ ทางด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ฝึกฝนทักษะเกี่ยวกับการทำงานในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพตามมาตรฐานในระดับสากล รวมถึงกระตุ้นเตือนถึงการปฏิบัติงานให้ปลอดภัยต่อตนเอง บุคคลอื่น และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกร ชลภัทร สุขเกษม ประธานคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติร่วมเป็นวิทยากรรับเชิญ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง ประธานคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชี้แจงภาพรวมและดำเนินกิจกรรมในการอบรมทั้งภาคบรรยายและภาคปฏิบัติการ ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์มงคลสุขการอบรมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งบุคคลภายในและภายนอกกว่าร้อยคน อาทิ เจ้าหน้าที่บริหารชีวนิรภัยของหน่วยงาน (BSO) นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ จากหน่วยงานต่าง […]

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (English Version)” เสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมให้ความรู้และฝึกอบรมเกี่ยวกับการจับสัตว์เลื้อยคลาน (งู) “ทำอย่างไรเมื่องูเข้าบ้าน รู้เท่าทันอสรพิษเพื่อความปลอดภัย” สร้างการรับรู้ที่ถูกต้องเมื่อต้องเผชิญหน้ากับงู

9 พฤศจิกายน 2565 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมให้ความรู้และฝึกอบรมเกี่ยวกับการจับสัตว์เลื้อยคลาน “ทำอย่างไรเมื่องูเข้าบ้าน รู้เท่าทันอสรพิษเพื่อความปลอดภัย” เพื่อให้บุคลากร นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) รายวิชา SCBE 392 Herpetology และนักศึกษาหลักสูตรอื่น ๆ ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับงูจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญ รู้จักงูทั้งแบบมีพิษและไม่มีพิษ รวมถึงฝึกใช้อุปกรณ์เพื่อรับมือและจัดการเมื่อต้องเผชิญหน้ากับงู ไปจนถึงฝึกปฏิบัติวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธีเมื่อถูกงูกัด โดยได้รับเกียรติจาก จ่าสิบตํารวจภิญโญ พุกภิญโญ และทีมวิทยากรและผู้ฝึกสอนจาก Youtube Channel: Snake Wrangler by Pinyo หน่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางเขน และ อาจารย์ ดร.นภัทร รัตน์นราทร อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยทีมวิทยากรได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้สัมผัสกับงู และรู้จักงูชนิดต่าง ๆ ทั้งมีพิษ และไม่มีพิษ ที่มักจะชอบเข้ามาหรืออยู่ใกล้ชิดกับบ้านเรือนและชุมชนซึ่งเราสามารถพบเจอได้บ่อย ก่อนแนะนำวิธีการรับมือและจัดการเมื่อต้องเผชิญหน้ากับงู สาธิตการรับมือเมื่องูเข้าบ้าน และวิธีป้องกันงูเข้าบ้านตามความเชื่อที่สามารถใช้ได้จริง เพื่อลดการสูญเสียชีวิตของทั้งเราและงู พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทดลองปฏิบัติจริง โดยมีทีมวิทยากรดูแลอย่างใกล้ชิด จากนั้นจึงให้ความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัดที่ถูกต้อง และข้อห้ามต่าง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมให้ความรู้และฝึกอบรมเกี่ยวกับการจับสัตว์เลื้อยคลาน (งู) “ทำอย่างไรเมื่องูเข้าบ้าน รู้เท่าทันอสรพิษเพื่อความปลอดภัย” สร้างการรับรู้ที่ถูกต้องเมื่อต้องเผชิญหน้ากับงู Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยกระดับห้องปฏิบัติการวิจัยสู่สากล มอบประกาศนียบัตรและโล่รางวัลแก่ 17 ห้องปฏิบัติการสารเคมีมาตรฐาน ESPRel ผ่านระบบออนไลน์

24 มิถุนายน 2564 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีมอบประกาศนียบัตร และโล่รางวัล แก่ 17 ห้องปฏิบัติการที่ได้รับรางวัล ห้องปฏิบัติการวิจัยต้นแบบมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีตามมาตรฐาน ESPRel จากมหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Cisco WebEx Meeting ในโอกาสอันดีนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ได้กล่าวแสดงความยินดีและขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ กังสมัครศิลป์ หัวหน้าภาควิชาชีวเคมี รองศาสตราจารย์ ดร.วิฑูร แสงศิริสุวรรณ หัวหน้าภาควิชาสรีรวิทยา รองศาสตราจารย์ ดร.เทียนทอง ทองพันชั่ง หัวหน้าภาควิชาเคมี รวมถึงอาจารย์และผู้แทนอาจารย์ประจำห้องปฏิบัติการทั้ง 17 ห้องปฏิบัติการที่ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ และแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่เกี่ยวข้องและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการให้ความสำคัญกับการสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากลควบคู่กับการดำเนินงานที่มีมาตรฐานความปลอดภัย โดยห้องปฏิบัติการวิจัยที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ ได้แก่ 1. ห้องปฏิบัติการวิจัยเคมี C211 รองศาสตราจารย์ ดร.รัตติกาล จันทิวาสน์ 2.

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยกระดับห้องปฏิบัติการวิจัยสู่สากล มอบประกาศนียบัตรและโล่รางวัลแก่ 17 ห้องปฏิบัติการสารเคมีมาตรฐาน ESPRel ผ่านระบบออนไลน์ Read More »