Plant Science

Activity photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ต้อนรับผู้เชี่ยวชาญจาก Bill & Melinda Gates Foundation พร้อมหารือภารกิจรวบรวมและศึกษาพันธุกรรมของกล้วยป่าในประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

21 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิษุวัต สงนวล รักษาการหัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชีรา วิบูลย์จันทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ ให้การต้อนรับ  Dr. Jim Lorenzen, Senior Agriculture Program Officer จาก Bill and Melinda Gates Foundation (BMGF) ในโอกาสเยือนประเทศไทยเพื่อหารือภารกิจความร่วมมือด้านการวิจัยระดับนานาชาติเกี่ยวกับการศึกษาและรวบรวมพันธุกรรมของกล้วยป่าในประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยนำชมห้องปฏิบัติการและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการวิจัยภายในภาควิชาพฤกษศาสตร์ โครงการ SPACE-F ซึ่งเป็นโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ Mahidol Science Central Instrument Facilities (CIF) ณ คณะวิทยาศาสตร์ พญาไท จากนั้นในวันที่ […]

คณะวิทย์ ม.มหิดล ต้อนรับผู้เชี่ยวชาญจาก Bill & Melinda Gates Foundation พร้อมหารือภารกิจรวบรวมและศึกษาพันธุกรรมของกล้วยป่าในประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมขบวนภาคีเครือข่ายนักสื่อสารวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในงาน Wit in Bangkok 2024

10-11 สิงหาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในนามภาควิชาพฤกษศาสตร์และเครือข่ายวิทย์สานศิลป์ ร่วมขบวนภาคีนักสื่อสารวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรม Botanical Art Workshop ในงาน “Wit in Bangkok 2024” พาชาวกรุงเทพมหานครเปิดโลกวิทยาศาสตร์ภายใต้แนวคิด “Up Sci Town: วิทย์ทุกมุมเมือง” ณ อาคารพิพิธภัณฑ์สวนป่าเบญจกิติ (โรงงานผลิตยาสูบ 5) สวนเบญจกิติ กรุงเทพมหานคร งาน Wit in Bangkok 2024 จัดขึ้นโดยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ประเทศไทย นำโดย WiTcast, The Principia, GYBN Thailand, นี่แหละชีวะ, SaySci, KornKT และคนช่างสงสัย ร่วมกับกรุงเทพมหานคร ตามนโยบาย “12 เทศกาลตลอดปีทั่วกรุงเทพฯ” ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ซึ่งแต่ละเทศกาลจะดึงเอกลักษณ์และศักยภาพของแต่ละย่านทั่วกรุงออกมา โดยเทศกาลในเดือนสิงหาคม

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมขบวนภาคีเครือข่ายนักสื่อสารวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในงาน Wit in Bangkok 2024 Read More »

Activity photo

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับเครือข่ายวิทย์สานศิลป์ และองค์กรพันธมิตรจัดนิทรรศการภาพวาดพฤกษศาสตร์ “สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์” ครั้งที่ 6 (BAT2024) จุดประกายเยาวชนอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพด้านพืชพรรณผ่านความสวยงามของภาพวาดพฤกษศาสตร์

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับเครือข่ายวิทย์สานศิลป์ สมาคมพฤกษศาสตร์ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และองค์กรพันธมิตร จัดนิทรรศการภาพวาดพฤกษศาสตร์ “สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์” หรือ “Botanical Art Thailand” ครั้งที่ 6 (BAT2024) ภายใต้หัวข้อ “พืชเครื่องเทศและพืชสมุนไพร” ระหว่างวันที่ 23 กรกฎาคม ถึง 4 สิงหาคม 2567 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) จุดประกายเยาวชนสนใจด้านพืชพรรณผ่านความสวยงามของภาพวาดพฤกษศาสตร์ แทรกด้วยความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์และสรรพคุณชองพืช เพื่อสร้างความตระหนักถึงการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ในพิธีเปิดได้รับเกียรติจาก ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยฤทธิ์ ศิลาเดช อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก ศิลปินอาวุโสเครือข่ายวิทย์สานศิลป์ และคณาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทยา เจนจิตติกุล

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับเครือข่ายวิทย์สานศิลป์ และองค์กรพันธมิตรจัดนิทรรศการภาพวาดพฤกษศาสตร์ “สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์” ครั้งที่ 6 (BAT2024) จุดประกายเยาวชนอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพด้านพืชพรรณผ่านความสวยงามของภาพวาดพฤกษศาสตร์ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมเสวนา Mahidol Science Café: World Bee Day – save bees, save the world ให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของผึ้งต่อระบบนิเวศและมนุษย์ในวันผึ้งโลก

20 พฤษภาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล กิจกรรมเสวนา Mahidol Science Café: World Bee Day – save bees, save the world ให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของผึ้งและระบบนิเวศและมนุษย์ เพื่อสร้างความตระหนักในการร่วมกันปกป้องผึ้งและแมลงผสมเกสรอื่น ๆ จากการถูกคุกคาม ในวันผึ้งโลก (World Bee Day) โดยได้รับเกียรติจากนักพฤกษศาสตร์ที่มีประสบการณ์ในการศึกษาผึ้งในบทบาทของแมลงผสมเกสร (Pollinator) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับพืชชนิดต่าง ๆ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อลิสา สจ๊วต ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ และนางสาวพิริยา หัสสา นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ เป็นวิทยากร โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินรายการในรูปแบบออนไลน์ วันผึ้งโลก (World Bee Day) ถูกกำหนดขึ้นให้ตรงกับวันที่ 20 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันเกิดของ Anton

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมเสวนา Mahidol Science Café: World Bee Day – save bees, save the world ให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของผึ้งต่อระบบนิเวศและมนุษย์ในวันผึ้งโลก Read More »

Activity Photo

ทีมนักวิจัยคณะวิทย์ ม.มหิดล – สวทช. เตรียมบินลัดฟ้าทดสอบการตอบสนองของ ‘ไข่น้ำ’ พืชดอกที่เล็กที่สุดในโลกภายใต้สภาวะแรงโน้มถ่วงสูง ภายใต้โครงการ HyperGES ของ UNOOSA และ ESA ณ ประเทศเนเธอแลนด์

ทีมนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ สวทช. ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากองค์การอวกาศยุโรป (ESA) และสำนักกิจการอวกาศแห่งองค์การสหประชาชาติ (UNOOSA) ในหัวข้อ “Watermeal, the Future Food Source for Space Exploration” เตรียมเดินทางไปทำวิจัยทดสอบการตอบสนองของ ‘ไข่น้ำ’ พืชดอกที่เล็กที่สุดในโลกภายใต้สภาวะแรงโน้มถ่วงสูง ที่ The European Space Research and Technology Centre (ESTEC) ภายใต้ โครงการ HyperGES ณ ราชอาณาจักรเนเธอแลนด์ ระหว่างวันที่ 17-30 กันยายน 2566สมาชิกทีมประกอบด้วย อาจารย์ ดร.ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการ Plant Biology & Astrobotany กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ คณะวิทยาศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ ดร.สุชีวิน กรอบทอง นักวิจัยหลังปริญญาเอก นายยอดยิ่ง ยิ่งชูตระกูล สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ทีมนักวิจัยคณะวิทย์ ม.มหิดล – สวทช. เตรียมบินลัดฟ้าทดสอบการตอบสนองของ ‘ไข่น้ำ’ พืชดอกที่เล็กที่สุดในโลกภายใต้สภาวะแรงโน้มถ่วงสูง ภายใต้โครงการ HyperGES ของ UNOOSA และ ESA ณ ประเทศเนเธอแลนด์ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมขบวน The Principia และภาคีเครือข่ายนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศไทย จัดกิจกรรมในงาน Science Communication Festival 2023

26-27 สิงหาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมขบวน The Principia และภาคีเครือข่ายนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศไทย จัดกิจกรรมในงาน Science Communication Festival 2023 พาชาวกรุงเทพมหานครเปิดโลกวิทยาศาสตร์ภายใต้ธีม “Science and Art: ศาสตร์และศิลป์” ณ อาคารพิพิธภัณฑ์สวนป่าเบญจกิติ (โรงงานผลิตยาสูบ 5) สวนเบญจกิติ กรุงเทพมหานครงาน Science Communication Festival 2023 จัดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยรวมเอาอาจารย์มหาวิทยาลัย พิธีกรรายการทีวี นักเขียน นักแปล นักวาด นักพัฒนาบอร์ดเกม คนเลี้ยงงู เพจสื่อสารวิทยาศาสตร์ชื่อดัง อินฟลูเอนเซอร์สายวิทยาศาสตร์มาร่วมแสดงผลงาน จัดกิจกรรม workshop การสื่อสารวิทยาศาสตร์ สำรวจสิ่งมีชีวิตในสวน เสวนาแชร์หลากหลายเรื่องราวของชาวนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ พร้อมยกบอร์ดเกมวิทยาศาสตร์มาให้ร่วมสนุกตลอดสุดสัปดาห์ โดยมีกรุงเทพมหานคร

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมขบวน The Principia และภาคีเครือข่ายนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศไทย จัดกิจกรรมในงาน Science Communication Festival 2023 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ลงนาม MOU สานต่อความร่วมมือด้านวิชาการกับสวนพฤกษศาสตร์เขตร้อนสิบสองปันนา และสถาบันวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดินหน้าวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

25 กรกฎาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) สานต่อความร่วมมือด้านวิชาการและการศึกษากับสวนพฤกษศาสตร์เขตร้อนสิบสองปันนา (Xishuangbanna Tropical Botanical Garden: XTBG) และสถาบันวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Biodiversity Research Institute: SEABRI) ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เดินหน้าวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในโอกาสนี้ ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชีรา วิบูลย์จันทร์ หัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลิตา คงฤทธิ์ รองหัวหน้าภาควิชาชีววิทยา และคณาจารย์

คณะวิทย์ ม.มหิดล ลงนาม MOU สานต่อความร่วมมือด้านวิชาการกับสวนพฤกษศาสตร์เขตร้อนสิบสองปันนา และสถาบันวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดินหน้าวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม Read More »

Activity photo

13 คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับประกาศนียบัตรการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับที่ 2

13 มกราคม 2566 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล มอบประกาศนียบัตรแก่คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดลผู้ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพอาจารย์ตามกรอบ UKPSF ประเภท Senior Fellow และผู้ผ่านการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรเนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงาน ณ ศูนย์ประชุมมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาโดยในครั้งนี้มีคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ 13 ท่าน ได้รับประกาศนียบัตรผู้ผ่านการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดลระดับที่ 2 ได้แก่ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.เทียนทอง ทองพันชั่ง, อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี2. รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา, อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์3. รองศาสตราจารย์ ดร.ดนยา ปโกฏิประภา, อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรทิพา กอประเสริฐถาวร, อาจารย์ประจำเภสัชวิทยา5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อินทนนท์ กลศาสตร์เสนี, อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อลิสา ดำเนินสวัสดิ์, อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา7.

13 คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับประกาศนียบัตรการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับที่ 2 Read More »