Microbiology

Activity Photo

2 อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้ารางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการวิจัย และสาขาความเป็นครู ประจำปีการศึกษา 2566

3 ตุลาคม 2566 มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานแถลงข่าวประกาศผลรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2566 เปิดตัวผู้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการวิจัย สาขาการแต่งตำรา สาขาการบริการ และสาขาความเป็นครู ประจำปีการศึกษา 2566 โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ศรีธารา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวถึงความเป็นมาของรางวัล และประกาศผลการตัดสินรางวัล ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยในปีนี้มีอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ 2 ท่าน ได้รับรางวัล ใน 2 สาขา ได้แก่ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอรุณี ธิติธัญญานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการวิจัย ซึ่งมอบให้กับผู้ที่มีความคิดริเริ่มในการวิจัย เพื่อสนองความต้องการ  แก้ปัญหา  พัฒนา  หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ  ให้แก่สังคม  โดยเป็นผลงานที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่และอ้างอิงในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ จากผลงานวิจัยเรื่อง “Empowering the Fight Against […]

2 อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้ารางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการวิจัย และสาขาความเป็นครู ประจำปีการศึกษา 2566 Read More »

Activity Photo

มหาวิยาลัยมหิดล ร่วมกับโครงการ Human Cell Atlas และ Massachusetts Institute of Technology จัด Single-Cell Omics in-person Computational and Experimental Design Workshop พัฒนาทักษะนักวิจัยเสริมทัพเครือข่ายวิจัยแผนที่เซลล์มนุษย์ในภูมิภาคเอเชีย

24 มิถุนายน 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับโครงการ Human Cell Atlas (HCA) จัดกิจกรรม  2024 HCA Single-Cell Omics in-person Computational and Experimental Design Workshop พัฒนาทักษะนักวิจัยในภูมิภาคเอเชีย โดยเชิญนักวิจัยจากสถาบันวิจัยชั้นนำระดับนานาชาติมาถ่ายทอดทักษะการศึกษาวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับเซลล์ร่างกายมนุษย์ด้วยเทคนิค single-cell RNA sequencing เพื่อทำความเข้าใจเซลล์ทุกชนิดในร่างกายมนุษย์อย่างรอบด้าน ซึ่งเป็นพื้นฐานนำไปสู่การพัฒนาการวินิจฉัยโรค การพัฒนายา และวิธีการรักษาโรคในอนาคต ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ในพิธีเปิดกิจกรรมได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเปิดงาน Dr. John Randell ผู้บริหาร (Chief Alliance Officer) โครงการ Human Cell Atlas (HCA) กล่าวถึงความสำคัญของการศึกษาเซลล์มนุษย์ และการดำเนินการในทั่วโลกของ HCA

มหาวิยาลัยมหิดล ร่วมกับโครงการ Human Cell Atlas และ Massachusetts Institute of Technology จัด Single-Cell Omics in-person Computational and Experimental Design Workshop พัฒนาทักษะนักวิจัยเสริมทัพเครือข่ายวิจัยแผนที่เซลล์มนุษย์ในภูมิภาคเอเชีย Read More »

Activity Photo

ภาควิชาจุลชีววิทยา และกลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรม คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ บริษัทเมอร์ค ประเทศไทย จัดอบรม ‘From Fundamental to Advanced Technologies in Cell Culture Techniques and Applications’ เสริมทักษะเพาะเลี้ยงเซลล์เพื่องานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ

29 มีนาคม ภาควิชาจุลชีววิทยา และกลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ บริษัทเมอร์ค ประเทศไทย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์สำหรับนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ‘From Fundamental to Advanced Technologies in Cell Culture Techniques and Applications’ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Cell Culture Meet Thailand 2023 ณ ห้องปฏิบัติการอเนกประสงค์ MDL1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งนอกเหนือจากการอบรมแล้วยังมีการแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมของเมอร์คและให้ความรู้แก่นักศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์ขั้นพื้นฐานจากคณาจารย์ของคณะวิทยาศาสตร์ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้กล่าวเปิดการอบรมโดย เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเพาะเลี้ยงเซลล์ ที่เป็นส่วนสำคัญของการพัฒนางานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการของคณะวิทยาศาสตร์กับหน่วยงานอื่น มุ่งหวังให้ความรู้วิทยาศาสตร์แก่นักศึกษาและผู้ที่สนใจ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิทธิวุฒิ เจริญสุทธิวรากุล ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรมในการอบรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัมพา

ภาควิชาจุลชีววิทยา และกลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรม คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ บริษัทเมอร์ค ประเทศไทย จัดอบรม ‘From Fundamental to Advanced Technologies in Cell Culture Techniques and Applications’ เสริมทักษะเพาะเลี้ยงเซลล์เพื่องานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ Read More »