Mahidol Science

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาส วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ครบรอบปีที่ 50

     16 มิถุนายน 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพ.พรรษกร ตันรัตนะ รองคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา เป็นผู้แทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาส วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ครบรอบปีที่ 50 โดยได้รับเกียรติจาก พันเอก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ดนัย มีแก้วกุญชร รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ให้การต้อนรับ พร้อมมอบของที่ระลึก ณ ห้องประชุมนิรันดร์วิชย ชั้น 2 อาคารพระมงกุฎเกล้าเวชวิทยา วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า เขียนข่าว : นายธีรเทพ แก้วมณีตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : นายนนท์นภัทร อินทร์สุพรรณ์เว็บมาสเตอร์: นายธีรเทพ แก้วมณีวันที่ 16 มิถุนายน 2568

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาส วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ครบรอบปีที่ 50 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับผู้แทนจาก Universiti Sains Malaysia วางแผนจัดทำบันทึกความเข้าใจ พร้อมหารือความร่วมมือด้านวิชาการ

     วันที่ 16 พฤษภาคม 2568 ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.เทียนทอง ทองพันชั่ง หัวหน้าภาควิชาเคมี และคณาจารย์ประจำภาควิชา ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ปรียานุช แสงไตรรัตน์นุกูล รองศาสตราจารย์ ดร.ธันฐภัทร์ บุญช่วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธีรา ฉันทโรจน์ศิริ และ อาจารย์ ดร.เขตภากร ชาครเวท ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก School of Chemical Sciences, Universiti Sains Malaysia สหพันธรัฐมาเลเซีย นำโดยAssoc. Prof. Dr. Mohd. Rizal Razali, Dean Dr. Ng Si Ling, Deputy Dean (Academic, Career &

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับผู้แทนจาก Universiti Sains Malaysia วางแผนจัดทำบันทึกความเข้าใจ พร้อมหารือความร่วมมือด้านวิชาการ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีเปิดค่ายเสริมสร้างทักษะและพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูสำหรับผู้รับทุนโครงการ สควค. ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 รุ่นที่ 1 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

6 – 9 มิถุนายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดและเข้าร่วมกิจกรรมค่ายเสริมสร้างทักษะและพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูสำหรับผู้รับทุนโครงการทุน สควค. ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 รุ่นที่ 1 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา กิจกรรมค่ายในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะทางอารมณ์ สังคม ภาวะผู้นำ การทำงานเป็นทีม   การสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ และการถ่ายทอดความรู้ ผ่านกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ เช่น การบรรยายพิเศษ การเสวนา และกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ โดยคณะครูผู้เคยได้รับทุน สควค. และกลุ่มนักศึกษาทุน สควค.           ระดับปริญญาโท ร่วมกับคณาจารย์จากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อให้นักศึกษา    ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกฝนการคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหา พร้อมทั้งสร้างความรู้ที่ยั่งยืนและมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมอาชีพและคณาจารย์จากหลากหลายสถาบัน ในพิธีเปิดกิจกรรมได้รับเกียรติจาก ดร.สุพรรณี ชาญประเสริฐ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมค่ายและให้โอวาทแก่นักศึกษาในโครงการ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สันติ แม้นศิริ คณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กล่าวต้อนรับ

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีเปิดค่ายเสริมสร้างทักษะและพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูสำหรับผู้รับทุนโครงการ สควค. ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 รุ่นที่ 1 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา Read More »

งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข โดยหน่วยจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ จัดงาน Science & Exhibition 2025 แสดงผลงานศิลปะของ Odile Crick ศิลปินผู้วาดโครงสร้าง DNA เป็นคนแรกของโลก

     วันอังคารที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๘ งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข โดย หน่วยจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ จัดงาน Science & Exhibition 2025 แสดงผลงานศิลปะของ Odile Crick ศิลปินผู้วาดโครงสร้าง DNA เป็นคนแรกของโลก พร้อมนิทรรศการเรื่องราวการค้นพบโครงสร้าง DNA double helix จากนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล ประจำปี ๑๙๖๒ (ประกอบด้วย Francis Crick, James Watson และ Maurice Wilkins ส่วน Rosalind Franklin ผู้วิจัยร่วมกับ Maurice Wilkins เสียชีวิตไปก่อนหน้านี้จึงไม่ได้ร่วมรับรางวัล)      Odile Crick ศิลปินชาวอังกฤษ ภริยาของ Francis Crick เป็นผู้วาดภาพโครงสร้าง DNA เป็นครั้งแรกของโลกซึ่งถ่ายทอดมาจากงานวิจัยของ

งานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข โดยหน่วยจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ จัดงาน Science & Exhibition 2025 แสดงผลงานศิลปะของ Odile Crick ศิลปินผู้วาดโครงสร้าง DNA เป็นคนแรกของโลก Read More »

Activity Photo

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 33 และพระราชทานรางวัลนักวิทยาศาสตร์การแพทย์เกียรติยศ ประจำปี 2568

11 มิถุนายน 2568 ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 33 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ภายใต้หัวข้อ “Transforming Healthcare through Modern Medical Sciences ปฏิรูปการดูแลสุขภาพผ่านวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่” และพระราชทานรางวัลนักวิทยาศาสตร์การแพทย์เกียรติยศแก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นพ.สุธี ยกส้าน อาจารย์พิเศษและที่ปรึกษาภาควิชาพยาธิชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งพระราชทานรางวัลแก่นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ดีเด่น นักวิทยาศาสตร์การแพทย์รุ่นใหม่ ผู้รับรางวัล DMSC Award ผู้มีผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนดีเด่น และฉายพระรูปร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และผู้ได้รับรางวัล ณ ห้องแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม ชั้น 2 ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี รางวัลนักวิทยาศาสตร์การแพทย์เกียรติยศจัดตั้งขั้นเป็นครั้งแรกโดยมูลนิธิกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 33 และพระราชทานรางวัลนักวิทยาศาสตร์การแพทย์เกียรติยศ ประจำปี 2568 Read More »

Activity photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดการเสวนาพิเศษ “คนละ Gen คนละใจ” ถอดรหัสการสื่อสารข้ามวัยในรั้วมหาวิทยาลัยเดียวกัน เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์

10 มิถุนายน 2568 สภาอาจารย์ และหน่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการเสวนาพิเศษ “คนละ Gen คนละใจ” ถอดรหัสการสื่อสารข้ามวัยในรั้วมหาวิทยาลัยเดียวกัน โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.ตฤณห์ โพธิ์รักษา นักอาชญาวิทยาเชิงจิตวิทยาและพฤติกรรมอาชญากร ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ และอาจารย์ประจำภาควิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากร โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.กรกมล เลิศสุวรรณ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวุฒิ เจริญสุทธิวรากุล อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ เป็นพิธีกรดำเนินรายการ ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาคมคณะวิทยาศาสตร์ และส่วนงานในมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงบุคคลภายนอก เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมดกว่า 400 คน ณ ห้อง L-01 อาคารบรรยายรวม (ตึกกลม) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ภายในงาน ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ กล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดกิจกรรม โดยมี รองศาสตราจารย์

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดการเสวนาพิเศษ “คนละ Gen คนละใจ” ถอดรหัสการสื่อสารข้ามวัยในรั้วมหาวิทยาลัยเดียวกัน เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ Read More »

ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ และสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการเสวนาทางวิชาการ ปอมท. ครั้งที่ 1/2568 เรื่อง “นโยบาย ทิศทาง และขั้นตอนในการพิจารณาการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ”

       10 มิถุนายน 2568 ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ และ สภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการเสวนาทางวิชาการ ปอมท. ครั้งที่ 1/2568 เรื่อง “นโยบาย ทิศทาง และขั้นตอนในการพิจารณาการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณาจารย์รับทราบนโยบาย ทิศทาง และขั้นตอนในการพิจารณาการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่เป็นปัจจุบัน และสามารถวางแผนในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท อีกทั้งยังมีการถ่ายทอดสด ผ่านทาง WebEx Webinar และ FB Fanpage : ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย – ปอมท. ซึ่งได้มีคณาจารย์ บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ และผู้ที่สนใจ เข้าร่วมกันอย่างคับคั่ง ทั้งใน Online และ On-site      

ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ และสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการเสวนาทางวิชาการ ปอมท. ครั้งที่ 1/2568 เรื่อง “นโยบาย ทิศทาง และขั้นตอนในการพิจารณาการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย จัดกิจกรรมการบรรยายในหัวข้อเรื่อง “Research and Study Opportunities in France” เพื่อต่อยอดโอกาสทางการวิจัยและการศึกษาต่อในประเทศฝรั่งเศส

       9 มิถุนายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย งานวิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย จัดกิจกรรมการบรรยายในหัวข้อเรื่อง “Research and Study Opportunities in France” เพื่อต่อยอดโอกาสทางการวิจัยและการศึกษาต่อในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.ลูโดวิค อองเดรส (Dr. Ludovic Andres) ผู้ช่วยทูตฝ่ายความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และอุดมศึกษา สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย มาเป็นวิทยากรบรรยาย ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท        ซึ่งภายในงานได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มาเป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดการบรรยายในครั้งนี้ จากนั้นในลำดับต่อมาได้มีการบรรยายในหัวข้อเรื่อง Research and Study Opportunities in France โดย ดร.ลูโดวิค อองเดรส

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย จัดกิจกรรมการบรรยายในหัวข้อเรื่อง “Research and Study Opportunities in France” เพื่อต่อยอดโอกาสทางการวิจัยและการศึกษาต่อในประเทศฝรั่งเศส Read More »

ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ National University of Singapore และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานประชุมเชิงปฏิบัติการ “MU-NUS-CU RESEARCH WORKSHOP 2025”

     วันที่ 9 – 10 มิถุนายน 2568 ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ National  University of Singapore และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานประชุมเชิงปฏิบัติการภายใต้ชื่อ “MU-NUS-CU RESEARCH WORKSHOP 2025” เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิชาการ รวมถึงการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัย เปิดโอกาสศึกษาต่อระดับปริญญาเอก เส้นทางอาชีพ และสามารถนํามาประยุกต์ใช้กับการทํางานได้เป็นอย่างดี โดยมีหัวข้อการประชุมด้วยกันทั้งหมด 4 หัวข้อ ได้แก่ 1.) DATA-DRIVEN OPTIMIZATION AND DECISION MODELS2.) LOGISTICS, ROUTING, AND INFRASTRUCTURE RESILIENCE3.) AI AND SMART SYSTEMS FOR COMPLEX ENVIRONMENTS4.) SYSTEMS ENGINEERING AND SCHEDULING IN PRACTICE   

ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ National University of Singapore และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานประชุมเชิงปฏิบัติการ “MU-NUS-CU RESEARCH WORKSHOP 2025” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ GENEPEUTIC BIO CO., LTD. (บริษัท เจเนพูติก ไบโอ จำกัด) จัดงาน ATMP Seminar Series Vol.1 เพื่อเชื่อมโยงงานวิจัยของ ATMP ขับเคลื่อนสู่อุตสาหกรรม

    วันที่ 6 มิถุนายน 2568 ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานสัมมนา ATMP (Advanced Therapy Medicinal Products) Seminar Series Vol. 1, Connecting ATMP Academic Research to Commercial: Initial Networking โดยมีวัตุประสงค์เพื่อเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนและส่งเสริมศักยภาพของผู้เชี่ยวชาญทั้งไทยและนานาชาติในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านการพัฒนาก่อนการทดลองทางคลินิกของการบำบัดด้วยเซลล์และยีนและการแพทย์ฟื้นฟู (ATMPs) ให้มีประสิทธิภาพและความปลอดภัย เป็นมาตรฐานที่ยอมรับในระดับสากล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา (ECDD) ให้เกียรติมาเป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดการสัมมนา ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท      ซึ่งการจัดสัมมนาในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากคณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ GENEPEUTIC BIO CO., LTD. (บริษัท เจเนพูติก ไบโอ จำกัด) จัดงาน ATMP Seminar Series Vol.1 เพื่อเชื่อมโยงงานวิจัยของ ATMP ขับเคลื่อนสู่อุตสาหกรรม Read More »

Activity photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมรับรางวัล MU Green Ranking 2024 ระดับชมเชยในงาน Together for Mahidol Campus Sustainability

6 มิถุนายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับรางวัล MU Green Ranking 2024 ระดับชมเชย ในงาน Together for Mahidol Campus Sustainability ซึ่งจัดขึ้นเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ณ ห้องประชุม 322 ศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา งานในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเปิดและเล่าทิศทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกร สมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผนกลยุทธ์ พัฒนาคุณภาพและพันธกิจเพื่อสังคม บรรยายเรื่องการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนั้นยังได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิทธิโชติ จักรไพวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล คุณอรุษ นวราช กรรมการผู้จัดการ บริษัท สวนสามพราน จำกัด คุณศิริลักษณ์ ริ้วบำรุง เจ้าของ

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมรับรางวัล MU Green Ranking 2024 ระดับชมเชยในงาน Together for Mahidol Campus Sustainability Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ร่วมงานฉลองครบรอบ 60 ปี คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อสุขภาวะดีอย่างยั่งยืน

       5 มิถุนายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.วิฑูร แสงศิริสุวรรณ รองคณบดี เป็นผู้แทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมแสดงความยินดีใน งานฉลองครบรอบ 60 ปี คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อสุขภาวะดีอย่างยั่งยืน เพื่อสานความสัมพันธ์อันดีระหว่าง 2 ส่วนงานที่มีมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองความสำเร็จของคณะกายภาพบำบัดที่มีต่อการพัฒนาวิชาชีพกายภาพบำบัดตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา และเพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจ ความผูกพันของบุคลากร ศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบัน รวมถึงนักกายภาพบำบัดจากทั่วประเทศไทย ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์วิชาชีพ สร้างเครือข่ายและความร่วมมือ ทั้งด้านการศึกษา วิจัย บริการวิชาการระหว่างสถาบันต่าง ๆ ไปจนถึงองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ให้บูรณาการงานต่าง ๆ ร่วมกันในอนาคต เพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิชาชีพ และคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อไป โดยได้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “เรียนรู้จาก 6 ทศวรรษ นำกายภาพบำบัดมุ่งสร้างสุขภาวะอย่างยั่งยืน” ณ ห้องศาสตราจารย์นายแพทย์เฟื่อง สัตย์สงวน ชั้น 3 คณะกายภาพบำบัด

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ร่วมงานฉลองครบรอบ 60 ปี คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อสุขภาวะดีอย่างยั่งยืน Read More »

ศูนย์กลางด้านความรู้ด้านเทคโนโลยีการวิเคราะห์อาหาร สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรชีวภาพ ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี คณะวิทย์ ม.มหิดล และ บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) จัดสัมมนา The Future Food Mini-Symposium ภายใต้หัวข้อ “Future Food : อาหารแห่งอนาคต”

       4 มิถุนายน 2568 ศูนย์กลางด้านความรู้ด้านเทคโนโลยีการวิเคราะห์อาหาร สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรชีวภาพ (Hub of Knowledge in Technology of Analysis for Food, Environment and Bioresources) ภายใต้ทุนอุดหนุนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรม The Future Food Mini-Symposium ภายใต้หัวข้อ “Future Food : อาหารแห่งอนาคต” เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านอาหาร, สิ่งแวดล้อม, ทรัพยากรชีวภาพ, เทคโนโลยี, งานวิจัย และนวัตกรรม ร่วมกัน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม

ศูนย์กลางด้านความรู้ด้านเทคโนโลยีการวิเคราะห์อาหาร สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรชีวภาพ ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี คณะวิทย์ ม.มหิดล และ บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) จัดสัมมนา The Future Food Mini-Symposium ภายใต้หัวข้อ “Future Food : อาหารแห่งอนาคต” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ โรงเรียนมัธยมศึกษาทั้ง 7 แห่ง ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อยกระดับการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนจากระดับมัธยมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา

       29 พฤษภาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรีในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ, เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์, โรงเรียนโรงเรียนวัดบวรนิเวศ, โรงเรียนศรีบุณยานนท์, โรงเรียนสามัคคีวิทยา และ โรงเรียนสายน้ำผึ้ง จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ณ ห้องประชุม SC2-220 ชั้น 2 อาคารวิทยาศาสตร์ 2 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เพื่อยกระดับการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนจากระดับมัธยมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา พร้อมทั้งเพื่อพัฒนาหลักสูตรในระดับปริญญาตรีให้มีความเท่าทันต่อสังคมในปัจจุบัน รวมไปถึงเพื่อเป็นการรองรับความต้องการของผู้เรียนและตอบสนองต่อสังคมในภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย        โดยในโอกาสนี้ทาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี และ รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและศาลายา พร้อมด้วยผู้อำนวยการจากโรงเรียนทั้ง 7 แห่ง ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ก่อนที่จะร่วมรับฟังข้อมูลในด้านของการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ โรงเรียนมัธยมศึกษาทั้ง 7 แห่ง ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อยกระดับการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนจากระดับมัธยมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ และองค์การเภสัชกรรม ร่วมพูดคุยหารือความร่วมมือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรบัณฑิตศึกษา และการให้บริการด้านวิชาการและงานวิจัยในอนาคตร่วมกัน

       30 พฤษภาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพ.พรรษกร ตันรัตนะ รองคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา ร่วมพูดคุยหารือความร่วมมือด้านการพัฒนาหลักสูตรบัณฑิตศึกษา ร่วมกับ องค์การเภสัชกรรม (GPO) ซึ่งนำโดย พญ.มิ่งขวัญ สุพรรณพงศ์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 4 อาคารอำนวยการ องค์การเภสัชกรรม โดยมีประเด็นในการหารือเกี่ยวกับการมุ่งพัฒนาหลักสูตรบัณฑิตศึกษาในด้านของ Antiaging and longevity science การดูแลสุขภาพแนวใหม่ ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนได้หลากหลายกลุ่ม ซึ่งหากมองในด้านของกลุ่มวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนจะสามารถนำเอาองค์ความรู้จากหลักสูตร ไปประยุกต์ใช้ในการดูเเลสุขภาพของตนเอง และคนในครอบครัวได้ รวมไปถึงยังจะเป็นการช่วยเตรียมความพร้อมทางด้านของสาธารณสุขและสังคมที่ต้องรองรับสังคมผู้สูงอายุในอนาคตอันใกล้อีกด้วย โดยภาพรวมของตัวหลักสูตรจะมีการพัฒนาให้มีความสอดคล้องไปกับแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของชาติในเรื่องของ Medical Tourism ผนวกกับแนวคิดของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้มีการมุ่งพัฒนาบัณฑิตที่จบไปให้มีความพร้อมต่อสังคมโลกในปัจจุบัน โดยมีความคาดหวังว่าบัณฑิตที่จบไป จะมีการกระจายนำความรู้เข้าสู่ชุมชนของตนและสังคมในวงกว้างเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้    

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ และองค์การเภสัชกรรม ร่วมพูดคุยหารือความร่วมมือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรบัณฑิตศึกษา และการให้บริการด้านวิชาการและงานวิจัยในอนาคตร่วมกัน Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีเปิดค่ายเสริมสร้างทักษะและพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูทุนโครงการ สควค. ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 รุ่น 2 ณ จังหวัดนครราชสีมา

30 พฤษภาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดค่ายเสริมสร้างทักษะและพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูทุนโครงการ สควค. ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 รุ่น 2 ซึ่งจัดขึ้นเพื่อบ่มเพาะครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ยุคใหม่ ณ ศูนย์ฝึกอบรมธนาคารกรุงไทยเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา กิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.สุพรรณี ชาญประเสริฐ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าวเปิดงานและให้โอวาทแก่นักศึกษาในโครงการ โดยมีคณบดีจากสถาบันผลิตครูในโครงการ สควค. ร่วมเป็นเกียรติในงาน ในโอกาสนี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญ อารยะธนิตกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษา เป็นผู้แทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมกิจกรรมและถ่ายภาพร่วมกับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ในโครงการ สควค. ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 รุ่น 2 จำนวน 7 คน ได้แก่ นางสาวเพ็ญพิชชา ทาสิมมา นายกันตินันท์ เสนอินทร์ นายณัฐชัย จันทร์เรือง นายอนัญลักษณ์ สุขเสนา

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีเปิดค่ายเสริมสร้างทักษะและพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูทุนโครงการ สควค. ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 รุ่น 2 ณ จังหวัดนครราชสีมา Read More »

ภาคคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมเส้นทางสู่นักคณิตศาสตร์ประกันภัยครั้งที่ 9 (Road to Actuary 2025) ประจำปีการศึกษา 2568

     วันที่ 24 – 25 พฤษภาคม 2568 ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม เส้นทางสู่นักคณิตศาสตร์ประกันภัยครั้งที่ 9 (Road to Actuary 2025) ประจำปีการศึกษา 2568 เพื่อฝึกประสบการณ์การทำงานร่วมกันของนักศึกษา และฝึกการประสานงานระดับองค์กร เตรียมตัวสำหรับการเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคตอันใกล้ต่อไป และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ทราบเนื้อหาการเรียนในสาขาคณิตศาสตร์ประกันภัย และแนวทางการทำงานในอนาคตของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย อีกทั้งยังเพื่อส่งเสริมการสมัครเข้าเรียนในสาขาคณิตศาสตร์ประกันภัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลจากผู้เข้าร่วมโครงการในปีการศึกษาต่อ ๆ ไป       ในโอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญ อารยะธนิตกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ สถิรคู ประธานหลักสูตรคณิตศาสตร์ประกันภัย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนันท์ ลิ่วเฉลิมวงศ์ รองหัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทวัชร์ โฆษิตวัฒนฤกษ์ กรรมการหลักสูตรคณิตศาสตร์ประกันภัย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐกรณ์ ผิวชื่น เข้าร่วมงานและกล่าวเปิดพิธี นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้แก่ คุณช่อกาญจน์ มากโฉม ผู้จัดการฝ่ายคณิตศาสตร์ประกันภัย, คุณวารุณี ซื่อสัตย์สกุลชัย ผู้จัดการแผนกกิจกรรมเพื่อสังคม, คุณธนพล วัฒนาโชคทวีสุข เจ้าหน้าที่คณิตศาสตร์ประกันภัย, คุณพนิดา ขำศิริรัตน์ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบุคคล มารับหน้าที่เป็นวิทยากรและพิธีกรผู้ให้ความรู้ แนะแนวความรู้เกี่ยวกับเส้นทางการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัยภายในค่าย โดยกิจกรรมในครั้งนี้มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่

ภาคคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมเส้นทางสู่นักคณิตศาสตร์ประกันภัยครั้งที่ 9 (Road to Actuary 2025) ประจำปีการศึกษา 2568 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 3 มิถุนายน 2568

       30 พฤษภาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 3 มิถุนายน 2568 โดยมีคณะผู้บริหารนำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมกันแต่งกายด้วยชุดสุภาพโทนสีม่วงเข้าร่วมพิธี ณ ห้องประชุมสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท        สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ปฏิบัติงานถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยความวิริยอุตสาหะและความจงรักภักดี ทรงใส่พระราชหฤทัยในทุกข์สุขของประชาชนเสมอมาในฐานะสมเด็จพระราชินี ทั้งยังทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจสนองพระปฐมบรมราชโองการพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษา และต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และแนวพระราชดำริต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นแบบอย่างแห่งสตรีไทยที่พรั่งพร้อมไปด้วยจริยวัตรที่งดงาม ทรงรับเป็นพระราชภารกิจสำคัญที่จะดูแลชีวิตความเป็นอยู่ตลอดจนบรรเทาความทุกข์ยากเดือดร้อนของอาณาประชาราษฎร์ เขียนข่าว : นายธีรเทพ แก้วมณีตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 3 มิถุนายน 2568 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับคณะครูและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจาก โรงเรียนตากพิทยาคม จังหวัดตาก

     วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม 2568 คณะครูและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจาก โรงเรียนตากพิทยาคม จังหวัดตาก จำนวน 76 คนเข้าเยี่ยมชมคณะวิทยาศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ธน เตชะเลิศไพศาล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสารสนเทศ ต้อนรับคณะผู้เข้าชม ณ ห้อง L-04 อาคารเรียนรวม (ตึกกลม) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท บรรยายสรุปถึงหลักสูตรต่าง ๆ ของคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นข้อมูลในการเลือกเข้าศึกษาต่อและสร้างแรงบันดาลใจในการตั้งเป้าหมายในชีวิต      จากนั้นคณะครูและนักเรียนเข้าชมหน่วยงานสำคัญต่าง ๆ ของคณะวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา (Excellent Center for Drug Discovery: ECDD) เป็นหน่วยวิจัยด้านการศึกษากลไกการเกิดโรค และการค้นหาสารออกฤทธิ์ทางยา เพื่อเป็นจุดตั้งต้นในการค้นหาตัวยาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ให้เกียรตินำชมโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ, ศูนย์พัฒนาชุดทดสอบโรคและความปลอดภัยทางอาหาร (ADDC) ให้เกียรตินำชมโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ และหน่วยเครื่องมือกลาง (Central Instrument Facility:

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับคณะครูและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจาก โรงเรียนตากพิทยาคม จังหวัดตาก Read More »

Activity Photo

มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยคณะวิทย์ฯ ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev และ Nestlé นำทีมสตาร์ทอัพ SPACE-F รุ่นที่ 6 ร่วมนำเสนอนวัตกรรมในงาน Future Food System Conference & Show 2025 ครั้งที่ 3

29 พฤษภาคม 2568 หน่วยงานพันธมิตรโครงการ SPACE-F รุ่นที่ 6 นำทีม Foodtech Startup รุ่นที่ 6 ร่วมรับฟังทิศทางของการขับเคลื่อนระบบอาหารสู่ความยั่งยืนผ่านมุมมองของนักนวัตกรรม นักธุรกิจและนักลงทุนด้าน Foodtech พร้อมนำเสนอนวัตกรรมในงาน Future Food System Conference & Show 2025 ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นภายใต้ธีม “Re-generative Food & AI: Transforming Our Food System” ณ ห้องจูปิเตอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ในโอกาสนี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และรองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ, Dr. Christopher Aurand (Open Innovation

มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยคณะวิทย์ฯ ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev และ Nestlé นำทีมสตาร์ทอัพ SPACE-F รุ่นที่ 6 ร่วมนำเสนอนวัตกรรมในงาน Future Food System Conference & Show 2025 ครั้งที่ 3 Read More »

งานแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา ร่วมกับนักศึกษาจัดกิจกรรม Grad Cafe: Speak to Spark เพื่อเปิดพื้นที่ให้นักศึกษาปริญญาโทและเอกได้ทำความรู้จักกัน

     วันพุธที่ 28 พฤษภาคม 2568 งานแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับนักศึกษาได้จัดโครงการ Grad Cafe: Speak to Spark นักวิจัยสายลับ… ที่จะไม่ลับอีกต่อไป โดยได้รับเกียรติจาก ผศ. ดร. นพ.พรรษกร ตันรัตนะ รองคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษากล่าวเปิดงานและบอกถึงวัตถุประสงค์ ซึ่งเป็นกิจกรรมสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ และมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดพื้นที่ให้นักศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ได้แลกเปลี่ยนมุมมองด้านการวิจัย และรู้จักงานวิจัยของภาควิชาหรือหน่วยงานในคณะวิทยาศาสตร์ ตลอดจนส่งเสริมให้นักศึกษาแต่ละหลักสูตรได้ทำความรู้จัก สร้างความคุ้นเคย แลกเปลี่ยนช่องทางติดต่อกันเป็นครั้งแรก อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษารุ่นพี่ และนักศึกษารุ่นน้อง รวมไปถึงคณาจารย์ภายในภาควิชา ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ พญาไท เขียนข่าว : นายธีรเทพ แก้วมณีตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : นายนนท์นภัทร อินทร์สุพรรณ์เว็บมาสเตอร์: นายธีรเทพ แก้วมณีวันที่ 30 พฤษภาคม 2568

งานแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา ร่วมกับนักศึกษาจัดกิจกรรม Grad Cafe: Speak to Spark เพื่อเปิดพื้นที่ให้นักศึกษาปริญญาโทและเอกได้ทำความรู้จักกัน Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมทบทวนการดับเพลิงขั้นต้นแบบรายชั้น และอบรมแผนรองรับสถานการณ์แผ่นดินไหว สำหรับอาคารชีววิทยา เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ในเชิงทฤษฎีสำหรับการปฏิบัติตนตามแผนการป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ

       29 พฤษภาคม 2568 งานบริหารและธุรการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมทบทวนการดับเพลิงขั้นต้นแบบรายชั้น และอบรมแผนรองรับสถานการณ์แผ่นดินไหว สำหรับอาคารชีววิทยา (อาคาร B) ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ในทฤษฎีการเกิดเพลิงไหม้และการเผชิญกับสถานการณ์แผ่นดินไหวอย่างถูกต้อง ไปจนถึงวิธีการวางแผนป้องกันเพื่อระงับเหตุการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการเอาตัวรอดจากเหตุเพลิงไหม้ผ่านวิธีการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงและวิธีการดับเพลิงในลักษณะต่าง ๆ รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์แผ่นดินไหวที่อาจจะเกิดขึ้น การตรวจสอบอาคาร ที่อนู่อาศัย หลังแผ่นดินไหว สำหรับผู้ใช้อาคาร ผู้บริหารอาคาร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย และวิศวกรอาคาร ซึ่งในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก คุณคณภรณ์ เข็มทอง หัวหน้างานบริหารและธุรการวิทยากร มาเป็นผู้บรรยายให้ความรู้ โดยมีบุคลากรที่ประจำการ ณ อาคารชีววิทยา ให้การตอบรับเข้าร่วมการอบรมเป็นอย่างดี        ซึ่งเนื้อหาการจัดอบรมในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย การประเมินความรุนเเรงเบื้องต้นเเละระยะของการเกิดเหตุเพลิงไหม้, การปฏิบัติตามเเผนการรองรับการเกิดอัคคีภัย, การเเจ้งเหตุขอความช่วยเหลือ, แผนผังความปลอดภัยประจำอาคาร, การตรวจสอบความพร้อมเเละฝึกการใช้งานเครื่องดับเพลิง, การตรวจสอบความพร้อมเเละฝึกการใช้งานสายดับเพลิง fire hose

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมทบทวนการดับเพลิงขั้นต้นแบบรายชั้น และอบรมแผนรองรับสถานการณ์แผ่นดินไหว สำหรับอาคารชีววิทยา เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ในเชิงทฤษฎีสำหรับการปฏิบัติตนตามแผนการป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ประจำปี 2568 เพื่อส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้ในการช่วยเหลือผู้ที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น และผู้ที่เกิดภาวะสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจในสถานการณ์ต่าง ๆ

       28 พฤษภาคม 2568 งานบริหารและธุรการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการ ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ประจำปี 2568 โดยได้รับเกียรติจากทีม BEAT CPR TRAINING CENTER มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ซึ่งการจัดอบรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรภายในคณะวิทยาศาสตร์ ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญขององค์ความรู้ในการช่วยเหลือผู้ที่เกิดภาวะสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ และการช่วยเหลือจากภาวะหัวใจหยุดเต้นด้วยการทำ CPR การใช้เครื่อง AED การตระหนักถึงความอันตรายของการเกิดภาวะสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ และภาวะสมองขาดออกซิเจน อีกทั้งยังเพื่อเป็นการระดมความร่วมมือสำหรับบุคลากรภายในให้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างความตระหนัก และร่วมพัฒนาในด้านของการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้เผยแพร่ได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในการช่วยเหลือผู้ที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น และผู้ที่เกิดภาวะสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ต่อไป ซึ่งมีประเด็นหัวข้อในการอบรมดังนี้ การเรียนรู้และการประเมินสถานการณ์ของผู้ป่วยอย่างรวดเร็วและแม่นยำ วิธีการสังเกตและลงมือช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน การทำ High-Quality CPR ที่จะเพิ่มโอกาสในการรชีวิตสูงสุด ให้แก่ผู้ป่วยตามมาตรฐานล่าสุดของสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา เทคนิคการเปิดทางเดินหายใจ การทำ CPR ในสถานการณ์ที่มีผู้ช่วยเหลือคนเดียวและหลายคน การใช้เครื่อง AED (เครื่องกระตุกคลื่นไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ)

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ประจำปี 2568 เพื่อส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้ในการช่วยเหลือผู้ที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น และผู้ที่เกิดภาวะสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจในสถานการณ์ต่าง ๆ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานประชุมวิชาการและอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ “mRNA as genetic medicines: the next-generation biologics toward ATMPs and vaccines” ภายใต้โครงการ Reinventing University ของสำนักงานปลัดกระทรวง อว.

       26 – 29 พฤษภาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานประชุมวิชาการและอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ “mRNA as genetic medicines: the next-generation biologics toward ATMPs and vaccines” ภายใต้การสนับสนุนโดยโครงการ พลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการเตรียมความพร้อมของ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการเป็นผู้นำของประเทศด้านการพัฒนานวัตกรรม ATMP ผ่านหน่วยวิจัยเซลล์และยีนบำบัด (Center for Cell And Gene Therapy: CAGT) และการนำเสนอความก้าวหน้าและแนวโน้มของเทคโนโลยี ATMP ในกลุ่ม mRNA และ CAR T cells

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานประชุมวิชาการและอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ “mRNA as genetic medicines: the next-generation biologics toward ATMPs and vaccines” ภายใต้โครงการ Reinventing University ของสำนักงานปลัดกระทรวง อว. Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ส่งบุคลากรเข้าร่วมโครงการ International Staff Mobility ณ ประเทศอินโดนีเซียเสริมสร้างประสบการณ์นานาชาติและเครือข่ายความร่วมมือระดับสากล

     ระหว่างวันที่ 5 – 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยนางสาวนันท์นภัส ตะโกใหญ่ นักวิเทศสัมพันธ์ งานความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้เข้าร่วมโครงการ International Staff Mobility (ISM) ณ Institut Teknologi Sepuluh Nopember (ITS) ณ ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย พร้อมด้วย นางสาวปทิตตา ประเสริฐกุล นักวิเทศสัมพันธ์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี      โครงการ ISM มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนในด้านการทำงานภายใต้บริบทนานาชาติ ตลอดจนส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาจาก 13 มหาวิทยาลัยใน 9 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินเดีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม แคนาดา ไต้หวัน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และสเปน   

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ส่งบุคลากรเข้าร่วมโครงการ International Staff Mobility ณ ประเทศอินโดนีเซียเสริมสร้างประสบการณ์นานาชาติและเครือข่ายความร่วมมือระดับสากล Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล กับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมร่วมประชุมหารือความร่วมมือในด้านงานวิจัย นวัตกรรม และการศึกษา

       22 พฤษภาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และ รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และ รองศาสตราจารย์ ดร.ดำรงค์ อดุลยฤทธิกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมทั้งร่วมประชุมหารือความร่วมมือ ณ ห้อง Grand Auditorium ชั้น 4 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ซึ่งในโอกาสนี้ ทางคณะผู้บริหารได้มีการร่วมแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ในการบริหารมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมทั้ง เข้าร่วมการเสวนาภาพรวมความร่วมมือของสองมหาวิทยาลัย ด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม วิจัย

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล กับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมร่วมประชุมหารือความร่วมมือในด้านงานวิจัย นวัตกรรม และการศึกษา Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลให้การต้อนรับผู้บริหารจาก University of Durham สหราชอาณาจักร เพื่อหารือด้านความร่วมมือ

     21 พฤษภาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์, รองศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ, รองศาสตราจารย์ ดร.พรินท์พิดา สนธิพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา, รองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญารัตน์ พงศ์ทรางกูร อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัณฑนา จริยาบูรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี ให้การต้อนรับผู้บริหารจาก University of Durham สหราชอาณาจักร ประกอบด้วย Professor Clive Roberts, Executive Dean (Science), Prof. Markus Hausmann, Head, Department of Psychology, Mr.Richard Lancaster, Deputy Head of Transnational Education in the International Office, และ Ms.Lim Ching Mei, Regional Director, SEA ในโอกาสการประชุมหารือความร่วมมือ ณ คณะวิทยาศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลให้การต้อนรับผู้บริหารจาก University of Durham สหราชอาณาจักร เพื่อหารือด้านความร่วมมือ Read More »

ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม “Biotech Mahidol Grad OPEN HOUSE 2025” เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทำความรู้จักกับคณาจารย์ รุ่นพี่ศิษย์ปัจจุบัน พร้อมร่วมแนะแนวการศึกษาเพื่อต่อยอดสู่งานวิจัยและอาชีพในอนาคต

       19 พฤษภาคม 2568 ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม “Biotech Mahidol Grad OPEN HOUSE 2025” ณ อาคาร MUSES ชั้น 3 ห้อง 301 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ในรูปแบบ Onsite และ Online โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ แนะนำแนวทางในการประกอบอาชีพ ความก้าวหน้าในสายงาน และความสำคัญในการเรียนต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในยุคปัจจุบันจากคณาจารย์ รุ่นพี่ศิษย์ปัจจุบัน และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอก รวมไปถึงเป็นการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับทุนการศึกษา และงานวิจัยในสาขาต่าง ๆ ของภาควิชา ตลอดจนเพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษา เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอกของภาควิชา อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษารุ่นพี่ และนักศึกษารุ่นน้อง รวมไปถึงคณาจารย์ภายในภาควิชาอีกด้วย        ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี หัวหน้าภาควิชาภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ร่วมกับตัวแทนคณาจารย์และเจ้าหน้าที่สายสนับบสนุนจากภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม “Biotech Mahidol Grad OPEN HOUSE 2025” เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทำความรู้จักกับคณาจารย์ รุ่นพี่ศิษย์ปัจจุบัน พร้อมร่วมแนะแนวการศึกษาเพื่อต่อยอดสู่งานวิจัยและอาชีพในอนาคต Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ร่วมงานแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา ครบรอบปีที่ 16 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล

     20 พฤษภาคม 2568 ดร.นิศามณี เจริญชนม์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษานานาชาติ เป็นผู้แทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เดินทางไปร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาส วันคล้ายวันสถาปนาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล ครบรอบปีที่ 16 โดยได้รับเกียรติจาก ดร.พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้การต้อนรับ พร้อมมอบของที่ระลึก ณ ลาน Innovative Space ชั้น 1 มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เขียนข่าว : นายธีรเทพ แก้วมณีตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : นายธีรเทพ แก้วมณีเว็บมาสเตอร์: นายธีรเทพ แก้วมณีวันที่ 20 พฤษภาคม 2568

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ร่วมงานแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา ครบรอบปีที่ 16 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเจรจาหารือและกระชับความร่วมมือกับ College of Health Sciences, Kaohsiung Medical University (KMU) และ College of Science, National Sun Yat-sen University (NSYSU)

     วันที่ 15 พฤษภาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพ.พรรษกร ตันรัตนะ รองคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.กรกนก บุญวงษ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษา ดร.นิศามณี เจริญชนม์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษานานาชาติ และนางสาวน้องนุช ประสมคำ หัวหน้างานความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้เดินทางไปเจรจาหารือและกระชับความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)      โดยในช่วงเช้าได้เดินทางไปยัง College of Health Sciences, Kaohsiung Medical University (KMU) โดยมี Prof. Chai-Lin Kao, Vice President for

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเจรจาหารือและกระชับความร่วมมือกับ College of Health Sciences, Kaohsiung Medical University (KMU) และ College of Science, National Sun Yat-sen University (NSYSU) Read More »