Mahidol Science

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอัจฉริยะ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล กับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

       1 เมษายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ เป็นผู้แทน ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอัจฉริยะ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล กับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) นำโดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และ คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งให้เกียรติเป็นประธานกล่าวถึงที่มาของความร่วมมือ พร้อมทั้งเป็นผู้ลงนาม ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารใบไม้สามใบ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา        โดย โครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวโครงการให้เป็นต้นแบบของแหล่งการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางการเกษตรอัจฉริยะที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green) ให้กับผู้ประกอบการ […]

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการนวัตกรรมต้นแบบ Smart Agriculture Industry (SAI) เพื่อการเรียนรู้และบ่มเพาะแนวทางเกษตรอัจฉริยะ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล กับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) Read More »

Activity Photo

มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยคณะวิทย์ฯ และ iNT ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 20 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติร่วมโปรแกรมบ่มเพาะธุรกิจ SPACE-F Incubator รุ่นที่ 6

28 มีนาคม 2568 มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 20 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติ ร่วมโปรแกรมบ่มเพาะธุรกิจ (Incubator Program) ภายใต้โครงการ SPACE-F Incubator รุ่นที่ 6 เพื่อติวเข้มในการพัฒนาต่อยอดไอเดียสู่ผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมที่สอดคล้องกับเทรนด์ใหม่ ๆ ในตลาดอุตสาหกรรมอาหารโลก และเตรียมความพร้อมในการระดมเงินทุนในระดับ Series A และ Seed Funding เพื่อพัฒนาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในระดับสากล ในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญ์นลิน วิญญูประสิทธิ์ รองผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และรองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะกรรมการโครงการ SPACE-F

มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยคณะวิทย์ฯ และ iNT ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé เดินหน้าคัดเลือก 20 สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหารจากนานาชาติร่วมโปรแกรมบ่มเพาะธุรกิจ SPACE-F Incubator รุ่นที่ 6 Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวความร่วมมือโครงการทางเดินลอยฟ้าราชวิถี Rajavithi Skywalk เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนในการเดินทางเชื่อมโยงโรงพยาบาล สถาบันการแพทย์ โรงเรียนแพทย์ และการคมนาคมในพื้นที่บริเวณใกล้เคียง

       28 มีนาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี เข้าร่วม งานแถลงข่าวเปิดตัวความร่วมมือโครงการทางเดินลอยฟ้าราชวิถี Rajavithi Skywalk เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนในการเดินทางเชื่อมโยงโรงพยาบาล สถาบันการแพทย์ โรงเรียนแพทย์ และการคมนาคมในพื้นที่บริเวณใกล้เคียง ณ ห้องประชุมอรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชั้น 5 ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล        โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UDDC – CEUS) เป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดงานแถลงข่าว        นอกจากนี้

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวความร่วมมือโครงการทางเดินลอยฟ้าราชวิถี Rajavithi Skywalk เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนในการเดินทางเชื่อมโยงโรงพยาบาล สถาบันการแพทย์ โรงเรียนแพทย์ และการคมนาคมในพื้นที่บริเวณใกล้เคียง Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมชี้แจงสาขาวิชา ปีการศึกษา 2567 เพื่อให้ข้อมูลแก่นักศึกษาวิทยาศาสตร์ชั้นปีที่ 1 (หลักสูตรไทย) ในการเลือกสาขาวิชา

     วันที่ 26 มีนาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมชี้แจงสาขาวิชา ประจำปีการศึกษา 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลแก่นักศึกษาวิทยาศาสตร์ชั้นปีที่ 1 (หลักสูตรไทย) ในการเลือกสาขาวิชา และเพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ในการเรียนวิทยาศาสตร์ รวมทั้งความก้าวหน้าในวิชาชีพ และการประกอบอาชีพ โดยพานักศึกษาชั้นปีที่ 1 จากวิทยาเขตศาลายา เดินทางมาเยี่ยมชมตามภาควิชาต่างๆ ได้แก่ ภาควิชาคณิตศาสตร์ ภาควิชาเคมี ภาควิชาชีววิทยา ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ และภาควิชากฟิสิกส์ ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท      โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์ประจำแต่ละภาควิชาได้ให้คำแนะนำห้องแลปปฏิบัติการ ยกตัวอย่างเช่น ห้อง NMR ห้อง Mass และห้อง X-ray โดยนักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการจะได้เยี่ยมชมเพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ในการเรียนวิทยาศาสตร์ รวมทั้งความก้าวหน้าในวิชาชีพ และการประกอบอาชีพ และได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเลือกสาขาวิชา และเป็นไปตามเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพราะนอกจากจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาที่ตนศึกษาแล้ว นักศึกษายังต้องเป็นผู้รอบรู้ในสหสาขาวิชาแขนงอื่นๆ แบบองค์รวม สามารถทำงานร่วมกับนักวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ รวมทั้งประกอบอาชีพทางสาขาวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี เขียนข่าว : นายธีรเทพ แก้วมณีตรวจสอบโดย :

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมชี้แจงสาขาวิชา ปีการศึกษา 2567 เพื่อให้ข้อมูลแก่นักศึกษาวิทยาศาสตร์ชั้นปีที่ 1 (หลักสูตรไทย) ในการเลือกสาขาวิชา Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมทบทวนการดับเพลิงขั้นต้นแบบรายชั้น ณ อาคารเคมี เพื่อส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้ในทฤษฎีการเกิดเพลิงไหม้ และวิธีการป้องกันเพื่อระงับเหตุอัคคีภัยอย่างถูกต้อง

       26 มีนาคม 2568 งานบริหารและธุรการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมทบทวนการดับเพลิงขั้นต้นแบบรายชั้น ณ อาคารเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ในทฤษฎีการเกิดเพลิงไหม้ และวิธีการวางแผนป้องกันเพื่อระงับเหตุอัคคีภัยได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนสามารถเอาตัวรอดจากเหตุเพลิงไหม้ผ่านวิธีการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงและวิธีการดับเพลิงในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งได้รับเกียรติจาก คุณคณภรณ์ เข็มทอง หัวหน้างานบริหารและธุรการวิทยากร มาเป็นผู้บรรยายให้ความรู้ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. เทียนทอง ทองพันชั่ง หัวหน้าภาควิชาเคมี พร้อมด้วยบุคลากรจากภาควิชา ให้การต้อนรับและเข้าร่วมการอบรมเป็นอย่างดี        ซึ่งเนื้อหาการจัดอบรมในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย การประเมินความรุนเเรงเบื้องต้นเเละระยะของการเกิดเหตุเพลิงไหม้, การปฏิบัติตามเเผนการรองรับการเกิดอัคคีภัย, การเเจ้งเหตุขอความช่วยเหลือ, แผนผังความปลอดภัยประจำอาคาร, การตรวจสอบความพร้อมเเละฝึกการใช้งานเครื่องดับเพลิงชนิดมือถือ, การตรวจสอบความพร้อมเเละฝึกการใช้งานสายดับเพลิง fire hose และ การสำรวจความพร้อมของเส้นทางหนีไฟ        โดย การจัดอบรมการดับเพลิงขั้นต้น มาจากนโยบายของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมทบทวนการดับเพลิงขั้นต้นแบบรายชั้น ณ อาคารเคมี เพื่อส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้ในทฤษฎีการเกิดเพลิงไหม้ และวิธีการป้องกันเพื่อระงับเหตุอัคคีภัยอย่างถูกต้อง Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการอบรม “การเตรียมความพร้อมสำหรับการยื่นประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล (MUPSF)”

     26 มีนาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดโครงการอบรม การเตรียมความพร้อมสำหรับการยื่นประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล (MUPSF) โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชชุดา พยุหกฤษ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล กล่าวเปิดงานและกล่าวถึงวัตถุประสงของโครงการที่สอดคล้องไปกับยุทธศาสตร์ที่ 4 องค์กรยั่งยืน และพึ่งตนเองได้(Sustainable Organization and Self-Sufficiency) ณ ห้องประชุม K102 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท      สำหรับโครงการอบรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการยื่นประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล (MUPSF) ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.กรกนก บุญวงษ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษา บรรยายภายใต้หัวข้อ “แนวทางการเตรียมความพร้อมสำหรับการยื่นขอประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน” โดยร่วมให้ความรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน รวมถึงการถ่ายทอดหลักเกณฑ์การประเมินให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และตระหนักถึงความสำคัญของยื่นขอประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ก่อนจะปิดท้ายด้วยการรับฟังและตอบคำถามสำหรับผู้เข้าร่วมการอบรมที่มีความประสงค์ขอยื่นการประเมินฯ เขียนข่าว : นายธีรเทพ แก้วมณีตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : นายธีรเทพ แก้วมณีเว็บมาสเตอร์: นายธีรเทพ แก้วมณีวันที่ 26 มีนาคม 2568

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการอบรม “การเตรียมความพร้อมสำหรับการยื่นประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล (MUPSF)” Read More »

Activity Photo

ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม “BT Knock the Door: Exploring Research Together 2025” เปิดโอกาสนักศึกษาทำความรู้จักคณาจารย์ และงานวิจัยที่ตอบโจทย์การใช้งานจริง พร้อมแนะแนวเส้นทางอาชีพในอนาคต

19 มีนาคม 2568 ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพจัดกิจกรรม “BT Knock the Door: Exploring Research Together 2025″ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทำความรู้จักกับอาจารย์ในภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ และงานวิจัยในปัจจุบัน รวมถึงงานวิจัยที่ตอบโจทย์ทั้งภาคสังคมและภาคเอกชนของอาจารย์แต่ละท่าน พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอกแก่นักศึกษา โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ กล่าวเปิดกิจกรรม ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ภายในงานอาจารย์ประจำกลุ่มวิจัยและห้องปฏิบัติการทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพได้นำเสนอผลงานของตนเองบนเวทีกลาง และร่วมกับสมาชิกในห้องปฏิบัติการจัดแสดงผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ พร้อมแสดงอย่างผลิตภัณฑ์ และอุปกรณ์สำหรับงานวิจัยที่พัฒนาขึ้นใหม่ให้นักศึกษาได้เยี่ยมชมอย่างเต็มที่ และร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกับนักศึกษาอย่างเป็นกันเอง กิจกรรมในครั้งนี้ นอกจากนักศึกษาจะได้รู้ถึงความเชี่ยวชาญของอาจารย์แต่ละท่าน และได้รับความรู้เกี่ยวกับงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ในการค้นหาและสร้างเส้นทางนักเทคโนโลยีชีวภาพในแบบของตนเองแล้ว ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง อาจารย์และลูกศิษย์ ซึ่งจะเสริมความเข้มแข็งของกลุ่มวิจัยและเครือข่ายนักเทคโนโลยีชีวภาพของคณะวิทยาศาสตร์ให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย เขียนข่าวโดย : อาจารย์ ดร.กมลทิพย์ เล้าหเกียรติ์,ดร.ณิชยา เอกธาราวงศ์เรียบเรียงโดย : นางสาวปัณณพร แซ่แพตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพเว็บมาสเตอร์: นางสาวปัณณพร แซ่แพวันที่

ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม “BT Knock the Door: Exploring Research Together 2025” เปิดโอกาสนักศึกษาทำความรู้จักคณาจารย์ และงานวิจัยที่ตอบโจทย์การใช้งานจริง พร้อมแนะแนวเส้นทางอาชีพในอนาคต Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล และ ACS Publishing จัดกิจกรรม ACS on Campus

     วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล และ ACS Publishing จัดกิจกรรม ACS on Campus เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับนักวิจัย นักศึกษา และผู้สนใจด้านวิทยาศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยนำเสนอความรู้ เทคนิคและแนวทางการสร้างความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ เทคนิคการเขียนบทความที่มีประสิทธิภาพ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญจาก ACS โดยตรง รวมถึงพบปะกับคณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่ใช้งานผลิตภัณฑ์ของ ACS ในการนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.ธน เตชะเลิศไพศาล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสารสนเทศ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ      สำหรับกิจกรรม ACS on Campus ในครั้งนี้ มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน ประกอบด้วย Mrs.Mandy Sum (Market

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล และ ACS Publishing จัดกิจกรรม ACS on Campus Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมการแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์เครือข่ายมหิดลพญาไท ครั้งที่ 14 “Chrono Olympus : โอลิมปิกข้ามกาลเวลา”

       19 มีนาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมพลังบุคลากรในธีม “Dark Olympic เล่นแพ้ ตุยเย่” ร่วม การแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์เครือข่ายมหิดลพญาไท ครั้งที่ 14” ซึ่งปีนี้จัดขึ้นในธีมหลักที่ชื่อ “Chrono Olympus : โอลิมปิกข้ามกาลเวลา” ณ สนามข้างตึกเคมี คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร 9 ส่วนงานมหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะเวชศาสตร์เขตร้อน, คณะเภสัชศาสตร์, คณะสาธารณสุขศาสตร์ และ คณะวิทยาศาสตร์ โดยในปีนี้ มีเจ้าภาพในการร่วมจัดงานทั้งหมด 3 ส่วนงาน ได้แก่ สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา, คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และ วิทยาลัยการจัดการ        ในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมการแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์เครือข่ายมหิดลพญาไท ครั้งที่ 14 “Chrono Olympus : โอลิมปิกข้ามกาลเวลา” Read More »

Activity photo

คณะผู้บริหาร คณะวิทย์ ม.มหิดล พบปะประชาคมในกิจกรรม Meet the Dean EP.2 มุ่งสู่ความเป็นเลิศ ส่งเสริมความเข้าใจและความร่วมมือภายในองค์กรเพื่อบรรลุเป้าหมายสู่คณะวิทยาศาสตร์ระดับโลก

18 มีนาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี และทีมผู้บริหาร ร่วมพบปะประชาคมในกิจกรรม Meet the Dean EP.2 มุ่งสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรและนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ได้รับฟังนโยบายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการบริหารจัดการองค์กรร่วมกับทีมผู้บริหาร ณ  ห้อง L-01 อาคารบรรยายรวม (ตึกกลม) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยกิจกรรมในครั้งได้รับความสนใจจากบุคลากรและนักศึกษาเข้าร่วมงานจำนวนกว่า 300 คน ภายในงาน รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี ได้นำเสนอผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาของทีมบริหารเพื่อนำองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย To be a World Class Faculty of Science with Social Impact ด้วยยุทธศาสตร์หลัก 4 ด้าน ได้แก่ วิจัยและนวัตกรรมคุณภาพสากล นวัตกรรมการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ที่แท้จริง บริการวิชาการเข้มแข็งและผลักดันงานวิชาการสู่ระดับนโยบาย องค์กรยั่งยืนและพึ่งพาตนเองได้

คณะผู้บริหาร คณะวิทย์ ม.มหิดล พบปะประชาคมในกิจกรรม Meet the Dean EP.2 มุ่งสู่ความเป็นเลิศ ส่งเสริมความเข้าใจและความร่วมมือภายในองค์กรเพื่อบรรลุเป้าหมายสู่คณะวิทยาศาสตร์ระดับโลก Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมสัมมนา Connecting Expertise: Collaborative Innovations in Materials and Energy Science พร้อมรวมนักวิจัยด้านวัสดุศาสตร์ และพลังงานมาแลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างเครือข่ายการวิจัยในระดับนานาชาติร่วมกัน

       17 มีนาคม 2568 งานวิจัยและนวัตกรรม และ งานความร่วมมือระหว่างประเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมสัมมนาภายใต้ชื่อ Connecting Expertise: Collaborative Innovations in Materials and Energy Science ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวมนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์และพลังงานมาร่วมแบ่งปันข้อมูล ความรู้ และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและการสร้างเครือข่ายการวิจัยในระดับนานาชาติต่อไปในอนาคต          ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี เป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดงาน พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ให้เกียรติมาเป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้บรรยาย โดยมี อาจารย์ ดร.ฒนันท์ วาริทนันท์ อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งการสัมมนาในครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็นการบรรยาย 3 ช่วง โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิจาก 7

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมสัมมนา Connecting Expertise: Collaborative Innovations in Materials and Energy Science พร้อมรวมนักวิจัยด้านวัสดุศาสตร์ และพลังงานมาแลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างเครือข่ายการวิจัยในระดับนานาชาติร่วมกัน Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดลจัดงานปัจฉิมนิเทศ “Gown on, Preclinic Gone White coat, New road” นักศึกษาแพทย์ชั้นพรีคลินิกปีที่ 3 โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท รุ่นที่ 26 เพื่อก้าวเข้าสู่ชั้นคลินิก

     วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลจัดงานปัจฉิมนิเทศและพิธีมอบเสื้อกาวน์ส่งศิษย์แพทย์ขึ้นชั้นคลินิก ให้กับนักศึกษาแพทย์ชั้นพรีคลินิกปีที่ 3 โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ประจำปีการศึกษา 2567 ณ ห้องบรรยาย L01 ตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยากาศภายในงานเต็มไปด้วยความอบอุ่นและความประทับใจ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ นายกสมาคมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะผู้บริหาร คณาจารย์ และผู้ปกครองของนักศึกษาแพทย์เข้าร่วมงานในครั้งนี้      สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพ.พรรษกร ตันรัตนะ รองคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา กล่าวต้อนรับ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ นายกสมาคมศิษย์เก่าฯ คณบดี คณะผู้บริหาร คณาจารย์ เข้าสู่กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ มอบเสื้อกาวน์ และกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงานในครั้งนี้ ก่อนเรียนเชิญ รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดลจัดงานปัจฉิมนิเทศ “Gown on, Preclinic Gone White coat, New road” นักศึกษาแพทย์ชั้นพรีคลินิกปีที่ 3 โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท รุ่นที่ 26 เพื่อก้าวเข้าสู่ชั้นคลินิก Read More »

Activity photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย จัดกิจกรรมวิชาการสำหรับนักเรียนโครงการห้องเรียน พสวท. (สู่ความเป็นเลิศ) ปีการศึกษา 2567 เพื่อพัฒนาศักยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

16 มีนาคม 2568  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมวิชาการแก่นักเรียนโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย โครงการห้องเรียน พสวท. (สู่ความเป็นเลิศ) ปีการศึกษา 2567 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวนกว่า 69 คน เพื่อพัฒนาศักยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมทั้งเปิดโลกการเรียนวิทยาศาสตร์ ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท กิจกรรมวิชาการของนักเรียนโครงการห้องเรียน พสวท. (สู่ความเป็นเลิศ) เป็นกิจกรรมภายใต้ความร่วมมือของศูนย์มหาวิทยาลัย ร่วมกับศูนย์โรงเรียนในโครงการ พสวท. และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนห้องเรียน พสวท. (สู่ความเป็นเลิศ) อันเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับความรู้และพัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นหนึ่งศูนย์มหาวิทยาลัยในโครงการ จึงได้มีการจัดกิจกรรมวิชาการให้แก่ศูนย์โรงเรียนในโครงการ พสวท. เป็นประจำทุกปี สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.กรกนก บุญวงษ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษา กล่าวเปิดงานและต้อนรับนักเรียนและผู้บริหารจากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย รวมถึงครูผู้ดูแล ณ ห้อง L02 อาคารบรรยายรวม (ตึกกลม)

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย จัดกิจกรรมวิชาการสำหรับนักเรียนโครงการห้องเรียน พสวท. (สู่ความเป็นเลิศ) ปีการศึกษา 2567 เพื่อพัฒนาศักยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการเขียนคู่มือปฏิบัติงาน เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรสายสนับสนุนมีความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวทางการเขียนคู่มือปฏิบัติงานที่ถูกต้องและเป็นมาตรฐาน

       14 มีนาคม 2568 หน่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคล สังกัดงานบริหารธุรการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการเขียนคู่มือปฏิบัติงาน ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้บุคลากรสายสนับสนุนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการเขียนคู่มือปฏิบัติงานที่ถูกต้องและเป็นมาตรฐาน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาทักษะการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์จริงในการขอกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้น และส่งเสริมให้คณะวิทยาศาสตร์มีระบบงานที่ชัดเจน เป็นมาตรฐาน และสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว        โดยในช่วงพิธีเปิดการอบรมฯ ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชชุดา พยุหกฤษ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรมฯ ก่อนที่จะเริ่มการบรรยายอบรม โดย คุณปภาณภณ ปถังกรภูรินท์ ผู้อำนวยการกองบริหารงานคณะนิเทศศาสตร์ฯ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และที่ปรึกษาด้านงานบุคคลและงานนิติการ สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ และทำกิจกรรม Workshop เกี่ยวกับการพัฒนาคู่มือปฏิบัติงานร่วมกัน ผ่านการแบ่งกลุ่มโดยมีคณะกรรมการฯ เป็นผู้ให้คำปรึกษา        ซึ่งคู่มือปฏิบัติงาน เปรียบเสมือนแผนที่บอกเส้นทางการทำงานที่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของกระบวนการระบุถึงขั้นตอนและรายละเอียดของกระบวนการต่าง ๆ มักจัดทำขึ้นสำหรับงานที่มีความซับซ้อน มีหลายขั้นตอน และเกี่ยวข้องกับหลายคน

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการเขียนคู่มือปฏิบัติงาน เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรสายสนับสนุนมีความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวทางการเขียนคู่มือปฏิบัติงานที่ถูกต้องและเป็นมาตรฐาน Read More »

ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมเสวนาพิเศษในหัวข้อ “Mathematics for Sustainable Society”

     ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล (วิทยาเขตพญาไท) ได้จัดกิจกรรมเสวนาพิเศษในหัวข้อ “Mathematics for Sustainable Society” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์อันดีระหว่างศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่า รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและบริษัทภาคเอกชน พร้อมทั้งมอบทุนการศึกษาแก่นักศึกษาในภาควิชาฯ โดยได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ได้แก่ นายเคียน ฮิน ลิม ผู้จัดการใหญ่ บริษัทไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ผู้สนับสนุนทุนการศึกษา Green Lane Scholarship รวมถึงสมาคมประกันชีวิตไทย (TLAA) บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ที่ได้ให้การอุปการะและสนับสนุนทุนการศึกษานักศึกษา      กิจกรรมนี้ยังเป็นโอกาสในการแสดงความขอบคุณแก่ผู้ที่ให้การสนับสนุนภาควิชาคณิตศาสตร์และนักศึกษาในทุกหลักสูตร อีกทั้งยังช่วยสร้างโอกาสให้นักศึกษาได้เชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆ ที่มีผลกระทบสูงต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีบทบาทเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ข้อมูลและความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในสายอาชีพต่างๆ เช่น สายงานเทคโนโลยี

ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมเสวนาพิเศษในหัวข้อ “Mathematics for Sustainable Society” Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ลงนาม MOU ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เพื่อพัฒนานวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน และผลักดันสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และสาธารณะ

10 มีนาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน และผลักดันสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และสาธารณะ ณ ห้องประชุม K101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ในโอกาสนี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และทีมบริหาร ได้ให้การต้อนรับ คุณธวัชชัย สำราญวานิช รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย คุณวฤต รัตนชื่น ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาธุรกิจ และร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โดยมีผู้บริหารและหัวหน้าหน่วยงานภายในคณะวิทยาศาสตร์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยหัวหน้าภาควิชานำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิรวิทย์ สิตปรีชา หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา รองศาสตราจารย์ ดร.เทียนทอง ทองพันชั่ง หัวหน้าภาควิชาเคมี

คณะวิทย์ ม.มหิดล ลงนาม MOU ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เพื่อพัฒนานวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน และผลักดันสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และสาธารณะ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ให้การต้อนรับคณะครูและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจาก โรงเรียนวารีเชียงใหม่ ภายใต้โครงการความร่วมมือพิพิธภัณฑ์ในเขตพื้นที่พญาไท

     วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม 2568 คณะครูและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจาก โรงเรียนวารีเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 52 คน เข้าเยี่ยมชมคณะวิทยาศาสตร์ และ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้โครงการความร่วมมือพิพิธภัณฑ์ในเขตพื้นที่พญาไท โดยในช่วงต้นเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สิรินธรทันตพิพิธ ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ทางทันตแพทยศาสตร์แห่งแรกที่ทันสมัยที่สุดในเอเชีย ของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อเนื่องด้วยการเข้าเยี่ยมชมคณะวิทยาศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ธน เตชะเลิศไพศาล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสารสนเทศ ต้อนรับคณะผู้เข้าชม ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ บรรยายสรุปถึงหลักสูตรต่าง ๆ ของคณะวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นข้อมูลในการเลือกเข้าศึกษาต่อและสร้างแรงบันดาลใจในการตั้งเป้าหมายในชีวิต จากนั้นคณะครูและนักเรียนเข้าชมหน่วยงานสำคัญต่าง ๆ ของคณะวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา (Excellent Center for Drug Discovery: ECDD) เป็นหน่วยวิจัยด้านการศึกษากลไกการเกิดโรค และการค้นหาสารออกฤทธิ์ทางยา เพื่อเป็นจุดตั้งต้นในการค้นหาตัวยาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ บรรยายสรุป

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ให้การต้อนรับคณะครูและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจาก โรงเรียนวารีเชียงใหม่ ภายใต้โครงการความร่วมมือพิพิธภัณฑ์ในเขตพื้นที่พญาไท Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการอบรม “สร้างความรู้เกี่ยวกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ประจำปี 2568” เพื่อร่วมสะท้อนความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานตนเองในการประเมินการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Integrity and Transparency : IIT)

       4 มีนาคม 2568 งานตรวจสอบภายใน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการอบรม “สร้างความรู้เกี่ยวกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้บริหารและบุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย (MU-ITA) ประจำปีงบประมาณ 2568 และเข้าใจในรูปแบบวัดการรับรู้ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Integrity and Transparency : IT) มากขึ้น        ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการอบรม โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิสา ปฏิการมณฑล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายความยั่งยืนขององค์กร เป็นผู้กล่าวรายงานการจัดโครงการ ซึ่งการอบรมในครั้งนี้มีผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงาน และบุคลากรภายในคณะวิทยาศาสตร์ ให้ความสนใจเข้าร่วมกันอย่างคับคั่ง ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการอบรม “สร้างความรู้เกี่ยวกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ประจำปี 2568” เพื่อร่วมสะท้อนความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานตนเองในการประเมินการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Integrity and Transparency : IIT) Read More »

คณะวิทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงานครบรอบ 56 ปี วันพระราชทานนาม และ 137 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมร่วมยินดีกับคณาจารย์ บุคลากร และศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ ผู้คว้ารางวัลเชิดชูเกียรติ

     2 มีนาคม 2567 ในโอกาสครบรอบ 56 ปี วันพระราชทานนาม และ 137 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดี คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงผู้บริหารส่วนงานต่าง ๆ และคณะผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี พร้อมด้วยคณาจารย์ และบุคลากรเข้าร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และพิธีบำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก พร้อมร่วมฟังปาฐกถาเกียรติยศ ศาสตราจารย์ นายแพทย์กษาน จาติกวนิช ครั้งที่ 13 เรื่อง “Nan Sandbox” โดย คุณบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกิตติคุณ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) พร้อมเข้าร่วมพิธีเปิดนิทรรศการครบรอบ 56 ปี วันพระราชทานนาม และ 137 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง “ประชาชน พืชยา และป่าต้นน้ำ : มหิดล

คณะวิทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงานครบรอบ 56 ปี วันพระราชทานนาม และ 137 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมร่วมยินดีกับคณาจารย์ บุคลากร และศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ ผู้คว้ารางวัลเชิดชูเกียรติ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล และ iNT ร่วมกับ Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé จัดกิจกรรม SPACE-F Roadshow Bangkok – The Heart of Thailand’s Food Innovation SPACE-F เชิญชวนสตาร์ทอัพร่วมโครงการ SPACE-F Batch 6

28 กุมภาพันธ์ 2568 กลับมาอีกครั้งกับ SPACE-F Batch 6 โครงการส่งเสริมศักยภาพการเติบโตและการแข่งขันของ Food-Tech Startups แห่งแรกของประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย คณะวิทยาศาสตร์ และ iNT ร่วมกับพันธมิตร Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé ร่วมกันจัดกิจกรรม SPACE-F Roadshow Bangkok – The Heart of Thailand’s Food Innovation เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการแก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นด้านเทคโนโลยีอาหาร รวมถึงอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลที่สนใจเข้าร่วมโครงการ SPACE-F Batch 6 กว่า 80 ท่าน ณ SPACE-F ชั้น 6 อาคารชีววิทยาใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท SPACE-F เป็นโครงการส่งเสริมศักยภาพการเติบโตและการแข่งขันของ Food-Tech

คณะวิทย์ ม.มหิดล และ iNT ร่วมกับ Thai Union, NIA, ThaiBev, Deloitte, LOTTE และ Nestlé จัดกิจกรรม SPACE-F Roadshow Bangkok – The Heart of Thailand’s Food Innovation SPACE-F เชิญชวนสตาร์ทอัพร่วมโครงการ SPACE-F Batch 6 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการทำงานวิจัยและขยายขีดความสามารถในการขอทุนจากต่างประเทศ ร่วมกับคณะเวชศาสตร์เขตร้อน (MUST Corporation)

       28 กุมภาพันธ์ 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยคณาจารย์จากภาควิชาต่าง ๆ ที่มีความสนใจ เข้าร่วมการสัมมนาความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง คณะเวชศาสตร์เขตร้อน และ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUST Corporation) ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล โดยในช่วงของการสัมมนา ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์วิจัย ดร.เจตสุมน ประจำศรี รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะเวชศาสตร์เขตร้อน และคณาจารย์จากคณะฯ ร่วมให้การต้อนรับ        ซึ่งการจัดสัมมนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการทำงานวิจัยและขยายขีดความสามารถในการขอทุนจากต่างประเทศ ซึ่งคณะฯ ให้ความสำคัญกับการสร้างพันธมิตรด้านการวิจัยภายในสถาบัน เพื่อร่วมกันพัฒนางานวิจัย, แชร์ความรู้ และเติมเต็มความสามารถแต่ละฝ่าย ทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมในการยื่นขอทุนวิจัยทั้งในและต่างประเทศในอนาคต ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณค่าและสามารถนำไปสู่การพัฒนาได้อย่างยั่งยืน และสอดคล้องกับนโยบาย “Real World Impact”

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการทำงานวิจัยและขยายขีดความสามารถในการขอทุนจากต่างประเทศ ร่วมกับคณะเวชศาสตร์เขตร้อน (MUST Corporation) Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการอบรม “MUSC-AP Tracking System” ระบบติดตามการขอตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาชีพของผู้ปฏิบัติงานสายวิชาการ

       26 กุมภาพันธ์ 2568 งานบริหารธุรการ, งานพัฒนาระบบและเทคโนโลยี และสภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมจัดโครงการอบรม “MUSC-AP Tracking System” ระบบติดตามการขอตำแหน่งทางวิชาการ ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมผู้ปฏิบัติงานทางด้านสายวิชาการ ให้มีการขอตำแหน่งทางวิชาการที่มากยิ่งขึ้น ตามเป้าประสงค์ของคณะ และส่งเสริมให้เกิดกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการอย่างมีระบบขั้นตอน เพื่อนำไปสู่การติดตามสถานะของการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ        ซึ่งในช่วงพิธีเปิดโครงการอบรม ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชชุดา พยุหกฤษ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล เป็นประธานกล่าวเปิดงาน จากนั้นจึงได้มีการบรรยายในหัวข้อเรื่อง “เกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการ” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา ไตรเพิ่ม ประธานสภาอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ ตามด้วยการบรรยายในหัวข้อเรื่อง “การใช้ระบบติดตามการขอตำแหน่ง” โดย ทีมผู้ปฏิบัติงานสายสนับสนุน จากงานพัฒนาระบบและเทคโนโลยี นำโดย นายศุภนันท์ ไกรตะนะ หัวหน้างาน และปิดท้ายด้วยช่วงกิจกรรม ถาม-ตอบ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการอบรม “MUSC-AP Tracking System” ระบบติดตามการขอตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาชีพของผู้ปฏิบัติงานสายวิชาการ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกลุ่มวิจัย LHAASO ครั้งแรกของปี 2025 ณ โรงแรม Laya Resort Phuket Island จังหวัดภูเก็ต

       12 – 16 กุมภาพันธ์ 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมกลุ่มวิจัย LHAASO ครั้งแรกของปี 2025 ณ โรงแรม Laya Resort Phuket Island จังหวัดภูเก็ต นำโดยหัวหน้าโครงการ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด รูฟโฟโล อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์        โดย LHAASO ย่อมาจาก Large High Altitude Air Shower Observatory เป็นโครงการวิจัยที่ประกอบไปด้วยชุดเครื่องวัดยักษ์ใหญ่ สำหรับรังสีแกมมาและรังสีคอสมิกพลังงานสูงมากจากอวกาศ ซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศจีน โดยมีเครื่องวัดภาคพื้นดินมากกว่า 6,000 ชิ้น กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร บนที่ราบสูงในมณฑลเสฉวนที่ระดับความสูงประมาณ 4,410 เมตรจากระดับน้ำทะเล นับได้ว่าเป็นอุปกรณ์วิจัยด้านรังสีแกมมาและรังสีคอสมิกขนาดมหึมา มีประสิทธิภาพเป็นลำดับต้น ๆ ของโลก และใช้งบประมาณมหาศาลในการก่อสร้างและปฏิบัติการ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกลุ่มวิจัย LHAASO ครั้งแรกของปี 2025 ณ โรงแรม Laya Resort Phuket Island จังหวัดภูเก็ต Read More »

หน่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคล สังกัดงานบริหารธุรการ คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการปฐมนิเทศบุคลากรใหม่ ประจำปี 2568 เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กร พร้อมทั้งเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคลากรใหม่ด้วยกัน

       21 กุมภาพันธ์ 2568 หน่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคล สังกัดงานบริหารธุรการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการ ปฐมนิเทศบุคลากรใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2568 ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้บุคลากรใหม่มีความรู้ความเข้าใจบริบทขององค์กร ระบบบริหารงาน วัฒนธรรมองค์กร สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการที่พึงได้รับ ได้รับความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร และเพื่อเป็นโอกาสที่บุคลากรใหม่ได้มีโอกาสทำความรู้จักและสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ร่วมงานใหม่ อันจะส่งผลดีต่อการประสานความร่วมมือในการปฏิบัติงานต่อไป  โดยในครั้งนี้ ได้มีบุคลากรสายวิชาการ และ บุคลากรสายสนับสนุน เข้าร่วมโครงการกว่า 52 คน        ซึ่งในช่วงพิธีเปิดโครงการปฐมนิเทศ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชชุดา พยุหกฤษ

หน่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคล สังกัดงานบริหารธุรการ คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการปฐมนิเทศบุคลากรใหม่ ประจำปี 2568 เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กร พร้อมทั้งเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคลากรใหม่ด้วยกัน Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมให้การต้อนรับ สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน ศูนย์วิจัยและหน่วยงานวิจัยต่าง ๆ พร้อมหารือความร่วมมือทางด้านการวิจัยในอนาคตร่วมกัน

       20 กุมภาพันธ์ 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี และศาสตราจารย์ ดร.วิฑูร แสงศิริสุวรรณ รองคณบดี พร้อมด้วยทีมคณะผู้บริหาร และ ผู้อำนวยการ หัวหน้า ศูนย์วิจัยและหน่วยงานวิจัยภายในคณะวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา (ECDD), ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB), รองศาสตราจารย์ ดร. ไกร มีมล หัวหน้าหน่วยเครื่องมือกลาง, ศาสตราจารย์ ดร.ชาคริต สิริสิงห หัวหน้าศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง (RTEC) และเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน ร่วมให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจาก สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งประกอบไปด้วย ข้าราชการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 40 นาย นำโดย พลโท คม วิริยเวชกุล

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมให้การต้อนรับ สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน ศูนย์วิจัยและหน่วยงานวิจัยต่าง ๆ พร้อมหารือความร่วมมือทางด้านการวิจัยในอนาคตร่วมกัน Read More »

Activity photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล เชิญโฆษกโครงการ LHAASO และ SPACETH.CO ร่วมสื่อสารงานวิจัยสร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาอนุภาคพลังงานสูงในอวกาศผ่านกิจกรรมเสวนาพิเศษ Mahidol Science Cafe: Black Holes and High Energy Particles

19 กุมภาพันธ์ 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมเสวนาพิเศษ Mahidol Science Cafe: Black Holes and High Energy Particles เปิดโอกาสให้นักศึกษา อาจารย์ นักวิชาการ รวมถึงเยาวชนไทย และบุคคลทั่วไปที่สนใจด้านอวกาศได้แลกเปลี่ยนความรู้ด้านการศึกษาอนุภาคพลังงานสูงในอวกาศ กับนักวิจัยจากองค์กรระดับนานาชาติ Prof. Zhen Cao, Institute of High Energy Physics, Chinese Academy of Science โฆษกและหัวหน้าโครงการ LHAASO และ Prof. Dr. David Ruffolo หัวหน้ากลุ่มวิจัยรังสีคอสมิกและอนุภาคพลังงานสูง ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน บรรณาธิการบริหาร SPACETH.CO สื่ออวกาศออนไลน์ที่มีความร่วมมือกับหน่วยงานอวกาศระดับนานาชาติ โดยกิจกรรมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกว่า 30 คน ณ ห้อง

คณะวิทย์ ม.มหิดล เชิญโฆษกโครงการ LHAASO และ SPACETH.CO ร่วมสื่อสารงานวิจัยสร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาอนุภาคพลังงานสูงในอวกาศผ่านกิจกรรมเสวนาพิเศษ Mahidol Science Cafe: Black Holes and High Energy Particles Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ลงนาม MOU ร่วมกับ Institute of High Energy Physics, Chinese Academy of Sciences สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อพัฒนาการวิจัยแนวหน้าด้านฟิสิกส์อวกาศและอนุภาคพลังงานสูงจากอวกาศภายใต้โครงการ LHAASO

19 กุมภาพันธ์ 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับ Institute of High Energy Physics, Chinese Academy of Sciences (IHEP) จากสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อขยายความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยด้านฟิสิกส์อวกาศและอนุภาคพลังงานสูง ภายใต้โครงการ Large High Altitude Air Shower Observatory หรือ LHAASO ณ ห้องประชุม K101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ในโอกาสนี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี และ Prof. Dr. David Ruffolo หัวหน้ากลุ่มวิจัยรังสีคอสมิกและอนุภาคพลังงานสูง ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้การต้อนรับ Prof. Zhen Cao,

คณะวิทย์ ม.มหิดล ลงนาม MOU ร่วมกับ Institute of High Energy Physics, Chinese Academy of Sciences สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อพัฒนาการวิจัยแนวหน้าด้านฟิสิกส์อวกาศและอนุภาคพลังงานสูงจากอวกาศภายใต้โครงการ LHAASO Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม MAHIDOL SCIENCE CAREER SKILLS “เขียนเรซูเม่ให้ปัง…จบใหม่ยังไงให้ได้งาน” เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านการเขียนประวัติทางการศึกษาและการทำงานแก่นักศึกษาและศิษย์เก่า

     19 กุมภาพันธ์ 2568 งานการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม MAHIDOL SCIENCE CAREER SKILLS “เขียนเรซูเม่ให้ปัง…จบใหม่ยังไงให้ได้งาน” เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านการเขียนประวัติทางการศึกษาและการทำงานแก่นักศึกษา และศิษย์เก่า โดยได้รับเกียรติจาก คุณกฤตภาส ณ พัทลุง วิทยากรพิเศษจากบริษัท JOBTOPGUN เป็นวิทยากรให้ความรู้ ณ ห้อง L-02 อาคารบรรยายรวม (ตึกกลม) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท      ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.กรกนก บุญวงษ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษา ได้กล่าวเปิดกิจกรรมและมอบของที่ระลึกแก่วิทยากร พร้อมร่วมรับฟังการบรรยายในครั้งนี้ด้วย ในการบรรยาย คุณกฤตภาส ณ พัทลุง ได้เล่าถึงการคัดเลือกผู้สมัครงานของฝ่ายบุคคลในยุคปัจจุบันที่มี AI เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการค้นหาผู้สมัครงานตามเงื่อนไขที่ตำแหน่งงานนั้นต้องการ และได้กล่าวถึงความสำคัญกับสิ่งที่นักศึกษาต้องเตรียมตัวและเตรียม Resume ให้พร้อมสำหรับการสมัครงานในอนาคต โดยวิทยากรได้ให้แนวทาง  ในการนำเสนอ Drive, Talent, Aptitude ของนักศึกษา

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม MAHIDOL SCIENCE CAREER SKILLS “เขียนเรซูเม่ให้ปัง…จบใหม่ยังไงให้ได้งาน” เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านการเขียนประวัติทางการศึกษาและการทำงานแก่นักศึกษาและศิษย์เก่า Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด กับ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล

       19 กุมภาพันธ์ 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้แทน เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด นำโดย คุณมนตรี ตั้งเติมสิริกุล ผู้บริหารบริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด และ คุณธีรชัย เยาว์พฤกษ์ชัย ผู้จัดการธุรกิจยั่งยืน บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิริยะ เตชะรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม และ รองศาสตราจารย์ ดร. ธัญญ์นลิน วิญญูประสิทธิ์ รองผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ณ อาคาร MaSHARES Co-working Space

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด กับ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมหารือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ University of Strathclyde Glasgow

       18 กุมภาพันธ์ 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้แทน เข้าร่วมหารือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ University of Strathclyde Glasgow ซึ่งนำโดย Professor Duncan Graham : Associate Principal & Executive Dean Faculty of Science, Mr. Julian Taylor : Managing Director of International Operations และ Ms. Gillian Docherty : Chief Commercial Officer (CCO) ณ ห้องประชุม ศ.เกียรติคุณ

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมหารือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ University of Strathclyde Glasgow Read More »