คณะวิทยาศาสตร์

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) และ ศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จัดกิจกรรมสัมมนาผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม Mahidol University – Industry Partnerships Forum

       4 ธันวาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) และ ศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ (Medical Innovations Development (MIND) Center) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จัดกิจกรรม สัมมนาผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม Mahidol University – Industry Partnerships Forum ในหัวข้อ “Advanced Materials Technology and Innovation” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันให้เกิดการสร้างความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข และ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท        ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ […]

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) และ ศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จัดกิจกรรมสัมมนาผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม Mahidol University – Industry Partnerships Forum Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล พบปะทีมผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ ทีมผู้บริหารโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี (PERCH-CIC) และทีมนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์หารือแนวทางการพัฒนางานวิจัยด้านสารสกัดจากพืช และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (น่าน Sandbox)

3 ธันวาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และรองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ให้การต้อนรับทีมผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก. สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.ปัทมพรรณ โลมะรัตน์ รองคณบดีฝ่ายแผนและพัฒนาคุณภาพ และรองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.ณัฏฐินี อนันตโชค และทีมผู้บริหารโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนียา โตรักษา ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ และดร.สุนิสา แสงวิโรจนพัฒน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย พร้อมด้วย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วิชัย ริ้วตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี (PERCH-CIC) ดร.ณรงค์ นันทะแสน ผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี และ ดร.ศักดิ์ชัย หงส์ทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ และทีมนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์

คณะวิทย์ ม.มหิดล พบปะทีมผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ ทีมผู้บริหารโครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี (PERCH-CIC) และทีมนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์หารือแนวทางการพัฒนางานวิจัยด้านสารสกัดจากพืช และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (น่าน Sandbox) Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านต้อนรับคณะนักเรียนจาก Tomeikan Junior High School ประเทศญี่ปุ่น แนะนำหลักสูตรนานาชาติ BE และทำกิจกรรมเสริมสร้างความตระหนักรู้เรื่องสารพิษปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม

     วันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ประธานหลักสูตรทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) ภาควิชาชีววิทยา ร่วมกับตัวแทนนักศึกษาจากหลักสูตรทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) และนักวิเทศสัมพันธ์ จากงานความร่วมมือระหว่างประเทศ คณะวิทยาศาสตร์ ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจากองค์กรพัฒนาเอกชน Terra Renaissance และคณะนักเรียนจาก Tomeikan Junior High School ประเทศญี่ปุ่น  โดยบรรยายให้ความรู้และสาธิตการทดลองเกี่ยวกับการตรวจสอบสารพิษโลหะหนักที่ปนเปื้อนในอาหารและน้ำ ณ ห้อง SC2-340 อาคารวิทยาศาสตร์ 2 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ด้านอันตรายในสิ่งแวดล้อมที่อาจแฝงมากับสิ่งใกล้ตัวอย่างอาหารและน้ำดื่มผ่านกระบวนการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องและได้มาตรฐาน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์หลักสูตรการศึกษานานาชาติของคณะวิทยาศาสตร์กับสถาบันต่างประเทศด้วย      รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล อธิบายถึงผลกระทบของการทำเหมืองแร่และอันตรายของแร่โลหะหนักหลายชนิดที่ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยเฉพาะสารแคดเมียม อาทิ โรคอิไต-อิไต ซึ่งมักจะเกิดจากการบริโภคอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนสารพิษชนิดนี้  และได้เปิดโอกาสให้นักเรียนจาก Tomeikan Junior High School

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านต้อนรับคณะนักเรียนจาก Tomeikan Junior High School ประเทศญี่ปุ่น แนะนำหลักสูตรนานาชาติ BE และทำกิจกรรมเสริมสร้างความตระหนักรู้เรื่องสารพิษปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก University of Sheffield และ University of York ประเทศสหราชอาณาจักร เพื่อหารือความร่วมมือด้านการศึกษาและการวิจัย

     วันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ประธานหลักสูตรทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) ภาควิชาชีววิทยา และนักวิเทศสัมพันธ์ จากงานความร่วมมือระหว่างประเทศ คณะวิทยาศาสตร์ ให้การต้อนรับ Prof. Julie Gray, School of Biosciences, University of Sheffield และ Dr. Tim Doheny-Adams, Department of Biology, University of York ประเทศสหราชอาณาจักร ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา เพื่อหารือความร่วมมือด้านการศึกษา การวิจัย และการแลกเปลี่ยนนักศึกษาในหลักสูตรนานาชาติของคณะวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือกับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม(หลักสูตรนานาชาติ)      โดยผู้แทนทั้งสามสถาบันได้นำเสนอกิจกรรมการเรียนการสอนและงานวิจัยที่เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะสถาปนาความร่วมมือด้วยกัน ได้แก่ การเรียนการสอนและการวิจัยด้านทรัพยากรชีวภาพและสิ่งแวดล้อม ด้านวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ การแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษา การจัดสัมมนาทางวิชาการร่วมกัน

คณะวิทย์ ม.มหิดล ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก University of Sheffield และ University of York ประเทศสหราชอาณาจักร เพื่อหารือความร่วมมือด้านการศึกษาและการวิจัย Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ มูลนิธิรามาธิบดีฯ และ ศิริราชมูลนิธิจัดละครเวทีรอบการกุศล ฟ้าจรดทราย เดอะ มิวสิคัล เพื่อสมทบทุนปรับปรุงห้องเรียนและห้องปฏิบัติการนักศึกษาแพทย์

       วันอังคารที่ 3 ธันวาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ มูลนิธิรามาธิบดีฯ และ ศิริราชมูลนิธิ จัดละครเวทีรอบการกุศล ฟ้าจรดทราย เดอะ มิวสิคัล ณ เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ ซึ่งจะนำรายได้ที่มาจากการขายบัตรและการบริจาคเพิ่มเติม ไปใช้เพื่อสมทบทุนปรับปรุงห้องเรียนและห้องปฏิบัติการนักศึกษาแพทย์ที่เสียหายจากอัคคีภัย และปรับปรุงระบบเตือนอัคคีภัยในตัวอาคาร      ละครเวที ฟ้าจรดทราย เดอะ มิวสิคัล รอบการกุศลครั้งนี้ ยังได้รับการสนับสนุนโดยหน่วยงานภาคเอกชน ได้แก่ บริษัท อินเตอร์ คร็อพ จำกัด สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด บริษัท รัตนาแอ็พแพเร็ล แคร์ จำกัดบริษัท ไมตรีจิต 888 จำกัด และผู้สนับสนุนในนามบุคคล อาทิ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิรวิทย์ สิตปรีชา, คุณกิ่งทอง ใบหยก กรรมการบริหาร กลุ่มโรงแรมใบหยก, คุณศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม และนายแพทย์สมพงษ์ นาคพินิจ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ มูลนิธิรามาธิบดีฯ และ ศิริราชมูลนิธิจัดละครเวทีรอบการกุศล ฟ้าจรดทราย เดอะ มิวสิคัล เพื่อสมทบทุนปรับปรุงห้องเรียนและห้องปฏิบัติการนักศึกษาแพทย์ Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร พิธีเจริญพระพุทธมนต์ และพิธีถวายราชสดุดีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

       2 ธันวาคม 2567 ผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณะ และสถาบันต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย รวมถึง คณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและศาลายา และ อาจารย์ ดร.นิศามณี เจริญชนม์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษานานาชาติ พร้อมด้วย คณาจารย์ และ บุคลากรงานศาลายา ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร พิธีเจริญพระพุทธมนต์ และพิธีถวายราชสดุดีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2567 โดยได้มีการร่วมทำบุญตักบาตร พระสงฆ์ จำนวน 30 รูป บริเวณด้านหน้าอาคารสำนักงานอธิการบดี ต่อด้วยพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และพิธีถวายราชสดุดีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ ห้องบรรยาย ศ. นพ.กษาน จาติกวนิช สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร พิธีเจริญพระพุทธมนต์ และพิธีถวายราชสดุดีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายราชสดุดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ 5 ธันวาคม 2567

     วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยผู้บริหารคณาจารย์  ผู้ปฏิบัติงานและนักศึกษาได้จัดพิธีถวายราชสดุดี เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล       โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีเป็นประธานในพิธี ได้ถวายพวงมาลัยราชสักการะหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ กล่าวถวายราชสดุดี และร่วมขับร้องเพลง “ในหลวงของแผ่นดิน” ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ แม้ว่าพระองค์จะเสด็จสู่สวรรคาลัยไปแล้ว แต่พระองค์ยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงเป็นแบบอย่างในการทำความดี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชนชาวไทย อีกทั้งทรงมีคุณูปการต่อการพัฒนาประเทศไทยสืบมาจนถึงปัจจุบัน จึงได้ถือเอาวันสำคัญยิ่งนี้เป็นวันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษเขียนข่าวโดย: นายธีรเทพ แก้วมณีภาพข่าวโดย: นายนนท์นภัทร อินทร์สุพรรณ์เว็บมาสเตอร์: นายธีรเทพ แก้วมณีวันที่ 2 ธันวาคม 2567

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายราชสดุดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ 5 ธันวาคม 2567 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จัดกิจกรรม “Ramathibodi – Science Research: Vol. 1 – Infectious Disease Preparedness” พร้อมร่วมแลกเปลี่ยนการขอรับทุนวิจัยร่วมกัน

       29 พฤศจิกายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จัดกิจกรรม “Ramathibodi – Science Research: Vol. 1 – Infectious Disease Preparedness” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนการขอรับทุนวิจัยร่วมกัน รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการวิจัยระหว่างคณาจารย์ นักวิจัยของ คณะวิทยาศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาในด้านของความร่วมมือเพื่อการพัฒนางานวิจัยทางด้านโรคติดเชื้อร่วมกันต่อไป ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท        ซึ่งภายในงานได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะวิทยาศาสตร์ และ ศาสตราจารย์นายแพทย์สุรเดช หงส์อิง รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นผู้กล่าวต้อนรับและกล่าวปิดกิจกรรม พร้อมมอบของที่ระลึกและถ่ายภาพร่วมกันกับคณาจารย์ นักวิจัย โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะวิทยาศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จัดกิจกรรม “Ramathibodi – Science Research: Vol. 1 – Infectious Disease Preparedness” พร้อมร่วมแลกเปลี่ยนการขอรับทุนวิจัยร่วมกัน Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ ธนาคารจิตอาสา โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรมเดือนการฟังแห่งชาติ National Month of Listening ในหัวข้อ “DIY Happiness ฟังสร้างสุขให้ตนเอง” และกิจกรรม “เพื่อนรับฟัง”

       27 พฤศจิกายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ธนาคารจิตอาสา โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรม เดือนการฟังแห่งชาติ National Month of Listening (NMoL) ภายใต้ Listenian Class ในหัวข้อเรื่อง “DIY Happiness ฟังสร้างสุขให้ตนเอง” ผ่านรูปแบบการจัดคลาสเกี่ยวกับการเรียนรู้ทักษะการฟังด้วยใจ เพื่อเพิ่มทักษะการฟังเสียงตัวเองและคนรอบข้างให้ชัด สร้างความสัมพันธ์ที่ดี ผ่านการมาเวิร์กชอปเรียนรู้การฟังด้วยหัวใจ ตั้งแต่ทักษะการฟังพื้นฐาน, ฟังต่างวัย, ฟังความเห็นต่างหรือฟังในกลุ่มหัวอกเดียวกันอย่างพ่อแม่, วัยเรียนหรือคนทำงาน และอีกมากมาย เพื่อนำไปสู่การสะท้อนความคิดเห็น ความรู้สึกและความเข้าใจ จนนำไปสู่การใช้ชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ให้กับบุคลากรและนักศึกษา โดยภายในกิจกรรมได้รับเกียรติจาก อาจารย์วิเศษ บำรุงวงศ์ นักจัดกระบวนการ ธนาคารจิตอาสา และ คุณสมจินตนา เปรมปราชญ์ มาร่วมเป็นวิทยากรดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ ธนาคารจิตอาสา โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรมเดือนการฟังแห่งชาติ National Month of Listening ในหัวข้อ “DIY Happiness ฟังสร้างสุขให้ตนเอง” และกิจกรรม “เพื่อนรับฟัง” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก Universitas Diponegoro ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพระหว่างสองสถาบัน พร้อมหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทางการศึกษาและการวิจัยร่วมกันในอนาคต

     วันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ พร้อมด้วยคณาจารย์ประจำจากภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ รองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญารัตน์ พงศ์ทรางกูร รองศาสตราจารย์ ดร.จิรารัตน์ วงศ์คงคาเทพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัศศรณ์ ปัญญาสุข ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสา ปฏิการมณฑล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บังอรศิริ อินตรา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ชัยจรัสพงษ์ ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก Biotechnology Study Program, Faculty of Science and Mathematics, Universitas Diponegoro (UNDIP) ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประกอบด้วย Dr. rer. Nat. Anto Budiharjo, M.Biotech Professor Dr. Endang

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก Universitas Diponegoro ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพระหว่างสองสถาบัน พร้อมหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทางการศึกษาและการวิจัยร่วมกันในอนาคต Read More »

งานความร่วมมือระหว่างประเทศ คณะวิทย์ มหิดล จัดกิจกรรม “Mahidol Science KM: Work Permit” แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชนนักปฏิบัติกับการดำเนินการขอรับใบอนุญาตทำงานชาวต่างชาติ

       วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ และงานความร่วมมือระหว่างประเทศ จัดกิจกรรม “Mahidol Science KM: Work Permit” ณ ห้องประชุม MUSES401 อาคาร MUSES คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เพื่อสร้างโอกาสการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เปิดพื้นที่แบ่งปันประสบการณ์ ถอดบทเรียน อภิปรายปัญหา อุปสรรค และความท้าทายในการดำเนินงานเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตทำงานให้บุคลากรชาวต่างชาติที่เข้ามาปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยมหิดล        โดยมีบุคลากรทางด้านวิเทศสัมพันธ์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการชาวต่างชาติจากมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตพญาไท เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 30 คน จากคณะวิทยาศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยกิจกรรมการจัดการความรู้ในครั้งนี้ (Knowledge Management: KM) มีนายเสฏฐวุฒิ แก้ววิเศษ นักวิเทศสัมพันธ์

งานความร่วมมือระหว่างประเทศ คณะวิทย์ มหิดล จัดกิจกรรม “Mahidol Science KM: Work Permit” แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชนนักปฏิบัติกับการดำเนินการขอรับใบอนุญาตทำงานชาวต่างชาติ Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ ธนาคารจิตอาสา โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรมเดือนการฟังแห่งชาติ National Month of Listening (NMoL) ในหัวข้อเรื่อง Strengthen Your Relationships ฟังสร้างเสริมความสัมพันธ์

       20 พฤศจิกายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ธนาคารจิตอาสา โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรม เดือนการฟังแห่งชาติ National Month of Listening (NMoL) ในหัวข้อเรื่อง Strengthen Your Relationships ฟังสร้างเสริมความสัมพันธ์ เพื่อค้นหาศักยภาพในการฟัง รวมถึงพัฒนาทักษะการรับฟัง ผ่านการฝึกทักษะการฟังต่าง ๆ ด้วยการลงมือปฏิบัติทดลองและสะท้อนความคิดเห็น ความรู้สึกและความเข้าใจ เพื่อนำไปสู่การใช้ชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ให้กับบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลทุกท่าน ณ ห้องประชุมชั้น 3-301 อาคาร MUSES คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท        ซึ่งภายในกิจกรรมได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จงดี โตอิ้ม อาจารย์คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ คุณธชภัฒ วงศ์เกษม, Project Manager บริษัท

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ ธนาคารจิตอาสา โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรมเดือนการฟังแห่งชาติ National Month of Listening (NMoL) ในหัวข้อเรื่อง Strengthen Your Relationships ฟังสร้างเสริมความสัมพันธ์ Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมงานวันนิทรรศการวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2567 พร้อมร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อสังคม

      18 – 19 พฤศจิกายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.วิฑูร แสงศิริสุวรรณ รองคณบดี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูวิศ อมาตยกุล อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อธิคุณ สุวรรณขันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ และ  ดร.มนัส ศรีหริ่ง นักวิจัยศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง และหน่วยวิจัยวัสดุและออกแบบสำหรับอุปกรณ์การแพทย์และสุขภาพ เข้าร่วมงาน วันนิทรรศการวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2567 พร้อมร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อสังคม ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก        โดยในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 ได้มีการนำเสนอผลงานแก่ พลโท อุดม แก้วมหา ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และ พลเอก ไกรภพ ไชยพันธุ์ ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก พร้อมทั้งคณะผู้บังคับบัญชา นายทหารชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชการ รวมไปถึงนักเรียนนายร้อยที่เข้าชมนิทรรศการ  

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมงานวันนิทรรศการวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 2567 พร้อมร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อสังคม Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง คณะเทคนิคการแพทย์ ร่วมกับ บริษัท มีนำ ศาลายาวัน จำกัด เรื่อง การให้บริการทางเทคนิคการแพทย์เพื่อดูแลและสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก

       19 พฤศจิกายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้แทนคณบดี ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ บริษัท มีนำ ศาลายาวัน จำกัด เรื่อง การให้บริการทางเทคนิคการแพทย์เพื่อดูแลและสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก โดยได้มีการหารือแนวทางความร่วมมือเพื่อสนับสนุนพื้นที่ให้คณะเทคนิคการแพทย์ สำหรับใช้ในการจัดตั้งคลินิกเทคนิคการแพทย์เพื่อดูแลและสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก รวมถึงการบริหารงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ตามความเหมาะสมเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา และเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ในการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพการบริการทางการแพทย์และการมีสุขภาวะที่ดีของทุกคนในทุกช่วงวัย ณ โรงแรมศาลายาวัน อาคาร SALAYA ONE INNOVATION SPACE จังหวัด นครปฐม        ซึ่งภายในงานได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติรส พลับพลึง คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ เป็นผู้กล่าวต้อนรับ และรายงานวัตถุประสงค์การจัดทำข้อตกลงความร่วมมือ พร้อมด้วย คุณเดชา ตั้งสิน ประธานกรรมการ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง คณะเทคนิคการแพทย์ ร่วมกับ บริษัท มีนำ ศาลายาวัน จำกัด เรื่อง การให้บริการทางเทคนิคการแพทย์เพื่อดูแลและสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก Read More »

งานความร่วมมือระหว่างประเทศ คณะวิทย์ มหิดล จัดกิจกรรม “Mahidol Science Cultural Exchange: International Loy Krathong Day” ร่วมประดิษฐ์กระทงและเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีนานาชาติ

     วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 งานความร่วมมือระหว่างประเทศ คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับนักศึกษานานาชาติ นักวิจัยหลังปริญญาเอก และบุคลากรชาวต่างชาติ จัดกิจกรรม “Mahidol Science Cultural Exchange: International Loy Krathong Day” ณ ลานใต้ตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาและบุคลากรชาวต่างชาติรู้จักกับประเพณีลอยกระทงของประเทศไทย รวมถึงพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับประเพณีลอยกระทงในแต่ละประเทศ ผ่านกิจกรรมการประดิษฐ์กระทงนานาชาติ และการนำเสนอเกร็ดความรู้ทางวัฒนธรรมซึ่งมีลักษณะร่วมกับประเพณีลอยกระทง โดยมีอาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์เป็นผู้ดำเนินรายการร่วมกับเจ้าหน้าที่งานความร่วมมือระหว่างประเทศ      ในงานนี้ ผู้เข้าร่วมจากหลากหลายประเทศได้เพลิดเพลินกับการประดิษฐ์กระทงจากวัสดุธรรมชาติ โดยผสมผสานวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์เข้าไปในองค์ประกอบของกระทง กิจกรรมในช่วงเช้าได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการด้วยการกล่าวเปิดงานของ อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง ซึ่งมุ่งสื่อสารการสืบสานประเพณีลอยกระทงโดยตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากนั้น จึงเป็นช่วงเวลาที่ตัวแทนนักศึกษาจากประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมานำเสนอเกี่ยวกับเทศกาลแห่งแสงไฟ Thadingyut Festival และ Taunggyi Hot Air Balloon โดยทั้งสองเทศกาลมีความเชื่อมโยงกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนาและการปล่อยโคมลอยเช่นเดียวกับประเพณีลอยกระทง ต่อมา เป็นการนำเสนอเกี่ยวกับเครื่องบูชา Canang

งานความร่วมมือระหว่างประเทศ คณะวิทย์ มหิดล จัดกิจกรรม “Mahidol Science Cultural Exchange: International Loy Krathong Day” ร่วมประดิษฐ์กระทงและเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีนานาชาติ Read More »

หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง ภายใต้งานวิจัยและนวัตกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานครบรอบ 24 ปี แห่งการก่อตั้ง CENTEX SHRIMP

       14 พฤศจิกายน 2567 หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง ภายใต้งานวิจัยและนวัตกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานครบรอบ 24 ปี แห่งการก่อตั้ง CENTEX SHRIMP ภายใต้หัวข้อ Premier Science, Premium Aquaculture by CENTEX SHRIMP โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานของหน่วยวิจัยเพี่ยความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง พร้อมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริหาร บุคลากร และหน่วยงานความร่วมมือ อีกทั้งรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งและปลา เพื่อร่วมสร้างเครือข่ายวิจัยที่เข้มแข็ง ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งและปลา ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท        ซึ่งภายในงานได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เชาว์รีย์ อรรถลังรอง ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. เป็นประธานกล่าวเปิดงาน

หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง ภายใต้งานวิจัยและนวัตกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานครบรอบ 24 ปี แห่งการก่อตั้ง CENTEX SHRIMP Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมมหาวิทยาลัยเด็กประเทศไทย ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (TCUMU)” ตอน “มาสนุกกับเคมีกันเถอะ” ส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์

14 พฤศจิกายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานการศึกษาร่วมกับภาควิชาเคมี จัดกิจกรรมมหาวิทยาลัยเด็กประเทศไทย ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (TCUMU) ตอน “มาสนุกกับเคมีกันเถอะ” ส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียนโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นผู้พิการทางการได้ยิน จำนวนกว่า 40 คน ผ่านการสนุกกับการทดลองทางเคมีที่น่าตื่นตาตื่นใจ อาทิ เลเซอร์กับลูกโป่ง สีจากธรรมชาติ ความงามของเปลวเพลิง ขมิ้นเรืองแสง สารเรืองแสง เปลวไฟใน CO2 ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของวิทยากร รองศาสตราจารย์ ดร.เทียนทอง ทองพันชั่ง หัวหน้าภาควิชาเคมี และพี่เลี้ยงนักศึกษาภาควิชาเคมี โดยในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้กล่าวต้อนรับนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างอบอุ่น และมอบของที่ระลึกให้กับนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องปฏิบัติการอเนกประสงค์ MDL-2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ (ตึก K) ชั้น 2 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย เป็นโครงการที่ดำเนินการโดยเครือข่ายมหาวิทยาลัย

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมมหาวิทยาลัยเด็กประเทศไทย ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (TCUMU)” ตอน “มาสนุกกับเคมีกันเถอะ” ส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับผู้แทนจาก Winrock International Institute for Agricultural Development เพื่อจัดทำบันทึกความร่วมมือ(MOU) สร้างความร่วมมือทางการศึกษาและวิจัย

     11 พฤศจิกายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.วิฑูร แสงศิริสุวรรณ รองคณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิษุวัต สงนวล รักษาการหัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร.วัชระ จินตโกวิท ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตกาญจนบุรีด้านการศึกษา รวมทั้งคณาจารย์ ร่วมให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก Winrock International Institute for Agricultural Development นำโดย Mr.William Sparks ผู้อำนวยการโครงการ RAIN ณ ห้องประชุม K101 คณะวิทยาศาสตร์ อาคารเฉลิมพระเกียรติ  มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท      โดยในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.วิฑูร แสงศิริสุวรรณ รองคณบดี เป็นผู้แทนคณะวิทยาศาสตร์ และ Mr.William Sparks Chief of Party, USDA-thaiRAIN ร่วมลงนาม สำหรับการลงนามในบันทึกข้อตกลงนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือกันของทั้งสองหน่วยงานในการตรวจสอบนวัตกรรมภาคเกษตรกรรมที่ช่วยให้รับมือกับผลกระทบวิกฤตสภาพอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ มีแนวทางของการสร้างความยั่งยืน สนับสนุนให้เกษตรกรไทยใช้นวัตกรรมดังกล่าวในวงกว้าง ร่วมกันพัฒนาต่อยอดและขยายผลให้เกิดประโยชน์ต่อเครือข่ายนวัตกรรมด้านการเกษตรทั้งในและต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน เขียนข่าว : นายธีรเทพ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับผู้แทนจาก Winrock International Institute for Agricultural Development เพื่อจัดทำบันทึกความร่วมมือ(MOU) สร้างความร่วมมือทางการศึกษาและวิจัย Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมจัดแสดงโครงการวิจัยและอุปกรณ์ด้านชีววิทยาอวกาศของห้องปฏิบัตการ Plant Biology & Astrobotany ในงาน Thailand Space Week 2024 โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA)

     วันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2567 กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมฯ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมจัดแสดงโครงการวิจัยและอุปกรณ์ด้านชีววิทยาอวกาศของห้องปฏิบัตการ Plant Biology & Astrobotany ในงาน Thailand Space Week 2024 จัดโดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) ณ IMPACT Arena เมืองทองธานี      โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าด้านงานวิจัยด้านการเกษตรกรรมอวกาศที่ดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือกับองค์การอวกาศยุโรป (ESA) ภารกิจ HyperGES และโครงการร่วมกับองค์การอวกาศแห่งชาติจีน (CNSA) ซึ่งประสบความสำเร็จในการส่งตัวอย่างข้าวไทยขึ้นไปวิจัยในอวกาศด้วยดาวเทียมวิจัยรุ่นล่าสุดที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ของประเทศจีน ภายใต้ภารกิจ Shijian-19 โดยภายในงานได้นำเสนอชุดอุปกรณ์ที่พัฒนาร่วมกับ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (SLRI) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และได้ผ่านมาตรฐานของ ESA ให้ใช้งาน ณ ศูนย์วิจัย ESTEC องค์การอวกาศยุโรป (ESA) และตัวอย่างข้าวชุดที่ส่งไปวิจัยยังวงโคจรโลก      Thailand Space Week 2024 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 –

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมจัดแสดงโครงการวิจัยและอุปกรณ์ด้านชีววิทยาอวกาศของห้องปฏิบัตการ Plant Biology & Astrobotany ในงาน Thailand Space Week 2024 โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมงาน “UCD Reception on Enhancing Sustainable Ireland – Thailand Research Collaboration”

5 พฤศจิกายน 2567  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยอาจารย์ ดร. ระพี บุญเปลื้องรองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ อาจารย์ ดร.นิศามณี เจริญชนม์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษานานาชาติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมคิด อมรสมานกุล หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ รองศาสตราจารย์ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม รองศาสตราจารย์ ดร. สุรางค์ ชาญกำแหงเดชา อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา ดร.พงษ์ธรกาญจนศิรรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาพยาธิชีววิทยา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรา ฉันทโรจน์ศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี และ ดร.ณิชกานต์ สมัยนุกุล ผู้จัดการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา (ECDD) พร้อมด้วยนักวิเทศสัมพันธ์จากกองวิเทศสัมพันธ์ และจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมงานเลี้ยง“UCD Reception on Enhancing Sustainable Ireland – Thailand Research Collaboration” ณ ห้อง West Wing โรงแรมโอเรียนเต็ล

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมงาน “UCD Reception on Enhancing Sustainable Ireland – Thailand Research Collaboration” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลให้การต้อนรับ Universitas Gadjah Mada เพื่อประชุมหารือกระชับความสัมพันธ์และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวิชาการทั้งในการวิจัย การศึกษาและแลกเปลี่ยนนักศึกษาในอนาคต

     4 พฤศจิกายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร. กัณยารัตน์ สุไพบูลย์วัฒน รักษาการหัวหน้ากลุ่มสาขาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมคิด อมรสมานกุล หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ และรองศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี รักษาการหัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ให้การต้อนรับคณะจาก  Department of Agronomy, Faculty of Agriculture, Universitas Gadjah Mada ประเทศอินโดนีเซีย จำนวน 12 คน นำโดย Dr.Rani Agustina Wulandan, Head of Department of Agronomy เพื่อประชุมหารือกระชับความสัมพันธ์และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวิชาการทั้งในการวิจัย การศึกษาและแลกเปลี่ยนนักศึกษาในอนาคต ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท  

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลให้การต้อนรับ Universitas Gadjah Mada เพื่อประชุมหารือกระชับความสัมพันธ์และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวิชาการทั้งในการวิจัย การศึกษาและแลกเปลี่ยนนักศึกษาในอนาคต Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานแถลงข่าว “เดือนการฟังแห่งชาติ National Month of Listening (NMoL)” โครงการสัมพันธ์เชื่อมโยงชีวิต เพื่อพัฒนาจิตและสุขภาพ โดยธนาคารจิตอาสาและความสุขประเทศไทย

1 พฤศจิกายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูนทวี แซ่เตีย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาเป็นผู้แทนคณบดีร่วมเป็นเกียรติในงานแถลงข่าว “เดือนการฟังแห่งชาติ National Month of Listening (NMoL)” โครงการสัมพันธ์เชื่อมโยงชีวิต เพื่อพัฒนาจิตและสุขภาพ โดย ธนาคารจิตอาสาและความสุขประเทศไทย ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ ผู้อำนวยการร่วมธนาคารจิตอาสา กล่าวต้อนรับผู้ร่วมงานและแนะนำแคมเปญ “เดือนการฟังแห่งชาติ” ณ ห้อง 201 ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซอยงามดูพลี กรุงเทพฯ “National Month of Listening เดือนการฟังแห่งชาติ” เป็นแคมเปญที่เชิญชวนทุกคนฝึกการฟังด้วยหัวใจเพื่อความสัมพันธ์ที่ดี มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระแสสังคมให้รับรู้ประโยชน์ของทักษะการฟัง ซึ่งเป็นภูมิคุ้มใจจากความเหงาและความโดดเดี่ยว นำไปสู่การสัมพันธ์เชื่อมโยงและความเข้มแข็งทางใจของบุคคลและชุมชนทุกภาคส่วน จัดขึ้นภายใต้โครงการสัมพันธ์เชื่อมโยงชีวิต เพื่อพัฒนาจิตและสุขภาพ โดยความสุขประเทศไทยและธนาคารจิตอาสา ในการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กิจกรรมเดือนแห่งการฟังแห่งชาตินี้จะจัดขึ้นตลอดเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ซึ่งผู้ที่สนใจอยากเพิ่มทักษะการฟัง ยกศักยภาพให้ตัวเองมีความสัมพันธ์ที่ดี มีงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถมาร่วมเรียนรู้ใน Listenian

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานแถลงข่าว “เดือนการฟังแห่งชาติ National Month of Listening (NMoL)” โครงการสัมพันธ์เชื่อมโยงชีวิต เพื่อพัฒนาจิตและสุขภาพ โดยธนาคารจิตอาสาและความสุขประเทศไทย Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมหารือความร่วมมือกับคณะผู้แทนจาก Academia Sinica สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ณ ศูนย์วิจัยการแพทย์ศิริราช (SiMR) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

        30 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รศ. ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ดร.ระพี บุญเปลื้องรองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์  และ ผ.ศ. ดร.ศกลวรรณ คูหาอุดมลาภ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี เข้าร่วมหารือกับตัวแทนจากสถาบันวิจัยชั้นนำจากสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) Academia Sinica นำโดย Cheng-Chung Wang Research Fellow, Institute of Chemistry ซึ่งได้รับเกียรติจาก ศ. นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดงาน ณ ห้องประชุม 304-305 ชั้น 3 ศูนย์วิจัยการแพทย์ศิริราช (SiMR) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล         โดยแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมออกเป็น 3 กลุ่ม ตามประเด็นที่ผู้เข้าร่วมสนใจ ได้แก่ 1. Cancer, Diseace Biomarkers and Microbiota2. Modeling for Public Heath Issues (Air Pollution,

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมหารือความร่วมมือกับคณะผู้แทนจาก Academia Sinica สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ณ ศูนย์วิจัยการแพทย์ศิริราช (SiMR) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย, กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย จัดโครงการค่ายบ่มเพาะนักเทคโนโลยีชีวภาพรุ่นเยาว์ BIOTECH YOUTH CAMP (BYC2024)

ค่ายบ่มเพาะนักเทคโนโลยีชีวภาพรุ่นเยาว์ BIOTECH YOUTH CAMP (BYC2024) . ค่ายบ่มเพาะนักเทคโนโลยีชีวภาพรุ่นเยาว์ BIOTECH YOUTH CAMP (BYC2024) . ค่ายบ่มเพาะนักเทคโนโลยีชีวภาพรุ่นเยาว์ BIOTECH YOUTH CAMP (BYC2024) . ค่ายบ่มเพาะนักเทคโนโลยีชีวภาพรุ่นเยาว์ BIOTECH YOUTH CAMP (BYC2024) . ค่ายบ่มเพาะนักเทคโนโลยีชีวภาพรุ่นเยาว์ BIOTECH YOUTH CAMP (BYC2024) .        26 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย, กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย จัดโครงการ ค่ายบ่มเพาะนักเทคโนโลยีชีวภาพรุ่นเยาว์ BIOTECH YOUTH CAMP (BYC2024) เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพด้านการแพทย์และพันธุวิศวกรรมจุลินทรีย์ (Molecular Biotechnology and Microbiology)

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย, กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย จัดโครงการค่ายบ่มเพาะนักเทคโนโลยีชีวภาพรุ่นเยาว์ BIOTECH YOUTH CAMP (BYC2024) Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล พร้อมด้วย คณาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ร่วมให้การต้อนรับ สมาชิกกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ

       25 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี, อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์, รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสา ปฏิการมณฑล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายความยั่งยืนขององค์กร และคณาจารย์จากภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ชื่นจิตต์ บุญเฉิด นายกสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย, รองศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี หัวหน้าความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC), ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บังอรศิริ อินตรา จากหน่วยความร่วมมือการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพฯ, รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ประสานงานโครงการ SPACE-F, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา (ECDD) และ อาจารย์ ดร.สุทธิชัย บุญประสพ พร้อมทั้ง

คณะวิทย์ ม.มหิดล พร้อมด้วย คณาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ร่วมให้การต้อนรับ สมาชิกกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมให้การต้อนรับ คณะศึกษาดูงานจากห้องปฏิบัติการไบโอเซ็นเซอร์ทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการบริหารจัดการและส่วนต่าง ๆ

       25 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) ร่วมให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจาก ห้องปฎิบัติการไบโอเซ็นเซอร์ทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งนำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์สุรศักดิ์ สังขทัต ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และหัวหน้าห้องปฏิบัติการไบโอเซ็นเซอร์ทางการแพทย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการบริหารจัดการและส่วนต่างๆ ณ ห้องประชุม K101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท        โดยห้องปฏิบัติการไบโอเซ็นเซอร์ทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากโครงการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านชุดตรวจวินิจฉัย เพื่อดำเนินการในการสร้างเครือข่าย ห้องปฏิบัติการมาตรฐานเพื่อการผลิตต้นแบบชีวภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ภาคใต้ โดยมีเป้าหมายเพื่อเชื่อมโยง ห้องปฏิบัติการที่มีเป้าหมายคล้ายกันในการผลิตและออกแบบนวัตกรรมทางการแพทย์ซึ่งบูรณาการเทคโนโลยีชีวภาพ วิศวกรรมชีวการแพทย์ เภสัชศาสตร์ ฯลฯ เข้าด้วยกัน และมุ่งไปสู่การรับรองมาตรฐานและบูรณาการวิจัยร่วมกัน ซึ่งในการดำเนินการได้กำหนดแผนในการพัฒนาบุคลากรของเครือข่ายข้อหนึ่ง คือ การศึกษาดูงานและเรียนรู้จากความสำเร็จของห้องปฏิบัติการอื่นที่อยู่ภายใต้เครือข่ายศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (Center of Excellence on

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมให้การต้อนรับ คณะศึกษาดูงานจากห้องปฏิบัติการไบโอเซ็นเซอร์ทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการบริหารจัดการและส่วนต่าง ๆ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล หารือ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล พัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยและด้านการศึกษา

       วันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีศาสตราจารย์ ดร.วิฑูร แสงศิริสุวรรณ รองคณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและศาลายา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญ อารยะธนิตกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและกิจการนักศึกษา หารือความร่วมมือด้านการวิจัยและด้านการศึกษาร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งนำทีมโดย รศ.ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ และทีมผู้บริหาร ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล         โดยการหารือในครั้งนี้ ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมความเข้มแข็งทางด้านการวิจัย วิชาการ และการเรียนการสอนของทั้ง 2 ส่วนงาน อาทิ การสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือด้านกิจกรรมนักศึกษาทั้งหลักสูตรไทยและนานาชาติในทุกระดับชั้น แผนการผลักดันให้เกิดศูนย์กลางเรียนรู้ อาคารใหม่บริเวณกระทรวงต่างประเทศเพื่อเปิดเป็นพื้นที่ให้ทุกคณะโดยรอบได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งจะมีทั้งห้องประชุม ห้องพักสำหรับอาจารย์ที่มาเยี่ยมเยือน หรือพื้นที่อ่านหนังสือสำหรับนักศึกษาเป็นต้น และแผนการปรับปรุงห้องสมุดสตางค์ให้เกิดเป็น Co-working space รองรับบุคลากรบริเวณรอบเขตพญาไท ในด้านการวิจัยรองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีได้กล่าวถึงการใช้งานศูนย์ต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น ศูนย์สัตว์ทดลองที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลจาก AAALAC และศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล หารือ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล พัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยและด้านการศึกษา Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกิจกรรม Mahidol Town Hall: 103A Journey to Real World Impact เพื่อเสริมสร้างการรับรู้ และเข้าใจทิศทางนโยบายการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

       21 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี และ อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ ร่วมกิจกรรม Mahidol Town Hall: 103A Journey to Real World Impact เพื่อเสริมสร้างการรับรู้ และเข้าใจทิศทางนโยบายการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันตามยุทธศาสตร์และเป้าหมายการบริหารมหาวิทยาลัยหิดล อีกทั้งเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรและผู้บริหารมหาวิทยาลัย และเปิดโอกาสให้บุคลากรได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิด ในการบริหารและดำเนินงานภายในมหาวิทยาลัยของคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยมหิดลวาระใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธาน ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา       ซึ่งภายในงานได้มีการชี้แจงเกี่ยวกับความก้าวหน้าของทิศทางการบริหาร และเป้าหมายการบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหิดล ในตลอดระยะเวลา 103 วัน ที่ผ่านมา โดยนับจากกิจกรรม Mahidol Town Hall

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกิจกรรม Mahidol Town Hall: 103A Journey to Real World Impact เพื่อเสริมสร้างการรับรู้ และเข้าใจทิศทางนโยบายการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมให้การต้อนรับผู้บริหาร บุคลากร จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมและหารือเพื่อขยายความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการเพิ่มเติม

       15 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม, รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรทิพา กอประเสริฐถาวร รองคณบดีฝ่ายคลังและพัสดุ และ อาจารย์ ดร.ธน เตชะเลิศไพศาล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสารสนเทศ พร้อมทั้งหัวหน้าหน่วยงานประจำสำนักงานคณบดี และบุคลากรสายสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ งานวิจัยและนวัตกรรม, งานนวัตกรรมการศึกษาและหลักสูตรนานาชาติ, งานคลังและพัสดุ และงานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ร่วมให้การต้อนรับผู้บริหาร บุคลากร จาก คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมคณะวิทยาศาสตร์ และหารือเพื่อขยายความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการเพิ่มเติม ณ ห้องประชุม K101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท        โดยทาง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.นพพล

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมให้การต้อนรับผู้บริหาร บุคลากร จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมและหารือเพื่อขยายความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการเพิ่มเติม Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือด้านวิจัย ในเรื่อง MUSC-SCGC Sustainability Workshop: Green Energy and Energy Storage

       11 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือด้านวิจัย ภายใต้กิจกรรม Mahidol Science Research Forum ในหัวข้อเรื่อง “MUSC-SCGC Sustainability Workshop: Green Energy and Energy Storage” เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และอัปเดตแนวโน้มล่าสุดด้านพลังงานสะอาดและการกักเก็บพลังงาน จากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมพลังงานสีเขียว พร้อมร่วมแบ่งปันความรู้ ความคิดเห็น และร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาโครงการที่สามารถทำได้จริงด้วยความร่วมมือระหว่างนักวิจัยกับภาคีจากภาคเอกชน เพื่อขับเคลื่อนอนาคตที่ยั่งยืนของพลังงานไฟฟ้าและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการเตรียมพร้อมสู่การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานกับเทคโนโลยีล้ำสมัยที่จะพลิกโฉมโลกในยุคใหม่ ซึ่งมี รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และ คุณพรชัย แสงรุ่งศรี ผู้จัดการศูนย์ Ideas to Products (i2P) Center, SCGC ให้เกียรติร่วมเป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม โดยมี ดร.ทศพล คำแน่น, Senior

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือด้านวิจัย ในเรื่อง MUSC-SCGC Sustainability Workshop: Green Energy and Energy Storage Read More »