Biology

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการ “การทดสอบอัจฉริยภาพทางชีววิทยาระดับมัธยม ครั้งที่ 3 หรือ 3rd Bioism” เปิดโอกาสนักเรียน ม.ปลาย กว่า 1,900 คน ลงสนามทดสอบทักษะและความรู้ทางชีววิทยา

18 – 19 มกราคม 2568 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัด โครงการ “การทดสอบอัจฉริยภาพทางชีววิทยาระดับมัธยมศึกษา ครั้งที่ 3 หรือ 3rd Bioism” เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่สนใจทางด้านชีววิทยาได้มีโอกาสทดสอบทักษะความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับชีววิทยาทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ พร้อมรับคำแนะนำในการเตรียมตัวสมัครสอบเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยกับกิจกรรม “เคล็ด (ไม่) ลับการสมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัยระบบ TCAS และรับตรง” ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โครงการ “การทดสอบอัจฉริยภาพทางชีววิทยาระดับมัธยมปลาย หรือ Bioism” เป็นการทดสอบความรู้ด้านชีววิทยาสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3-6 โดยมีพื้นฐานจากหนังสือเรียน สสวท. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2566 เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนระดับมัธยมปลายที่สนใจทางด้านชีววิทยาได้มีโอกาสทดสอบทักษะความรู้ทางวิชาการ และเตรียมพร้อมสู่การแข่งขันเพื่อเข้าสู่มหาวิทยาลัย เปิดประสบการณ์การเรียนรู้ รวมถึงแนะนำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนั้นยังเป็นการฝึกทักษะการทำงานร่วมกันของนักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อีกด้วย ในปีนี้โครงการจัดขึ้นภายใต้แนวคิดขั้วโลกสุดหนาว โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง […]

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการ “การทดสอบอัจฉริยภาพทางชีววิทยาระดับมัธยม ครั้งที่ 3 หรือ 3rd Bioism” เปิดโอกาสนักเรียน ม.ปลาย กว่า 1,900 คน ลงสนามทดสอบทักษะและความรู้ทางชีววิทยา Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ต้อนรับผู้แทนจาก Universitas Andalas พร้อมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ

4 กรกฎาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี และ อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.สุรางค์ ชาญกำแหงเดชา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตินันท์ สำราญวานิช อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา ให้การต้อนรับ Assistant Professor Dr. Rita Maliza ผู้แทนจาก Universitas Andalas สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ในโอกาสเยือนประเทศไทย เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับความร่วมมือในการวิจัยและวิชาการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Enhancing Quality Education for International University Recognition (EQUITY) ของกระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรม การวิจัยและเทคโนโลยี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่มหาวิทยาลัยระดับโลก  พร้อมกับเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง (Center of Excellence

คณะวิทย์ ม.มหิดล ต้อนรับผู้แทนจาก Universitas Andalas พร้อมหารือความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “Plant Omics for a resilient and sustainable planet”

12 ธันวาคม 2566  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเกียรติจาก Dr. Ting-Ying Wu จาก Institute of Plant and Microbial Biology, Academia Sinica ของไต้หวัน Dr. MIng-Jung Liu จาก Agricultural Biotechnology Research Center,  Academia Sinica ของไต้หวัน รศ. ดร.วโรดม เจริญสวรรค์ จากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล และอ. ดร.เนติยา การะเกตุ จากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ร่วมบรรยายพิเศษ ในกิจกรรม Mahidol Science Research Forum หัวข้อเรื่อง Plant Omics for a resilient and

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษ Mahidol Science Research Forum “Plant Omics for a resilient and sustainable planet” Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมขบวน The Principia และภาคีเครือข่ายนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศไทย จัดกิจกรรมในงาน Science Communication Festival 2023

26-27 สิงหาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมขบวน The Principia และภาคีเครือข่ายนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศไทย จัดกิจกรรมในงาน Science Communication Festival 2023 พาชาวกรุงเทพมหานครเปิดโลกวิทยาศาสตร์ภายใต้ธีม “Science and Art: ศาสตร์และศิลป์” ณ อาคารพิพิธภัณฑ์สวนป่าเบญจกิติ (โรงงานผลิตยาสูบ 5) สวนเบญจกิติ กรุงเทพมหานครงาน Science Communication Festival 2023 จัดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยรวมเอาอาจารย์มหาวิทยาลัย พิธีกรรายการทีวี นักเขียน นักแปล นักวาด นักพัฒนาบอร์ดเกม คนเลี้ยงงู เพจสื่อสารวิทยาศาสตร์ชื่อดัง อินฟลูเอนเซอร์สายวิทยาศาสตร์มาร่วมแสดงผลงาน จัดกิจกรรม workshop การสื่อสารวิทยาศาสตร์ สำรวจสิ่งมีชีวิตในสวน เสวนาแชร์หลากหลายเรื่องราวของชาวนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ พร้อมยกบอร์ดเกมวิทยาศาสตร์มาให้ร่วมสนุกตลอดสุดสัปดาห์ โดยมีกรุงเทพมหานคร

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมขบวน The Principia และภาคีเครือข่ายนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศไทย จัดกิจกรรมในงาน Science Communication Festival 2023 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ลงนาม MOU สานต่อความร่วมมือด้านวิชาการกับสวนพฤกษศาสตร์เขตร้อนสิบสองปันนา และสถาบันวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดินหน้าวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

25 กรกฎาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) สานต่อความร่วมมือด้านวิชาการและการศึกษากับสวนพฤกษศาสตร์เขตร้อนสิบสองปันนา (Xishuangbanna Tropical Botanical Garden: XTBG) และสถาบันวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Biodiversity Research Institute: SEABRI) ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เดินหน้าวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในโอกาสนี้ ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชีรา วิบูลย์จันทร์ หัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลิตา คงฤทธิ์ รองหัวหน้าภาควิชาชีววิทยา และคณาจารย์

คณะวิทย์ ม.มหิดล ลงนาม MOU สานต่อความร่วมมือด้านวิชาการกับสวนพฤกษศาสตร์เขตร้อนสิบสองปันนา และสถาบันวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดินหน้าวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม Read More »

Activity photo

13 คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับประกาศนียบัตรการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับที่ 2

13 มกราคม 2566 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล มอบประกาศนียบัตรแก่คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดลผู้ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพอาจารย์ตามกรอบ UKPSF ประเภท Senior Fellow และผู้ผ่านการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรเนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวรายงาน ณ ศูนย์ประชุมมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาโดยในครั้งนี้มีคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ 13 ท่าน ได้รับประกาศนียบัตรผู้ผ่านการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดลระดับที่ 2 ได้แก่ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.เทียนทอง ทองพันชั่ง, อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี2. รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา, อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์3. รองศาสตราจารย์ ดร.ดนยา ปโกฏิประภา, อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรทิพา กอประเสริฐถาวร, อาจารย์ประจำเภสัชวิทยา5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อินทนนท์ กลศาสตร์เสนี, อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อลิสา ดำเนินสวัสดิ์, อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา7.

13 คณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับประกาศนียบัตรการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับที่ 2 Read More »

Activity photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมให้ความรู้และฝึกอบรมเกี่ยวกับการจับสัตว์เลื้อยคลาน (งู) “ทำอย่างไรเมื่องูเข้าบ้าน รู้เท่าทันอสรพิษเพื่อความปลอดภัย” สร้างการรับรู้ที่ถูกต้องเมื่อต้องเผชิญหน้ากับงู

9 พฤศจิกายน 2565 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมให้ความรู้และฝึกอบรมเกี่ยวกับการจับสัตว์เลื้อยคลาน “ทำอย่างไรเมื่องูเข้าบ้าน รู้เท่าทันอสรพิษเพื่อความปลอดภัย” เพื่อให้บุคลากร นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) รายวิชา SCBE 392 Herpetology และนักศึกษาหลักสูตรอื่น ๆ ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับงูจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญ รู้จักงูทั้งแบบมีพิษและไม่มีพิษ รวมถึงฝึกใช้อุปกรณ์เพื่อรับมือและจัดการเมื่อต้องเผชิญหน้ากับงู ไปจนถึงฝึกปฏิบัติวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธีเมื่อถูกงูกัด โดยได้รับเกียรติจาก จ่าสิบตํารวจภิญโญ พุกภิญโญ และทีมวิทยากรและผู้ฝึกสอนจาก Youtube Channel: Snake Wrangler by Pinyo หน่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางเขน และ อาจารย์ ดร.นภัทร รัตน์นราทร อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยทีมวิทยากรได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้สัมผัสกับงู และรู้จักงูชนิดต่าง ๆ ทั้งมีพิษ และไม่มีพิษ ที่มักจะชอบเข้ามาหรืออยู่ใกล้ชิดกับบ้านเรือนและชุมชนซึ่งเราสามารถพบเจอได้บ่อย ก่อนแนะนำวิธีการรับมือและจัดการเมื่อต้องเผชิญหน้ากับงู สาธิตการรับมือเมื่องูเข้าบ้าน และวิธีป้องกันงูเข้าบ้านตามความเชื่อที่สามารถใช้ได้จริง เพื่อลดการสูญเสียชีวิตของทั้งเราและงู พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทดลองปฏิบัติจริง โดยมีทีมวิทยากรดูแลอย่างใกล้ชิด จากนั้นจึงให้ความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัดที่ถูกต้อง และข้อห้ามต่าง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมให้ความรู้และฝึกอบรมเกี่ยวกับการจับสัตว์เลื้อยคลาน (งู) “ทำอย่างไรเมื่องูเข้าบ้าน รู้เท่าทันอสรพิษเพื่อความปลอดภัย” สร้างการรับรู้ที่ถูกต้องเมื่อต้องเผชิญหน้ากับงู Read More »