Bioinnovation

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ GISTDA ส่งเมล็ดข้าวสู่อวกาศไปกับดาวเทียมวิจัย Shijian-19 ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ทดสอบการเติบโตของข้าวในสภาพแวดล้อมรุนแรง เตรียมความพร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจอวกาศ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ GISTDA ร่วมภารกิจการทดลองด้านชีววิทยาอวกาศภายใต้สภาวะไร้แรงโน้มถ่วงและรังสีคอสมิก ส่งเมล็ดข้าวขึ้นสู่อวกาศกับดาวเทียมวิจัย Shijian-19 (Recoverable Satellite) ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง เพื่อทดลองการเจริญเติบโตภายใต้สภาวะไร้แรงโน้มถ่วงและสัมผัสกับรังสีคอสมิก อาจารย์ ดร.ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์ อาจารย์และหัวหน้าห้องปฏิบัติการ Plant Biology & Astrobotany (PBA lab) กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับทีม GISTDA ดำเนินโครงการ “Multi-omics analysis of Germinating Rice Seedlings Under Extreme Environmental Conditions” ซึ่งได้รับการเห็นชอบให้เข้าร่วมภารกิจ Shijian-19 (Recoverable Satellite) จากองค์การอวกาศแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน (China National Space Administration, CNSA) ส่งตัวอย่างเมล็ดข้าว จำนวน 35 หลอด ขึ้นสู่อวกาศพร้อมกับภารกิจ Shijian-19 ด้วยจรวดขับเคลื่อน […]

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ GISTDA ส่งเมล็ดข้าวสู่อวกาศไปกับดาวเทียมวิจัย Shijian-19 ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ทดสอบการเติบโตของข้าวในสภาพแวดล้อมรุนแรง เตรียมความพร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจอวกาศ Read More »

Activity Photo

ศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อสะเต็มศึกษา คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับโรงเรียนชลประทานวิทยา เครือข่าย MUSC School Network สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทานในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมนักอุทกวิทยาไทย จัดการแข่งขันประกวดโครงงานสะเต็ม 2567 Thailand STEM Project Competition 2024 : Water and Water Management for Creative Learning and Sustainable Development

31 สิงหาคม 2567 ศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อสะเต็มศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับโรงเรียนชลประทานวิทยา โรงเรียนในเครือข่าย MUSC School Network มหาวิทยาลัยในโครงการ EURO-ASIA COLLABORATION FOR ENHANCING STEM EDUCATION สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทานในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมนักอุทกวิทยาไทย จัดการแข่งขันประกวดโครงงานสะเต็ม 2567 ในหัวข้อ “น้ำและการจัดการน้ำเพื่อการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์และการพัฒนาที่ยั่งยืน Thailand STEM Project Competition 2024 : Water and Water Management for Creative Learning and Sustainable Development” สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อสร้างความตระหนัก ปลูกฝังจิตสำนึกต่อเยาวชนและสังคมเกี่ยวกับน้ำและการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ณ หอประชุมชูชาติ กำภู 60 ปี ชลประทานวิทยา ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณพงษ์ เตรียมโพธิ์ ประธานศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อสะเต็มศึกษา

ศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อสะเต็มศึกษา คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับโรงเรียนชลประทานวิทยา เครือข่าย MUSC School Network สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทานในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมนักอุทกวิทยาไทย จัดการแข่งขันประกวดโครงงานสะเต็ม 2567 Thailand STEM Project Competition 2024 : Water and Water Management for Creative Learning and Sustainable Development Read More »

กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ สถาบันอาหารและภาคเอกชน หารือแนวทางความร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนา ภายใต้โครงการพัฒนาธุรกิจฐานนวัตกรรม (IDEs) ด้านอาหารจากพืช ปี 2566

       7 มิถุนายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม, รองศาสตราจารย์ ดร.กัณยารัตน์ สุไพบูลย์วัฒน หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ และ รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ ประธานหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาชีวนวัตกรรม (หลักสูตรนานาชาติ) พร้อมทั้งคณะผู้ทำงาน ได้ร่วมกันต้อนรับ ผู้บริหารและคณะผู้เยี่ยมชมจากสถาบันอาหารและภาคเอกชน เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนา ภายใต้ โครงการพัฒนาธุรกิจฐานนวัตกรรม (IDEs) ด้านอาหารจากพืช ปี 2566 ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท        คุณนิตยา พิระภัทรุ่งสุริยา ที่ปรึกษาสถาบันอาหาร ได้มีการอธิบายเกี่ยวกับโครงการพัฒนาธุรกิจฐานนวัตกรรม (IDEs) ด้านอาหารจากพืช ซึ่งเป็นโครงการภายใต้แผนงาน F7 (S1P8) พัฒนาและส่งเสริมให้ประเทศเพิ่มธุรกิจฐานนวัตกรรม (IDEs :

กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ สถาบันอาหารและภาคเอกชน หารือแนวทางความร่วมมือด้านวิจัยและพัฒนา ภายใต้โครงการพัฒนาธุรกิจฐานนวัตกรรม (IDEs) ด้านอาหารจากพืช ปี 2566 Read More »

Activity Photo

ทีมนักวิจัยคณะวิทย์ ม.มหิดล – สวทช. เตรียมบินลัดฟ้าทดสอบการตอบสนองของ ‘ไข่น้ำ’ พืชดอกที่เล็กที่สุดในโลกภายใต้สภาวะแรงโน้มถ่วงสูง ภายใต้โครงการ HyperGES ของ UNOOSA และ ESA ณ ประเทศเนเธอแลนด์

ทีมนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ สวทช. ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากองค์การอวกาศยุโรป (ESA) และสำนักกิจการอวกาศแห่งองค์การสหประชาชาติ (UNOOSA) ในหัวข้อ “Watermeal, the Future Food Source for Space Exploration” เตรียมเดินทางไปทำวิจัยทดสอบการตอบสนองของ ‘ไข่น้ำ’ พืชดอกที่เล็กที่สุดในโลกภายใต้สภาวะแรงโน้มถ่วงสูง ที่ The European Space Research and Technology Centre (ESTEC) ภายใต้ โครงการ HyperGES ณ ราชอาณาจักรเนเธอแลนด์ ระหว่างวันที่ 17-30 กันยายน 2566สมาชิกทีมประกอบด้วย อาจารย์ ดร.ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการ Plant Biology & Astrobotany กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ คณะวิทยาศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ ดร.สุชีวิน กรอบทอง นักวิจัยหลังปริญญาเอก นายยอดยิ่ง ยิ่งชูตระกูล สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ทีมนักวิจัยคณะวิทย์ ม.มหิดล – สวทช. เตรียมบินลัดฟ้าทดสอบการตอบสนองของ ‘ไข่น้ำ’ พืชดอกที่เล็กที่สุดในโลกภายใต้สภาวะแรงโน้มถ่วงสูง ภายใต้โครงการ HyperGES ของ UNOOSA และ ESA ณ ประเทศเนเธอแลนด์ Read More »

Activity Photo

กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ ยกทีมอาจารย์-นักศึกษาเยี่ยมชมโครงการ SPACE-F ผ่านกิจกรรม Knowing Startup Business จุดประกายความคิดเชิงนวัตกรรม ต่อยอดงานวิจัยสู่การทำ Startup

20 กรกฎาคม 2566 กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.กัณยารัตน์ สุไพบูลย์วัฒน หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชา พร้อมด้วยนักศึกษาระดับปริญญาตรี รวมกว่า 23 คน เยี่ยมชมโครงการ SPACE-F ผ่านกิจกรรม Knowing Startup Business ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 โดยพานักศึกษาไปสำรวจโลกของ Startup สร้างแรงบันดาลใจในการเริ่มสร้างธุรกิจด้วยการต่อยอดองค์ความรู้ในสาขาชีวนวัตกรรมซึ่งครอบคลุมด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีอาหาร เทคโนโลยีทางการแพทย์และความงาม สู่นวัตกรรมที่ยั่งยืน ณ SPACE-F ชั้น 6 อาคารชีววิทยาใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไทกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ช่วยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และคุณอนุสรา จิตราธนวัฒน์ Government Affair จากบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ในการต้อนรับอาจารย์และนักศึกษาอย่างเป็นกันเอง พร้อมแนะนำโครงการ SPACE-F ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบนิเวศที่ส่งเสริมศักยภาพการเติบโตและการแข่งขันของ FoodTech Startup

กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ ยกทีมอาจารย์-นักศึกษาเยี่ยมชมโครงการ SPACE-F ผ่านกิจกรรม Knowing Startup Business จุดประกายความคิดเชิงนวัตกรรม ต่อยอดงานวิจัยสู่การทำ Startup Read More »

Activity Photo

ภาควิชาจุลชีววิทยา และกลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรม คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ บริษัทเมอร์ค ประเทศไทย จัดอบรม ‘From Fundamental to Advanced Technologies in Cell Culture Techniques and Applications’ เสริมทักษะเพาะเลี้ยงเซลล์เพื่องานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ

29 มีนาคม ภาควิชาจุลชีววิทยา และกลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ บริษัทเมอร์ค ประเทศไทย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์สำหรับนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ‘From Fundamental to Advanced Technologies in Cell Culture Techniques and Applications’ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Cell Culture Meet Thailand 2023 ณ ห้องปฏิบัติการอเนกประสงค์ MDL1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งนอกเหนือจากการอบรมแล้วยังมีการแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรมของเมอร์คและให้ความรู้แก่นักศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคการเพาะเลี้ยงเซลล์ขั้นพื้นฐานจากคณาจารย์ของคณะวิทยาศาสตร์ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้กล่าวเปิดการอบรมโดย เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเพาะเลี้ยงเซลล์ ที่เป็นส่วนสำคัญของการพัฒนางานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการของคณะวิทยาศาสตร์กับหน่วยงานอื่น มุ่งหวังให้ความรู้วิทยาศาสตร์แก่นักศึกษาและผู้ที่สนใจ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิทธิวุฒิ เจริญสุทธิวรากุล ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรมในการอบรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัมพา

ภาควิชาจุลชีววิทยา และกลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรม คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ บริษัทเมอร์ค ประเทศไทย จัดอบรม ‘From Fundamental to Advanced Technologies in Cell Culture Techniques and Applications’ เสริมทักษะเพาะเลี้ยงเซลล์เพื่องานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ Read More »