กิจกรรม

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมแนะนำหลักสูตร การเตรียมความพร้อมและเทคนิค การรับสมัคร การสัมภาษณ์ของหลักสูตรปริญญาตรีไทยและนานาชาติ และโครงการโควตานักเรียน ปีการศึกษา 2565

วันพุธที่ 7 กันยายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จัดกิจกรรมแนะนำหลักสูตร การเตรียมความพร้อมและเทคนิค การรับสมัคร การสัมภาษณ์ของหลักสูตรปริญญาตรีไทยและนานาชาติ และโครงการโควตานักเรียน ปีการศึกษา 2565 ซึ่งกิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจในหลักสูตรและเปิดโอกาสให้ครูแนะแนวและบุคลากรทางการแนะแนวได้เยี่ยมชมคณะวิทยาศาสตร์ ดูนิทรรศการ พร้อมทั้งฟังบรรยายหลักสูตรปริญญาตรีไทย ซึ่งประกอบไปด้วย ภาควิชาคณิตศาสตร์ ภาควิชาเคมี ภาควิชาชีววิทยา ภาควิชาฟิสิกส์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ และภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ  และหลักสูตรระดับปริญญาตรีนานาชาติและ Dual Degree International Programs ประกอบไปด้วย คณิตศาสตร์ประกันภัย คณิตศาสตร์อุตสาหการและวิทยาการข้อมูล วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ ทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม วัสดุศาสตร์และวิศกรรมนาโน และชีวนวัตกรรม ซึ่งทั้งสองหลักสูตรได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมทางการแนะแนวที่มาจากหลากหลายโรงเรียนเป็นอย่างยิ่ง โดยการบรรยายแบ่งออกเป็น 2 ภาษา ได้แก่ภาษาไทยและบรรยายภาษาอังกฤษ ผู้เข้าร่วมสามารถเลือกเข้าฟังได้ตามความสนใจ  ก่อนพาเข้าเยี่ยมชมพื้นที่อาคาร ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ห้อง STEM ห้อง Digital Bioscience Laboratory ห้อง Anatomy Museum และห้อง […]

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมแนะนำหลักสูตร การเตรียมความพร้อมและเทคนิค การรับสมัคร การสัมภาษณ์ของหลักสูตรปริญญาตรีไทยและนานาชาติ และโครงการโควตานักเรียน ปีการศึกษา 2565 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดแสดงหุ่นละครเล็ก กลุ่มเยาวชนวายุบุตร ตลาดน้ำคลองบางหลวง สืบทอดภูมิปัญญาเก่าแก่อันทรงคุณค่า

17 สิงหาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดแสดงหุ่นละครเล็กจากกลุ่มเยาวชนวายุบุตร ณ อาคารสตางค์ มงคลสุข เพื่อสนับสนุนและสืบทอดภูมิปัญญาเก่าแก่อันทรงคุณค่า ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ กล่าวเปิดการแสดง วัตถุประสงค์ของการจัดแสดงเพื่อให้นักศึกษาต่างชาติได้แลกเปลี่ยนความรู้ มีปฏิสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยมหิดลในทุกมิติ ซึ่งรวมถึงด้านภาษาและวัฒนธรรม หุ่นละครเล็ก มหรสพไทย ถือกำเนิดในสมัยรัชกาลที่ 4 พัฒนามาจากการแสดงละครหุ่นหลวง การเชิดหนังใหญ่ และโขน รวมศาสตร์ศิลปะแขนงต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว เป็นหนึ่งในศิลปะที่ครั้งหนึ่งเกือบหายสาบสูญไปกับกาลเวลา แต่ด้วยความมุ่งมั่นของนักแสดงหุ่นละครเล็ก ทำให้จำนวนคณะแสดงหุ่นละครเล็กค่อย ๆ เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างช้า ๆ และกลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง คุณศราวุธ จันทรวรรณมานหรือครูบอล และสมาชิกกลุ่มวายุบุตรให้ความรู้เบื้องต้นก่อนการแสดง เช่น สาธิตการแต่งตัวโขน ซึ่งปกติแล้วเป็นขั้นตอนที่หาชมได้ยาก เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ความละเอียดอ่อน มีผู้ช่วยจำนวนมากในการแต่งตัวโขนเพียงตัวเดียว และอธิบายเครื่องแต่งกายพร้อมวิธีสวมใส่ โดยเน้นย้ำว่าภูมิปัญญาไทยนั้น จะไม่มีการตัดผ้าที่ใช้ในเครื่องแต่งกายเลย เนื่องจากเป็นผ้าที่ถักทอขึ้นมาด้วยความประณีตและมีราคาค่อนข้างสูง นอกจากนี้การที่เป็นผ้าผืนเดียวยังช่วยให้สวมใส่ได้ทุกขนาดอีกด้วย คนที่มีชีวิตกลับกลายเป็นหุ่นเชิด หุ่นเชิดที่ไร้ชีวิตกลับมีชีวา หุ่นหนึ่งตัวต้องใช้คนเชิดถึงสามคน โดยผู้เชิดจำเป็นต้องมีพื้นฐานโขนเป็นอย่างน้อย 5 ปี

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดแสดงหุ่นละครเล็ก กลุ่มเยาวชนวายุบุตร ตลาดน้ำคลองบางหลวง สืบทอดภูมิปัญญาเก่าแก่อันทรงคุณค่า Read More »