คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
17 มีนาคม 2568 งานวิจัยและนวัตกรรม และ งานความร่วมมือระหว่างประเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมสัมมนาภายใต้ชื่อ Connecting Expertise: Collaborative Innovations in Materials and Energy Science ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวมนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์และพลังงานมาร่วมแบ่งปันข้อมูล ความรู้ และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและการสร้างเครือข่ายการวิจัยในระดับนานาชาติต่อไปในอนาคต
ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี เป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดงาน พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ให้เกียรติมาเป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้บรรยาย โดยมี อาจารย์ ดร.ฒนันท์ วาริทนันท์ อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งการสัมมนาในครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็นการบรรยาย 3 ช่วง โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิจาก 7 สถาบันต่างประเทศมาร่วมเป็นวิทยากร ได้แก่ 1. Tohoku University : ประเทศญึ่ปุ่น, 2. Princeton University สหรัฐอเมริกา, 3. National Yang Ming Chiao Tung University : ประเทศไต้หวัน, 4. National Sun Yat-sen University : ประเทศไต้หวัน, 5. National Tsing Hua University : ประเทศไต้หวัน, 6. Karlsruhe Institute of Technology : ประเทศเยอรมนี และ 7. มหาวิทยาลัยมหิดล : ประเทศไทย โดยมีรายละเอียดดังนี้
SESSION 1 : Advances in Materials Research
SESSION 2 : Innovations in Energy Materials
SESSION 3 : Innovations in Materials & Characterizations
นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายแนะนำเกี่ยวกับงานวิจัยและนวัตกรรมของคณะวิทยาศาสตร์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รวมไปถึงโครงการที่มีความโดดเด่นอย่าง SPACE-F ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมศักยภาพการเติบโตและการแข่งขันของ Food-Tech Startups ในการสร้างนวัตกรรมระดับครัวไทยสู่ครัวโลก และช่วยให้สตาร์ทอัพค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมอาหารโลก บรรยายแนะนำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ประสานงานโครงการ SPACE-F ก่อนที่ผู้เข้าร่วมการสัมมนาจะไปร่วมเยี่ยมชมหน่วยวิจัยต่าง ๆ ภายในคณะวิทยาศาสตร์ ได้แก่ SPACE-F, SCGC Innovation Research Center, ศูนย์วิจัยและการผลิตเพื่อพัฒนาชุดตรวจโรค และตรวจสอบความปลอดภัยอาหารที่ได้มาตรฐาน (Advanced Diagnosis Development Center : ADDC), ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) และ หน่วยเครื่องมือกลาง (Central Instrument Facility : CIF)
เขียนข่าว : นายคุณานนต์ ศิริเขตร์
ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ
ภาพข่าวโดย : นายนนท์นภัทร อินทร์สุพรรณ์
เว็บมาสเตอร์ : นายคุณานนต์ ศิริเขตร์
วันที่ 17 มีนาคม 2568