18 กรกฎาคม 2567 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร นำโดย นางสาวอรอุบล ชมเดช ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร พร้อมด้วยสมาชิกของเครือข่ายศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร พบปะผู้บริหารและเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและผู้ทำงาน คณะวิทยาศาสตร์ มาร่วมให้การต้อนรับ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัศศรณ์ ปัญญาสุข อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ประสานงานสถาบันเครือข่าย
ซึ่งการพบปะและเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร รับฟังข้อเสนอแนะ และเพื่อให้ผู้ประสานงานหารือความร่วมมือและแผนการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน อีกทั้งให้เกิดความต่อเนื่องของกิจกรรมความร่วมมือของเครือข่ายศูนย์ความเป็นเลิศฯ ภายใต้ภารกิจของกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) โดยศูนย์ความเป็นเลิศฯ มีเครือข่ายที่ทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษารวมทั้งสิ้น 8 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มหาวิทยาลัยแกนนำ) มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งจากการที่ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร อยู่ภายใต้ภารกิจของ กปว. และจากการเปลี่ยนแปลงของระบบการจัดสรรทุนของประเทศ จึงทำให้ไม่สามารถสนับสนุนการผลิตบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษา ควบคู่ไปกับการ วิจัยและบริการทางวิชาการ ศูนย์ฯ จึงต้องปรับเปลี่ยนภารกิจ และบริบทของศูนย์ฯ เพื่อตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของ กปว. ที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการนำโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การถ่ายทอดและใช้ประโยชน์ทั้งเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศตามหมุดหมายที่ 12 และหมุดหมายที่ 1 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13
โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2543 จากข้อเสนอโครงการที่ผ่านการคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดตั้งขึ้นโดยการรวบรวมคณาจารย์และนักวิจัยชั้นแนวหน้า จากห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยของรัฐ แรกเริ่มมี สมาชิก 5 สถาบัน และมหาวิทยาลัยมหิดลเป็น 1 ใน 5 มหาวิทยาลัยที่ร่วมก่อตั้ง และเพิ่มเป็น 10 สถาบันในการดาเนินงานระยะที่ 2 ประชาคมนักวิชาการของศูนย์ฯ มุ่งปฏิบัติพันธกิจเดียวกัน คือการบูรณาการวิทยาการสาขาเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรกับระบบเกษตรกรรมไทย พัฒนาและใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือขับเคลื่อน ในการเสริมความเข้มแข็ง และสร้างความพร้อมในภาคเกษตรกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคโลกาภิวัฒน์ บรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงาน พลังงาน และภาวะการณ์เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก การดาเนินงานของศูนย์ฯ ครอบคลุมกิจกรรมหลัก 4 ประการด้วยกันได้แก่ 1) สร้างผลงานวิจัยร่วมกับภาคการผลิต และหน่วยวิจัยภาครัฐ 2) พัฒนากาลังคน ระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อตอบสนองความต้องการนักวิจัยและอาจารย์ 3) ให้บริการกับภาคการผลิตจริง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4) พัฒนากลไกการบริหารเพื่อสนับสนุนการดาเนินการของกิจกรรมทั้ง 3 ด้านสู่ความเป็นเลิศ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นสถาบันแกนนำ จึงได้มีการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ให้เป็นหน่วยงานบริหารโครงการ มีหน้าที่พัฒนากลไกที่เป็นเอกภาพในการทางานแบบหุ้นส่วนทางวิชาการ (university consortium) โดยมีระเบียบการบริหารศูนย์ฯ ที่เป็นพิเศษออกโดยสภามหาวิทยาลัย โดยมีอธิการบดีของสถาบันเครือข่ายร่วมเป็นคณะกรรมการอานวยการ ซึ่งสามารถออกระเบียบการบริหารการเงิน จัดซื้อจัดจ้าง ครุภัณฑ์ บุคลากร และการจัดการบัณฑิตศึกษา เป็นระเบียบโดยเฉพาะของศูนย์ฯ ที่แตกต่างจากหน่วยวิชาการอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการประสานการทางานระหว่างเครือข่ายข้ามหน่วยวิชาการ ข้ามสถาบัน ข้ามสาขาวิชา (cross disciplinary) ซึ่งเป็นกลไกช่วยในการบ่มเพาะวัฒนธรรมของการทางานร่วมกันระหว่างนักวิจัยจากการที่ศูนย์ฯ เป็นฐานรองรับการปฏิบัติงานทางวิจัยและบัณฑิตศึกษาร่วมในลักษณะสหสาขาวิชา (Multidisciplinary) มีความร่วมมือกับสถาบันวิจัยชั้นนาในต่างประเทศ ศูนย์ฯ จึงเป็นประตูเปิดรับและบ่มเพาะเพื่อใช้ประโยชน์จากพัฒนาการของศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ (emerging technology) สำหรับประเทศไทย ดังนั้นแล้วการจัดโครงการ “พบปะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเครือข่ายศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร” จึงถือได้ว่าเป็นการสานต่อเจตนารมณ์ในการดำเนินภารกิจร่วมกัน หาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ และแผนการดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ดังกล่าวข้างต้น
เขียนข่าว : นายคุณานนต์ ศิริเขตร์
ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ
ภาพข่าวโดย : นายนภาศักดิ์ ผลพานิช
เว็บมาสเตอร์ : นายคุณานนต์ ศิริเขตร์
วันที่ 18 กรกฎาคม 2567