คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการ The MUSC Leader : Strategic & Systemic Thinking for HPO ครั้งที่ 2 เพื่อสร้างเข้าใจอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับแนวคิด Strategic Thinking ในด้านกระบวนการคิดอย่างมีระบบและการมองการณ์ไกล เพื่อสร้างความได้เปรียบอย่างยั่งยืนในสังคมโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง

       14 กรกฎาคม 2568 งานแผนและพัฒนาคุณภาพ ร่วมกับ งานบริหารธุรการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัด โครงการ The MUSC Leader : Strategic & Systemic Thinking for HPO ครั้งที่ 2 (ผู้นำเชิงกลยุทธ์และเชิงระบบเพื่อความเป็นเลิศขององค์กร) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับแนวคิด Strategic Thinking และ Systemic Thinking ในระดับองค์กร และเสริมสร้างทักษะของผู้นำในการมองเชิงกลยุทธ์ วิเคราะห์ระบบ และขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน เพื่อนำไปสู่การพัฒนากลไกความคิดและเครื่องมือในการบริหารแบบองค์รวมที่สามารถประยุกต์ใช้ในคณะฯ ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี พร้อมด้วยทีมผู้บริหาร และหัวหน้างานภายในสำนักงานคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มาเข้าร่วมโครงการ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เชิญโชค ศรขวัญ รองคณบดีฝ่ายแผนและประกันคุณภาพ มาเป็นวิทยากรและผู้ดำเนินรายการ ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท

       ในครั้งนี้ ได้มุ่งเน้นในเรื่องของ Strategic Thinking ซึ่งเป็นกระบวนการคิดอย่างมีระบบ และการมองการณ์ไกล เพื่อสร้างความได้เปรียบอย่างยั่งยืนในสังคมโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งถือเป็นทักษะสำคัญ ที่ทางผู้นำจำเป็นจะต้องนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพิจารณามองภาพรวมและตัดสินใจโดยเชื่อมโยงกับเป้าหมายในระยะยาว โดยได้มีการแบ่งกลุ่ม เพื่อทำกิจกรรม Workshop ตามแผนยุทธศาสตร์ 5 ด้าน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้าน Strategic Thinking ให้เกิดการพัฒนาและส่งเสริมความสามารถในการมองภาพอนาคต การวางแผนระยะยาว การสร้างความแตกต่างเชิงกลยุทธ์ และการมองเห็นโครงสร้างที่ขับเคลื่อนพฤติกรรม ผลลัพธ์ขององค์กร และ Change Leadership รวมไปถึงภาวะผู้นำในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบและวัฒนธรรมองค์กร Change Canvas ซึ่งมีหัวข้อเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้ฝึกสะท้อนคิดร่วมกันภายในกลุ่ม ดังต่อไปนี้

  • MUSC เป็นศูนย์กลางด้าน Deep Science และ Deep Technology ในระดับสากล
  • MUSC เป็นศูนย์กลางการพัฒนา Deep Talent และ Brain Power เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Economy)
  • MUSC มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนนโยบายสังคมที่มีฐานจากวิทยาศาสตร์ (Social Policy Driven by Science) และเป็นผู้นำด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของสังคมต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science Communication for Social Trust)

โดยให้นำมาประยุกต์ใช้กับกระบวนการคิดในรูปแบบ Strategic Thinking ซึ่งประกอบไปด้วย

  1. Strategic Objective – อะไรคือเป้าหมายสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ที่เราต้องการบรรลุ / เป้าหมายนี้สัมพันธ์กับเป้าหมายใหญ่ขององค์กรอย่างไร
  2. Future State Vision – ถ้าเราสำเร็จแล้ว ภาพที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร / องค์กรจะเปลี่ยนไปอย่างไรในปีหน้า
  3. Value Proposition – ผลลัพธ์ที่เราจะสร้างมีคุณค่าอย่างไร / สิ่งที่เปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลดีต่อใคร
  4. Key Stakeholders – ใครบ้างที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเป้าหมายนี้ / เขาอาจสนับสนุนหรือขัดขวางอย่างไร
  5. Key Leverage Points – ถ้าเราต้องเปลี่ยนแค่ 1-2 จุดสำคัญ ที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์มากที่สุดคืออะไร / จุดเปลี่ยนอยู่ตรงไหน
  6. System Boundaries – อะไรคือสิ่งที่อยู่ในการควบคุมของเรา และอะไรอยู่นอกเหนือ / เราจะจัดการขอบเขตนี้อย่างไร
  7. Key Resources / Enablers – ทรัพยากรอะไรบ้างที่เรามี หรือจำเป็นต้องมีเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ / ใครสามารถที่จะช่วยเราได้
  8. Risks & Assumptions – มีอุปสรรคหรือความเสี่ยงอะไรบ้าง / เรากำลังอนุมานอะไรโดยไม่รู้ตัว
  9. Strategic Actions – ขั้นตอนสำคัญที่ต้องเริ่มทำเลยคืออะไร / มีกิจกรรมใดที่ต้องวางแผนหรือออกแบบเพิ่มเติม

เขียนข่าว : นายคุณานนต์ ศิริเขตร์
ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ
ภาพข่าวโดย : นายจิรภัทร เอี่ยมเจริญลาภ
เว็บมาสเตอร์ : นายคุณานนต์ ศิริเขตร์
วันที่ 14 กรกฎาคม 2568