ข่าวกิจกรรม

คณะวิทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงาน ZERO WASTE Awareness Day

       วันพุธที่ 27 มีนาคม 2567 ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ เป็นผู้ตัวแทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงาน ZERO WASTE Awareness Day จัดโดยกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อแสดงจุดยืนในการลดการเกิดขยะ สร้างความตระหนักรู้การใช้ทรัพยากร และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิทธิโชติ จักรไพวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน กล่าวรายงานและแถลงนโยบาย และ รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรสมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในพิธีเปิด นอกจากนี้ภายในงานยังมีเวทีเสวนา Zero Waste Talk กับผู้ร่วมเวที ได้แก่ คุณเจ ผู้บริหารPokPok, คุณใบตอง Miss Earth Fire 2021, คุณยีนส์ CEO OneCharge Solution, คุณปริม Project Manager Environman และอ.พี่ฮง ผู้บรรยาย ปิดท้ายด้วยเวทีแสดงดนตรีจากนักศึกษา ณ ลานดอกกันภัย อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล (MLC) เขียนข่าว : นายธีรเทพ […]

คณะวิทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงาน ZERO WASTE Awareness Day Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยนานาชาติ ครบรอบ 38 ปี

       26 มีนาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มอบหมายให้ รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและศาลายา เป็นตัวแทนเข้าร่วมเฉลิมฉลองวันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยนานาชาติ ครบรอบ 38 ปี สานความสัมพันธ์อันดีระหว่าง 2 ส่วนงานที่มีมาอย่างยาวนาน โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจุฬธิดา โฉมฉาย คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ และ คุณกวิน มงคลประภา ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายการวางแผนกลยุทธ์และพัฒนาคุณภาพ ให้การต้อนรับ ก่อนร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายสังฆทาน จตุปัจจัยไทยธรรม และภัตตาหารเพล ณ ลานอเนกประสงค์ ชั้น 1 อาคาร 1 วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา เขียนข่าว : นายคุณานนต์ ศิริเขตร์ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : นายคุณานนต์ ศิริเขตร์เว็บมาสเตอร์

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยนานาชาติ ครบรอบ 38 ปี Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล รับรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยต่อเนื่องเป็นปีที่ 6

25 มีนาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี ศาสตราจารย์ ดร.วิฑูร แสงศิริสุวรรณ รองคณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพ.พรรษกร ตันรัตนะ รองคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา ให้การต้อนรับ คุณอาทร นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 และคณะผู้ติดตาม โดยมี คุณคำรณ โชธนะโชติ รักษาการหัวหน้างานบริหารและธุรการ และคุณคณภรณ์ เข็มทอง นักอาชีวอนามัย ร่วมให้การต้อนรับ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี เป็นผู้แทนคณะวิทยาศาสตร์ รับรางวัลสถานศึกษาปลอดภัย ประเภทเกียรติบัตรดีเด่น ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6  ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับสถานศึกษาเพื่อรณรงค์สร้างจิตสำนึกและวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีการกำหนดเกณฑ์ต่าง ๆ อาทิ สถานศึกษาจะต้องมีการกำหนดนโยบาย แผนงาน

คณะวิทย์ ม.มหิดล รับรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล หารือความร่วมมือด้านการศึกษาและวิจัยกับ Macquarie University ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

21 มีนาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร โอสถจันทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร. กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และนักวิเทศสัมพันธ์ จากงานความร่วมมือระหว่างประเทศ คณะวิทยาศาสตร์ และกองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก Macquarie University เครือรัฐออสเตรเลีย นำโดย Prof. Lucy Marshall, Executive Dean of the Faculty of Science and Engineering, Dr. Katrina Sealey, Faculty of Science and Engineering Executive Director และ Mr. Matt Monkhouse,

คณะวิทย์ ม.มหิดล หารือความร่วมมือด้านการศึกษาและวิจัยกับ Macquarie University ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา Read More »

สภาอาจารย์และทีมพัฒนาทรัพยากรบุคคล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษเนื่องในโอกาสเดือนแห่งวันสตรีสากล

       20 มีนาคม 2567 สภาอาจารย์และทีมพัฒนาทรัพยากรบุคคล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษ เนื่องในโอกาสเดือนแห่งวันสตรีสากล “International Women’s Day” รูปแบบ Hybrid ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยมหิดล และเข้าร่วมออนไลน์ ผ่านทางโปรแกรม WebEx        โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชชุดา พยุหกฤษ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล เป็นประธานกล่าวเปิด และขอบคุณคณะผู้ทำงานที่ทำให้การจัดเสวนาเกิดขึ้น วัตถุประสงค์ของการจัดเสวนาพิเศษในครั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริม สร้างกำลังใจ และพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสายวิชาการ เกี่ยวกับบทบาทของสตรีบนเส้นทางสายวิทยาศาสตร์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคลากรสายวิชาการที่สมควรเป็นแบบอย่าง        การเสวนาในครั้งนี้ ได้แบ่งเป็น 2 ช่วง ซึ่งดำเนินรายการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพาลัคน์ กฤตยาเกียรณ์ กรรมการสภาอาจารย์ และอาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวุฒิ เจริญสุทธิวรากุล

สภาอาจารย์และทีมพัฒนาทรัพยากรบุคคล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาพิเศษเนื่องในโอกาสเดือนแห่งวันสตรีสากล Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับผู้บริหารจาก Osaka University พร้อมหารือเพื่อขยายความร่วมมือทางวิชาการเพิ่มเติม

       18 มีนาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญ อารยะธนิตกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและกิจการนักศึกษา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพ.พรรษกร ตันรัตนะ รองคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา, รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และ รองศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี หัวหน้าความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) ให้การต้อนรับผู้บริหารจาก Osaka University นำโดย Prof. Dr. Kohsuke Honda, International Center for Biotechnology (ICBiotech), Osaka University ก่อนประชุมหารือขยายความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง 2 สถาบัน ณ ห้อง K103 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับผู้บริหารจาก Osaka University พร้อมหารือเพื่อขยายความร่วมมือทางวิชาการเพิ่มเติม Read More »

Activity Photo

นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกิจกรรมเสวนากับทูตเยาวชนพิเศษแห่งสหรัฐอเมริกา และผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงเทพมหานคร

15 มีนาคม 2567 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล และนักศึกษาในหลักสูตรนานาชาติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมให้การต้อนรับคณะทำงานจากโครงการ U.S. Special Envoy Global Youth ประเทศสหรัฐอเมริกา และร่วมเสวนาแสดงความคิดเห็น (Roundtable Discussion) ในประเด็นด้านการศึกษาในฐานะนักศึกษาสัญชาติอเมริกันและนักศึกษาผู้ที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนหรือศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ณ สหรัฐอเมริกา ร่วมกับ Ms. Abby Finkenauer ทูตเยาวชนพิเศษแห่งสหรัฐอเมริกา และผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงเทพมหานคร ณ ห้องประชุม 530 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดล อลัน คอนสแตนซ์ รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยนานาชาติ พร้อมด้วย นายเตชินท์ เจริญจิตรวัฒนา ศิษย์เก่าของหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรีทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (B.Sc. Program in Bioresources and Environmental

นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกิจกรรมเสวนากับทูตเยาวชนพิเศษแห่งสหรัฐอเมริกา และผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงเทพมหานคร Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ Essentials in Biosafety and Biosecurity for BSL-2 รุ่นที่ 1 ในรูปแบบ hybrid เสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล

9 มีนาคม 2567 งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมมือกับภาคเอกชน บริษัท Degree Plus จำกัด จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการตามหลักสูตร “Essentials in Biosafety and Biosecurity for BSL-2 รุ่นที่ 1” ในรูปแบบผสมผสาน (hybrid) ที่ได้รับรองโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นหลักสูตรแรกในประเทศไทย เพื่อเสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดและแนวปฏิบัติสากลแก่อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา บุคคลภายในและนอกคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งผู้สนใจจากทั่วประเทศ หลักสูตร “Essentials in Biosafety and Biosecurity for BSL-2 รุ่นที่ 1” แบบ hybrid เป็นหลักสูตรที่ พัฒนาขึ้นมาเพื่อเพิ่มโอกาสให้กับบุคลากรทั่วประเทศให้สามารถเข้ารับการอบรมความปลอดภัยทางชีวภาพ โดยเข้ารับการอบรมในภาคบรรยายผ่านทาง hybrid platform ที่สะดวกมากยิ่งขึ้น และไม่ต้องรอรอบการอบรมที่จัดขึ้นทั่วไป ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเรียนรู้เนื้อหาภาคบรรยายผ่านคลิปสอน และร่วมสนทนา สอบถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากรผ่านระบบ Zoom meeting

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ Essentials in Biosafety and Biosecurity for BSL-2 รุ่นที่ 1 ในรูปแบบ hybrid เสริมความรู้และทักษะการทำวิจัยในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านต้อนรับ 14 นักศึกษา UTM Airost Team จาก Universiti Teknologi Malaysia (UTM) ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

13 มีนาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ดาครอง พิศสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ รองศาสตราจารย์ ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หนึ่งนิตย์ วัฒนวิเชียร รองศาสตราจารย์ ดร. รักชาติ ไตรผล และ อาจารย์ ดร.ฒนันท์ วาริทนันท์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มสาขาวิชา และเจ้าหน้าที่งานความร่วมมือระหว่างประเทศ ให้การต้อนรับนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ชั้นปีที่ 2 – 4 สังกัด UTM Airost Team จาก Universiti Teknologi Malaysia (UTM) จำนวน 14 คน ในโอกาสเยือนคณะวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาดูงานด้านหลักสูตรการเรียนการสอน โครงการวิจัย และกิจกรรมทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรภายใต้สาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก โดยนักศึกษาทั้ง 14 คนได้มีโอกาสเยี่ยมชมสิ่งอำนวยความสะดวกและกิจกรรมภายในห้องปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ของอาจารย์และนักวิจัยที่หลากหลาย อาทิ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ด้าน Advanced

คณะวิทย์ ม.มหิดล เปิดบ้านต้อนรับ 14 นักศึกษา UTM Airost Team จาก Universiti Teknologi Malaysia (UTM) ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมพิธีเปิดศูนย์ Taiwan-Thailand Overseas Research and Technology Innovation Center (TTSTC) จัดโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ ร่วมกับ National Cheng Kung University

       12 มีนาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เข้าร่วมพิธีเปิดศูนย์ Taiwan – Thailand Overseas Research and Technology Innovation Center จัดโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ National Cheng Kung University (NCKU) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการสร้างความร่วมมือเกี่ยวกับการวิจัยและนวัตกรรม ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) โดยมี ศาสตราจารย์คลินิก ดร. นายแพทย์ ทันตแพทย์ศิริชัย เกียรติถาวรเจริญ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มาให้การต้อนรับ ณ ห้อง MU-NCKU Joint Research Center บริเวณลานอเนกประสงค์ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมพิธีเปิดศูนย์ Taiwan-Thailand Overseas Research and Technology Innovation Center (TTSTC) จัดโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ ร่วมกับ National Cheng Kung University Read More »

Deloitte Thailand และ SEAMEO STEM-ED ร่วมกับ คณะวิทย์ ม.มหิดล และสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ได้ร่วมกันต้อนรับนักเรียน นักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา รวมกว่า 50 คน ในโครงการ เปลี่ยนปลูกปรุง โดย ดีลอยท์ ประเทศไทย พร้อมพาเยี่ยมชมโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลก (SPACE-F)

       11 มีนาคม 2567 Deloitte Thailand และ SEAMEO STEM-ED ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ได้ร่วมกันต้อนรับนักเรียน นักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา รวมกว่า 50 คน ในโครงการ เปลี่ยนปลูกปรุง โดย ดีลอยท์ ประเทศไทย (Changemaker in Sustainable Food by Deloitte Thailand) ที่จัดร่วมกับ ศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ศูนย์ SEAMEO STEM-ED) เข้าเยี่ยมชมโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลก SPACE-F  ณ ห้องประชุม SPACE-F ชั้น 6 อาคารชีววิทยาใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท        โครงการ เปลี่ยนปลูกปรุง โดย

Deloitte Thailand และ SEAMEO STEM-ED ร่วมกับ คณะวิทย์ ม.มหิดล และสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ได้ร่วมกันต้อนรับนักเรียน นักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา รวมกว่า 50 คน ในโครงการ เปลี่ยนปลูกปรุง โดย ดีลอยท์ ประเทศไทย พร้อมพาเยี่ยมชมโครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลก (SPACE-F) Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ International Regulatory Science Forum 2024

         วันอังคารที่ 12 มีนาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เข้าร่วมพิธีเปิด การประชุมวิชาการนานาชาติ International Regulatory Science Forum 2024 ที่จัดโดย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ Department of Regulatory and Quality Sciences, School of Pharmacy, University of Southern Califonia ประเทศสหรัฐอเมริกา และ National Cheng Kung University สาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) และกองเครื่องมือแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนวิทยาการความก้าวหน้าและองค์ความรู้ในระดับนานาชาติเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนเครื่องมือแพทย์และผลิตภัณฑ์สุขภาพดิจิตัล (digital health products) อีกทั้งเพื่อส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยของนักวิชาการในระดับภูมิภาคเอเซียและอเมริกา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติ International Regulatory Science Forum 2024 Read More »

Activity Photo

นักศึกษาแพทย์โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจจัดงานอำลาร่างอาจารย์ใหญ่ประจำปีการศึกษา 2566

9 มีนาคม 2567 นักศึกษาแพทย์โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาโรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครราชสีมา ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาโรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมด้วยคณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ร่วมกันจัดงานอำลาร่างอาจารย์ใหญ่ประจำปีการศึกษา 2566 จำนวน 29 ท่าน ณ ห้องปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ AN1-301 ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พิธีการเริ่มด้วยการกล่าวบทขอขมาและบูชาคุณของอาจารย์ใหญ่ ต่อด้วยการกล่าวความรู้สึกของตัวแทนนักศึกษาแพทย์ โดยนักศึกษาแพทย์ อธิษฐ์ ทิฆัมพร จากนั้น รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ กล่าวให้โอวาทและอวยพรให้นักศึกษาทุกคนประสบความสำเร็จในชีวิตการเรียนแพทย์ โดยหลังการกล่าวให้โอวาท ผู้เข้าร่วมงานได้ร่วมกันแปรแถวเตียงอาจารย์ใหญ่เพื่อเตรียมพื้นที่ให้เจ้าหน้าที่มูลนิธิร่วมกตัญญูกว่า 100 ท่าน ปฏิบัติงานเพื่อเตรียมบรรจุร่างอาจารย์ใหญ่ แล้วจึงเข้าสู่พิธีบรรจุร่างอาจารย์ใหญ่พร้อมจดหมายฉบับสุดท้ายที่นักศึกษาแพทย์ได้เขียนถึงความรู้สึกและเขียนขอบคุณอาจารย์ใหญ่ ต่อด้วยการถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน จากนั้น ในช่วงสุดท้ายของงาน รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ได้มอบเกียรติบัตรและเงินบริจาคให้กับมูลนิธิร่วมกตัญญู ซึ่งจะทำการขนโลงศพที่บรรจุร่างอาจารย์ใหญ่เพื่อนำไปประกอบพิธีฌาปนกิจที่วัดเวตวันธรรมาวาส (วัดเชิงหวาย) แขวงบางซื่อ กรุงเทพฯ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มนสิชา

นักศึกษาแพทย์โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมใจจัดงานอำลาร่างอาจารย์ใหญ่ประจำปีการศึกษา 2566 Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตร จัดกิจกรรม “Mahidol Venture Building for SPACE-F Program” เพื่อเตรียมความพร้อมกับโอกาสที่จะได้เข้าร่วมโครงการ SPACE-F Batch 5

       8 มีนาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตร สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรม Mahidol Venture Building for SPACE-F Program ณ ห้อง K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (พญาไท) และช่องทางออนไลน์ผ่าน IPTV และ FB LIVE        โดยวัตถุประสงค์หลักของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ คือ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ อาจารย์ นักวิจัย สตาร์ทอัพ หรือนักศึกษาผู้ที่มีผลงานทางด้าน Food Tech เตรียมความพร้อมกับโอกาสที่จะได้เข้าร่วมโครงการ SPACE-F รุ่นที่ 5 หรือ Batch

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตร จัดกิจกรรม “Mahidol Venture Building for SPACE-F Program” เพื่อเตรียมความพร้อมกับโอกาสที่จะได้เข้าร่วมโครงการ SPACE-F Batch 5 Read More »

Activity Photo

อาจารย์คณะวิทย์ ม.มหิดล วิจัยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันคุณภาพต่ำ ลดต้นทุนการผลิตพลังงาน คว้าทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 30 พ.ศ. 2566 จากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย

8 มีนาคม 2567 ศาสตราจารย์ ดร. ศิวพร มีจู สมิธ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้าทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 30 พ.ศ. 2566 ในสาขาเคมี จากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ที่มอบให้แก่งานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมหรือการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและเทคโนโลยีของประเทศ จำนวน 200,000 บาท ด้วยโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันคุณภาพต่ำโดยใช้คลื่นไมโครเวฟเปรียบเทียบกับคลื่นอัลทราโซนิกส์ และเข้าร่วมพิธีมอบรางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และรางวัลการศึกษาวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 30 ณ Crystal Hall โรงแรม The Athenee Bangkok พิธีมอบรางวัลในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้มอบทุนในพิธีมอบรางวัลและเงินทุนช่วยเหลือการวิจัยฯ ครั้งที่ 30 โดยมี ฯพณฯ นายนะชิดะ คะสุยะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย มร. อาคิฮิโร นิคคาคุ ประธานบริษัทโทเรอินดัสตรีส์ ประเทศญี่ปุ่น ศาสตราจารย์เกียรติคุณ

อาจารย์คณะวิทย์ ม.มหิดล วิจัยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันคุณภาพต่ำ ลดต้นทุนการผลิตพลังงาน คว้าทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 30 พ.ศ. 2566 จากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย Read More »

Activity Photo

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังสัมมนาเรื่อง “โจทย์วิจัยและนวัตกรรมกับการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ยางพาราไทยสู่เชิงพาณิชย์” โดยคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา

        วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รศ. ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ และ รศ.ดร.สมบัติ ธนะวันต์ เข้าร่วมรับฟังสัมมนาเรื่อง “โจทย์วิจัยและนวัตกรรมกับการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ยางพาราไทยสู่เชิงพาณิชย์” โดยคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อติดตาม เสนอแนะ เร่งรัด และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านยางพาราของประเทศไทย เพื่อให้ได้ข้อเสนอในเชิงนโยบาย และโครงสร้างการบริหารจัดการทั้งระบบ เพื่อเป็นแนวทางการใช้ประโยชน์ในการดำเนินการอย่างยั่งยืน และเพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมมาใช้แก้ไขปัญหายางพาราของประเทศไทย เกิดการรวมพลังอย่างแท้จริงเชิงระบบในทุกระดับ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและเกิดการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานระดับชาติและระดับสากลต่อไป         โดยได้รับเกียรติจาก ประธานคณะกรรมาธิการฯ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง กล่าวเปิดงานว่า เมื่อปลายปีที่แล้ว กมธ.ได้จัดสัมมนาในเรื่องการวิจัยนวัตกรรมเกี่ยวกับการใช้ยางพารา เพื่อนำไปสู่การใช้งานได้มากขึ้น โดยดำเนินการมาในลักษณะของช่วงต้นทางและกลางทาง ซึ่งในวันนี้จะเป็นการเติมระหว่างกลางทางสู่ปลายทาง เพื่อไปบรรลุในเรื่องเชิงพาณิชย์ในการทำให้ผลิตภัณฑ์ยางพาราตรงความต้องการของท้องตลาด นำไปสู่การใช้งานในหลายรูปแบบ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับชาวสวนยางและผู้ประกอบการต่างๆ  รวมถึงสหกรณ์และวิสาหกิจชุมชนต่อไป         ต่อด้วยการกล่าวปาฐกถาพิเศษโดย นายพินิจ จารุสมบัติ ประธานสภาวัฒนธรรมไทย-จีนและอดีตรองนายกรัฐมนตรี

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมรับฟังสัมมนาเรื่อง “โจทย์วิจัยและนวัตกรรมกับการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ยางพาราไทยสู่เชิงพาณิชย์” โดยคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา Read More »

คณะวิทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการทดสอบอัจฉริยภาพทางชีววิทยาระดับมัธยมปลาย Bioism 2 เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนจำนวนกว่า 1,375 คน เข้าประลองความรู้ทางชีววิทยา

17 – 18 กุมภาพันธ์ 2567 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยนักศึกษาภาควิชาชีววิทยา ในนามสโมสรนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการทดสอบอัจฉริยภาพทางชีววิทยาระดับมัธยมปลาย (Bioism) ครั้งที่ 2 โดยมีนักเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศสมัครร่วมกิจกรรมกว่า 1,726 คน และเข้าร่วมแข่งขันประลองความรู้จำนวน 1,375 คน พร้อมร่วมกิจกรรมเรียนรู้ระบบในร่างกายของมนุษย์และสัตว์ ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและการประยุกต์ใช้อย่างยั่งยืน ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โครงการทดสอบอัจฉริยภาพทางชีววิทยาระดับมัธยมปลาย หรือ Bioism เป็นการทดสอบความรู้ด้านชีววิทยาโดยมีพื้นฐานจากหนังสือเรียน สสวท. ระดับมัธยมปลาย ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2566 เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนระดับมัธยมปลายที่สนใจทางด้านชีววิทยาได้มีโอกาสทดสอบทักษะความรู้ทางวิชาการ เปิดประสบการณ์การเรียนรู้ รวมถึงแนะนำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนั้นยังเป็นการฝึกทักษะการทำงานร่วมกันของนักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อีกด้วย ในปีนี้โครงการจัดขึ้นภายใต้แนวคิดโลกใต้ทะเล โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ สมาคมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด

คณะวิทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการทดสอบอัจฉริยภาพทางชีววิทยาระดับมัธยมปลาย Bioism 2 เปิดบ้านต้อนรับนักเรียนจำนวนกว่า 1,375 คน เข้าประลองความรู้ทางชีววิทยา Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานครบรอบ 55 ปี วันพระราชทานนาม และ 136 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมร่วมยินดีกับคณาจารย์ บุคลากร และศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ ผู้คว้ารางวัลเชิดชูเกียรติ

2 มีนาคม 2567 ในโอกาสครบรอบ 55 ปี วันพระราชทานนาม และ 136 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงผู้บริหารส่วนงานต่าง ๆ และคณะผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี พร้อมด้วยคณาจารย์ และบุคลากรเข้าร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และพิธีบำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรฯ พร้อมร่วมฟังปาฐกถาเกียรติยศ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์ ครั้งที่ 13 เรื่อง “รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกสู่การปรับตัวของอุดมศึกษาไทย” โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ต่อด้วยพิธีมุทิตาจิตผู้อาวุโส ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นอกจากนั้น ภายในงานยังมีการจัดพิธีมอบรางวัลเพื่อยกย่องและเชิดชูเกียรติคณาจารย์ บุคลากร และศิษย์เก่า ประจำปี 2566 ในด้านต่าง

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานครบรอบ 55 ปี วันพระราชทานนาม และ 136 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมร่วมยินดีกับคณาจารย์ บุคลากร และศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ ผู้คว้ารางวัลเชิดชูเกียรติ Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ iNT SCGC PTT และ DIP จัดงานเสวนาทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อผู้ประกอบธุรกิจ “Mastering IP for Businesses: Essentials Kit for Protecting Packaging & Product Designs” เสริมความรู้นักวิจัย อาจารย์ และนักศึกษา

เสริมความรู้นักวิจัย อาจารย์ และนักศึกษา 28 กุมภาพันธ์ 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และกรมทรัพย์สินทางปัญญา (DIP) จัดงานเสวนาทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อผู้ประกอบธุรกิจ หัวข้อ “กลยุทธ์ในการส่งเสริมธุรกิจด้วยเครื่องมือด้านทรัพย์สินทางปัญญา: มิติในการคุ้มครองบรรจุภัณฑ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Mastering IP for Businesses: Essentials Kit for Protecting Packaging & Product Designs)” เผยแพร่ความรู้และแนวคิดในการคุ้มครองและรักษาสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property: IP) ด้วยเครื่องมือประเภทต่าง ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในการประกอบธุรกิจแก่นักวิจัย อาจารย์ และนักศึกษา ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยในโอกาสนี้

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมกับ iNT SCGC PTT และ DIP จัดงานเสวนาทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อผู้ประกอบธุรกิจ “Mastering IP for Businesses: Essentials Kit for Protecting Packaging & Product Designs” เสริมความรู้นักวิจัย อาจารย์ และนักศึกษา Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ประชุมหารือจัดทำแผนยุทธศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2567-2570 นำองค์กรสู่คณะวิทยาศาสตร์ระดับโลกที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่สังคม

27 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ พร้อมด้วย หัวหน้าภาควิชา หัวหน้ากลุ่มสาขา หัวหน้าศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง และหัวหน้างาน ร่วมประชุมหารือจัดทำแผนยุทธศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2567-2570 ณ ห้องประชุม 401 อาคาร MUSES คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท การประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์เชิญโชค ศรขวัญ ที่ปรึกษาคณบดี เป็นวิทยากรอธิบายเกี่ยวกับความสำคัญของแผนยุทธศาสตร์ และร่วมให้คำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสา ปฏิการมณฑล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแผน นโยบายและประกันคุณภาพ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแผน นโยบายและประกันคุณภาพ เป็นผู้นำประชุม ที่ประชุมได้กำหนดวิสัยทัศน์ของคณะวิทยาศาสตร์ว่าจะเป็นคณะวิทยาศาสตร์ระดับโลกที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่สังคม“To be a World Class Faculty of Science with Social Impact”  และประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดร่างแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย 4

คณะวิทย์ ม.มหิดล ประชุมหารือจัดทำแผนยุทธศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2567-2570 นำองค์กรสู่คณะวิทยาศาสตร์ระดับโลกที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่สังคม Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงและผลิตภัณฑ์ flo Wolffia (โฟล วูล์ฟเฟีย)” จัดโดยบริษัทแอดวานซ์ กรีนฟาร์ม จำกัด

          ในวันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเข้าร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงและผลิตภัณฑ์ ภายใต้แบรนด์ flo Wolffia (โฟล วูล์ฟเฟีย)” จัดโดยบริษัทแอดวานซ์ กรีนฟาร์ม จำกัด ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีอาหาร SPACE-F รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ซึ่งเป็นโครงการที่ร่วมสนับสนุนโดย บริษัท ไทยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้องประชุม Hill Crest ชั้น 5 โรงแรมเดอะ ควอเตอร์ ลาดพร้าว บาย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงและผลิตภัณฑ์ flo Wolffia (โฟล วูล์ฟเฟีย)” จัดโดยบริษัทแอดวานซ์ กรีนฟาร์ม จำกัด Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวนโยบาย อว. for EV พร้อมเยี่ยมชมบูธแสดงผลงานด้านยานยนต์ไฟฟ้า ของภาคเอกชนและหน่วยงานภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

       16 กุมภาพันธ์ 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เข้าร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัว อว. for EV เพื่อแถลงนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการสนับสนุนการสร้างอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและการสนับสนุนผู้ประกอบการไทย ในการปรับตัวเข้าสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า พร้อมจัดแสดงนิทรรศการผลงาน ด้านยานยนต์ไฟฟ้าของภาคเอกชนและหน่วยงานภายใต้ อว. ณ ห้องประชุมออดิทอเรียมชั้น 3 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี        โดยภายในงานได้รับเกียรติจาก คุณศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในงานแถลงข่าวเปิดตัวนโยบาย อว. for EV ด้วยเล็งเห็นว่ากระทรวง อว. เป็นหน่วยงานที่สำคัญในการขับเคลื่อนโยบาย เพื่อผลักดันให้ประเทศเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญอันดับหนึ่งของภูมิภาค และ 10 อันดับแรกของโลก โดยมีเป้าหมายการผลิตรถ ZEV (Zero Emission

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวนโยบาย อว. for EV พร้อมเยี่ยมชมบูธแสดงผลงานด้านยานยนต์ไฟฟ้า ของภาคเอกชนและหน่วยงานภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม Read More »

หน่วยสัตว์ทดลอง งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัด “การอบรมผู้ใช้สัตว์ทดลองประจำปี 2567 ตามแนวทางมาตรฐานสากล AAALAC International”

          ในวันพฤหัสดีที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 หน่วยสัตว์ทดลอง งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัด “การอบรมผู้ใช้สัตว์ทดลองประจำปี 2567 ตามแนวทางมาตรฐานสากล AAALAC International” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงและให้คำแนะนำนักวิจัยผู้ใช้สัตว์ทดลอง เวลา 09:00–15:00 น. ณ ห้องประชุม K102 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แบ่งหัวข้อการอบรมออกเป็น 2 ภาค หัวข้อในภาคเช้ามีดังนี้• สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับพระราชบัญญัติสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558โดย รองศาสตราจารย์ ดร. น.สพ.เทพมนัส บุปผาอินทร์ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล • บทบาทของคณะกรรมการกํากับดูแลการเลี้ยงและการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (คกส.) ตามแนวทางมาตรฐานสากล AAALAC Internationalโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นทีทิพย์ กฤษณามระ ประธานคณะกรรมการกํากับดูแลการเลี้ยงและการใช้สัตว์ทดลอง • หลักการเกี่ยวกับการเขียนโครงการขอใช้สัตว์เพื่องานวิจัยทางวิทยาศาสตร์โดย สพ.ญ.วันทนีย์ รัตนศักดิ์ สัตวแพทย์ที่ปรึกษา

หน่วยสัตว์ทดลอง งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัด “การอบรมผู้ใช้สัตว์ทดลองประจำปี 2567 ตามแนวทางมาตรฐานสากล AAALAC International” Read More »

Activity Photo

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมเดินขบวนพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล “มหิดลเกมส์” (Mahidol Games 2024 : Fun with Thai Style สนุกสนานสไตล์ไทย)

14 กุมภาพันธ์ 2567 ศาสตราจารย์ นายแพทย์วชิร คชการ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดการแข่งขันกีฬาบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีงบประมาณ 2567 “Mahidol Games 2024 : Fun with Thai Style สนุกสนานสไตล์ไทย” โดยมี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์บวรฤทธิ์ จักรไพวงศ์ คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา กล่าวรายงานความเป็นมา ในโอกาสนี้ คณะผู้บริหารและบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี และ รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและศาลายา เดินขบวนพาเหรดในธีม “ผ้าขาวม้า ผ้าครอบจักรวาล” ร่วมพิธีเปิดการแข่งขัน ณ สนามกีฬาฟุตบอล 1 มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในพิธีเปิดวงโยธวาทิตบรรเลงเพลงนำขบวนพาเหรดของส่วนงานต่าง ๆ เดินเข้าสู่ลานพิธีตามลำดับ แล้วจึงเริ่มการประกวดขบวนพาเหรดในธีม “Fun with Thai Style

คณะวิทย์ ม.มหิดล ร่วมเดินขบวนพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล “มหิดลเกมส์” (Mahidol Games 2024 : Fun with Thai Style สนุกสนานสไตล์ไทย) Read More »

Activity Photo

งานความร่วมมือระหว่างประเทศ คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม “Mahidol Science Cultural Exchange: The Food of Love” รับเทศกาลวาเลนไทน์

14 กุมภาพันธ์ 2567 งานความร่วมมือระหว่างประเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับนักศึกษานานาชาติ นักวิจัยหลังปริญญาเอก และบุคลากรชาวต่างชาติ จัดกิจกรรม “Mahidol Science Cultural Exchange: The Food of Love” รับเทศกาลวาเลนไทน์ เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และสร้างเครือข่ายและความผูกพันระหว่างนักศึกษานานาชาติ ในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา รวมไปถึงการสร้างเครือข่ายกับนักวิจัยหลังปริญญาเอกและบุคลากรต่างชาติของคณะวิทยาศาสตร์  โดยกิจกรรมในครั้งนี้มีนักศึกษาตัวแทนนักศึกษาต่างชาติจากประเทศเมียนมา อินโดนีเซีย อินเดีย บังกลาเทศ ปากีสถาน ศรีลังกา และไทย จัดอาหารหลากหลายเมนูเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานได้ชิมรสชาติอาหาร และร่วมตอบข้อซักถามเกี่ยวกับอาหารดังกล่าวตลอดระยะเวลาการจัดกิจกรรม เพื่อนำไปสู่การรับรู้และความเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรมของแต่ละประเทศในวงกว้าง โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา เป็นผู้ดำเนินรายการร่วมกับเจ้าหน้าที่งานความร่วมมือระหว่างประเทศ ณ ลานใต้ตึกกลม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ภายในงานเปิดโอกาสให้นักศึกษา และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ได้ลิ้มรสอาหารที่มีความพิเศษและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของประเทศต่าง ๆ รวมถึงกรรมวิธีการเตรียม ลักษณะของการคัดเลือกวัตถุดิบต่าง ๆ และขั้นตอนการปรุงรสอาหาร เช่น ข้าวมันฝรั่ง และสลัดใบชาจากประเทศเมียนมา,

งานความร่วมมือระหว่างประเทศ คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม “Mahidol Science Cultural Exchange: The Food of Love” รับเทศกาลวาเลนไทน์ Read More »

Activity Photo

ม.มหิดล ร่วมกับ International Peace Foundation เชิญนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ บรรยายพิเศษในงาน JAPAN-ASEAN BRIDGES EVENT SERIES: “The Brain’s GPS: How We Know Where We Are.”

13 กุมภาพันธ์ 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล โดยกองวิเทศสัมพันธ์ ร่วมกับ International Peace Foundation จัดงาน JAPAN-ASEAN BRIDGES EVENT SERIES: “The Brain’s GPS: How We Know Where We Are.” ในโอกาสครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศในภูมิภาคอาเซียน เพื่อกระตุ้นการแลกเปลี่ยนและส่งเสริมการพัฒนาผ่านการศึกษา โดยได้รับเกียรติจาก Professor Edvard Ingjald Moser นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ในปี ค.ศ. 2014 ผู้ค้นพบเซลล์ประสาทและระบบระบุตำแหน่งในสมองและความจำ ซึ่งช่วยปูทางสู่การหาวิธีรักษาอัลไซเมอร์ มาบรรยายและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการวิจัยกับคณาจารย์และนักศึกษา ณ ห้องประชุมกมลทิพย์ 2-3 ชั้น 2 โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ ในโอกาสอันดีนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์เกียรติคุณ

ม.มหิดล ร่วมกับ International Peace Foundation เชิญนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ บรรยายพิเศษในงาน JAPAN-ASEAN BRIDGES EVENT SERIES: “The Brain’s GPS: How We Know Where We Are.” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย จัด UK roadshow on Science, research and innovation

          ในวันที่ 13  กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13.30 – 15.00 น.  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย จัด กิจกรรม   “UK Roadshow on Science, Research and Innovation” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังคำแนะนำและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทุนวิจัยจากสหราชอาณาจักร และวิธีการสมัครขอรับทุนวิจัยเพื่อสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรในสหราชอาณาจักร  ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล           กิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณชวิศ อุตตมาชัย ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ  และคุณชยนันต์ บุญมี ผู้จัดการโครงการวิทยาศาสตร์ บริติช เคานซิล เป็นวิทยากร โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้ดำเนินรายการ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย จัด UK roadshow on Science, research and innovation Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล จับมือ เนสท์เล่ และเครือข่ายพันธมิตร ลงนาม MOU โครงการ SPACE-F ในงานแถลงข่าว “Collaboration for the Future of Food” เพื่อร่วมขับเคลื่อนอนาคตวงการอาหารไทย พร้อมสร้างระบบนิเวศที่ส่งเสริมโอกาสการเติบโตของ FoodTech Startup ในการพัฒนานวัตกรรม

       12 กุมภาพันธ์ 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จับมือ เนสท์เล่ อินโดไชน่า องค์กรอาหารและเครื่องดื่มรายใหญ่ ที่มีแบรนด์ผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงชั้นนำระดับโลก และแบรนด์ระดับท้องถิ่นที่เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เข้าร่วมโครงการ SPACE-F ในงานแถลงข่าว “Collaboration for the Future of Food” ณ ห้อง Pinnacle 4-5 ชั้น 4 โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ        บริษัท เนสท์เล่ ภูมิภาคอินโดไชน่า (Nestlé Indochina) ถือได้ว่าเป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มรายใหญ่ที่สุดของโลก ครอบคลุม 190 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองเวเวย์

คณะวิทย์ ม.มหิดล จับมือ เนสท์เล่ และเครือข่ายพันธมิตร ลงนาม MOU โครงการ SPACE-F ในงานแถลงข่าว “Collaboration for the Future of Food” เพื่อร่วมขับเคลื่อนอนาคตวงการอาหารไทย พร้อมสร้างระบบนิเวศที่ส่งเสริมโอกาสการเติบโตของ FoodTech Startup ในการพัฒนานวัตกรรม Read More »

สโมสรนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดค่าย “MAS Camp” ครั้งที่ 34 เปิดบ้านคณะวิทย์ พญาไท – ศาลายา ต้อนรับน้อง ม.ปลาย สร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาต่อในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

        9 – 11 กุมภาพันธ์ 2567 สโมสรนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดค่าย “MAS Camp” ครั้งที่ 34 เปิดบ้านคณะวิทย์ พญาไท – ศาลายา ต้อนรับน้อง ม.ปลาย เพื่อให้น้องๆในค่ายได้รู้จัก ได้สัมผัส และสร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาต่อในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนี้ยังช่วยให้นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ได้เรียนรู้การดำเนินงาน วางแผน และการบริหารงาน อีกทั้งเพิ่มทักษะในการทำงานร่วมกันอีกด้วย         โดยในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 จัดกิจกรรมที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยมีรุ่นพี่นักศึกษาในคณะพาไปรู้จักกับภาควิชา กลุ่มสาขาวิชา หลักสูตรที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ช่วงเช้ากิจกรรมฐานในวันแรกจะเน้นในเรื่อง เนื้อหาของสาขา สาขานี้เรียนอะไรและสามารถต่อยอดอย่างไรได้บ้าง และในช่วงเย็นกิจกรรมสันทนาการ มีการตีกลอง พร้อมเต้นเพลงสันทนาการต่างๆ       

สโมสรนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดค่าย “MAS Camp” ครั้งที่ 34 เปิดบ้านคณะวิทย์ พญาไท – ศาลายา ต้อนรับน้อง ม.ปลาย สร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาต่อในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Read More »

มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต วิทยาลัยนานาชาติ และบัณฑิตวิทยาลัย ร่วมกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และ Cisco Systems (Thailand) Ltd (CISCO) ร่วมเสวนาและเปิดตัวระบบสนับสนุนการเรียนรู้ MUCE IC+CLiL+GR+…xSETxCISCO: Online Learning Platform for Thai Society

        วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต วิทยาลัยนานาชาติ และบัณฑิตวิทยาลัย ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และ Cisco Systems (Thailand) Ltd (CISCO) ร่วมเสวนาและเปิดตัวระบบสนับสนุนการเรียนรู้ MUCE IC+CLiL+GR+… xSETxCISCO: Online Learning Platform for Thai Society หรือ Mahidol University Continuing Education (MUCE) ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองประสบการณ์การเรียนการสอนออนไลน์ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยไม่มีข้อจำกัด         โดยการเสวนาในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.เนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ

มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต วิทยาลัยนานาชาติ และบัณฑิตวิทยาลัย ร่วมกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และ Cisco Systems (Thailand) Ltd (CISCO) ร่วมเสวนาและเปิดตัวระบบสนับสนุนการเรียนรู้ MUCE IC+CLiL+GR+…xSETxCISCO: Online Learning Platform for Thai Society Read More »