คุณานนต์ ศิริเขตร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ และถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 73 พรรษา (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2568) พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

       25 กรกฎาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร แต่งกายด้วยชุดสุภาพโทนสีเหลืองร่วมพิธีถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ และถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 73 พรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพร้อมใจถวายราชสดุดี ถวายพระพรชัยมงคล และร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีร่วมกัน ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท        พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทย ด้วยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ และพระเมตตาคุณ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการแก่อาณาประชาราษฎร์ด้วยพระวิริยอุตสาหะเสมอมา เขียนข่าว : นายคุณานนต์ ศิริเขตร์ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย : นายนนท์นภัทร อินทร์สุพรรณ์ เว็บมาสเตอร์ : นายคุณานนต์ ศิริเขตร์วันที่ […]

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ และถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 73 พรรษา (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2568) พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “Tomorrow Today in Research : Leveraging AI and Data Analytics for Real-World Impact” เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านกลยุทธ์งานวิจัย การสร้างเครือข่ายระหว่างนักวิชาการ ผู้นำด้านการวิจัย ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ และภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ

       22 กรกฎาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม, อาจารย์ ดร.ธน เตชะเลิศไพศาล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสารสนเทศ, รองศาสตราจารย์ ดร.ชรินทร์ โหมดชัง อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ และ นางสาววรัษยา สุนทรศารทูล นักวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “Tomorrow Today in Research : Leveraging AI and Data Analytics for Real-World Impact” ณ ศูนย์ประชุมและอาคารจอดรถมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จัดโดย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ บริษัท Elsevier ซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำด้านการวิจัยและการทำ IT Transformation ด้วย Freshservice โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านกลยุทธ์งานวิจัย ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายระหว่างนักวิชาการ ผู้นำด้านการวิจัย

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “Tomorrow Today in Research : Leveraging AI and Data Analytics for Real-World Impact” เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านกลยุทธ์งานวิจัย การสร้างเครือข่ายระหว่างนักวิชาการ ผู้นำด้านการวิจัย ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ และภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการ The MUSC Leader : Strategic & Systemic Thinking for HPO ครั้งที่ 2 เพื่อสร้างเข้าใจอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับแนวคิด Strategic Thinking ในด้านกระบวนการคิดอย่างมีระบบและการมองการณ์ไกล เพื่อสร้างความได้เปรียบอย่างยั่งยืนในสังคมโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง

       14 กรกฎาคม 2568 งานแผนและพัฒนาคุณภาพ ร่วมกับ งานบริหารธุรการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัด โครงการ The MUSC Leader : Strategic & Systemic Thinking for HPO ครั้งที่ 2 (ผู้นำเชิงกลยุทธ์และเชิงระบบเพื่อความเป็นเลิศขององค์กร) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับแนวคิด Strategic Thinking และ Systemic Thinking ในระดับองค์กร และเสริมสร้างทักษะของผู้นำในการมองเชิงกลยุทธ์ วิเคราะห์ระบบ และขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน เพื่อนำไปสู่การพัฒนากลไกความคิดและเครื่องมือในการบริหารแบบองค์รวมที่สามารถประยุกต์ใช้ในคณะฯ ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี พร้อมด้วยทีมผู้บริหาร และหัวหน้างานภายในสำนักงานคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มาเข้าร่วมโครงการ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เชิญโชค ศรขวัญ รองคณบดีฝ่ายแผนและประกันคุณภาพ มาเป็นวิทยากรและผู้ดำเนินรายการ ณ ห้องประชุม K102

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการ The MUSC Leader : Strategic & Systemic Thinking for HPO ครั้งที่ 2 เพื่อสร้างเข้าใจอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับแนวคิด Strategic Thinking ในด้านกระบวนการคิดอย่างมีระบบและการมองการณ์ไกล เพื่อสร้างความได้เปรียบอย่างยั่งยืนในสังคมโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง Read More »

หน่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคล สังกัดงานบริหารธุรการ คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการปฐมนิเทศบุคลากรใหม่ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2568 เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กร พร้อมทั้งเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคลากรใหม่ด้วยกัน

       9 กรกฎาคม 2568 หน่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคล สังกัดงานบริหารธุรการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการ ปฐมนิเทศบุคลากรใหม่ ครั้งที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2568 ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้บุคลากรใหม่มีความรู้ความเข้าใจบริบทขององค์กร ระบบบริหารงาน วัฒนธรรมองค์กร สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการที่พึงได้รับ ได้รับความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร และเพื่อเป็นโอกาสที่บุคลากรใหม่ได้มีโอกาสทำความรู้จักและสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ร่วมงานใหม่ อันจะส่งผลดีต่อการประสานความร่วมมือในการปฏิบัติงานต่อไป โดยในช่วงพิธีเปิดโครงการฯ ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชชุดา พยุหกฤษ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล มาเป็นประธานกล่าวเปิดงาน ซึ่งในครั้งนี้ ได้มีบุคลากรสายวิชาการ และ บุคลากรสายสนับสนุน เข้าร่วมโครงการกันอย่างคับคั่ง        ซึ่งในช่วงของการจัดโครงการฯ ได้มีการดำเนินกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมแนะนำตัวพนักงานใหม่ เพื่อก่อให้เกิดความผูกพันต่อองค์กรและภายในหมู่คณะ

หน่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคล สังกัดงานบริหารธุรการ คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการปฐมนิเทศบุคลากรใหม่ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2568 เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กร พร้อมทั้งเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคลากรใหม่ด้วยกัน Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการ The MUSC Leader : Strategic & Systemic Thinking for HPO (ผู้นำเชิงกลยุทธ์และเชิงระบบเพื่อความเป็นเลิศขององค์กร) เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด Strategic Thinking และ Systemic Thinking ในระดับองค์กร พร้อมทั้งเสริมสร้างทักษะของผู้นำในการมองเชิงกลยุทธ์ วิเคราะห์ระบบ และขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน

       3 กรกฎาคม 2568 งานแผนและพัฒนาคุณภาพ ร่วมกับ งานบริหารธุรการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัด โครงการ The MUSC Leader : Strategic & Systemic Thinking for HPO (ผู้นำเชิงกลยุทธ์และเชิงระบบเพื่อความเป็นเลิศขององค์กร) ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับแนวคิด Strategic Thinking และ Systemic Thinking ในระดับองค์กร และเสริมสร้างทักษะของผู้นำในการมองเชิงกลยุทธ์ วิเคราะห์ระบบ และขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน เพื่อนำไปสู่การพัฒนากลไกความคิดและเครื่องมือในการบริหารแบบองค์รวมที่สามารถประยุกต์ใช้ในคณะฯ ไปจนถึงการออกแบบ Action Plan ที่สามารถนำไปใช้จริงเพื่อขับเคลื่อน HPO ภายในคณะฯ ได้ต่อไป        ซึ่งตลอดระยะเวลาของการจัดโครงการ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการ The MUSC Leader : Strategic & Systemic Thinking for HPO (ผู้นำเชิงกลยุทธ์และเชิงระบบเพื่อความเป็นเลิศขององค์กร) เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด Strategic Thinking และ Systemic Thinking ในระดับองค์กร พร้อมทั้งเสริมสร้างทักษะของผู้นำในการมองเชิงกลยุทธ์ วิเคราะห์ระบบ และขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล เข้าร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลเนื่องในโอกาสครบรอบ 44 ปี วันสถาปนามูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

       1 กรกฎาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.วิฑูร แสงศิริสุวรรณ รองคณบดี เป็นผู้แทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เข้าร่วม พิธีบำเพ็ญกุศลเนื่องในโอกาสครบรอบ 44 ปี วันสถาปนามูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อสานความสัมพันธ์อันดีระหว่าง 2 ส่วนงานที่มีมาอย่างยาวนาน โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ศรายุธ แสงจันทร์ กรรมการและเหรัญญิก มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดลฯ มาร่วมให้การต้อนรับ ณ สำนักงานมูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดลฯ ชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ก่อนร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายสังฆทาน จตุปัจจัยไทยธรรม ซึ่งภายในงานได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และประธานกรรมการมูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล มาร่วมเป็นประธานในพิธี และนอกจากนี้ เนื่องในโอกาสครบรอบ 44 ปี ทางคณะวิทยาศาสตร์ ยังได้มีการร่วมบริจาคเงินสมทบทุนแก่มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล เข้าร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลเนื่องในโอกาสครบรอบ 44 ปี วันสถาปนามูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และภาควิชาพยาธิชีววิทยา เข้าร่วมการประชุมวิชาการประจำปี 2568 ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี Ramathibodi Pathology Academic Conference (RPAC 2025) : 60th Anniversary & Exploring New Frontier in Pathology

       30 มิถุนายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.นิศามณี เจริญชนม์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษานานาชาติ และ ผู้แทนคณาจารย์จากภาควิชาพยาธิชีววิทยา ได้แก่ อาจารย์ ดร.นิวัฒน์ กังวานรังสรรค์ หัวหน้าภาควิชา, อาจารย์ ดร. แพทย์หญิงธิติปฏิมา สกุลเทอดเกียรติ, อาจารย์ ดร.เยาวรินทร์ นครภักดี, อาจารย์ ดร.ธนาลัย พูลศิริ และนักวิจัย ดร. ธาราทิพย์ เมืองทอง เข้าร่วมการประชุมวิชาการประจำปี 2568 ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี Ramathibodi Pathology Academic Conference (RPAC 2025) : 60th Anniversary & Exploring New

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และภาควิชาพยาธิชีววิทยา เข้าร่วมการประชุมวิชาการประจำปี 2568 ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี Ramathibodi Pathology Academic Conference (RPAC 2025) : 60th Anniversary & Exploring New Frontier in Pathology Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก National Sun Yat-sen University และ Kaohsiung Medical University สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และหารือความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัย

       25 มิถุนายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.เทียนทอง ทองพันชั่ง หัวหน้าภาควิชาเคมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตินันท์ สำราญวานิช ผู้แทนจากภาควิชาชีววิทยา และรองศาสตราจารย์ ดร.กิตติวิทย์ มาแทน ผู้แทนจากภาควิชาฟิสิกส์ ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก College of Science, National Sun Yat-sen University นำโดย Prof. Jyh-Tsung Lee, Dean Prof. Chun-Hu Chen Prof. Vincent C.-C. Wang Dist. และ Dist. Prof. Lan-Chang Liang

คณะวิทย์ ม.มหิดล ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก National Sun Yat-sen University และ Kaohsiung Medical University สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และหารือความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัย Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมให้การต้อนรับกรรมการสภากาชาดไทยและผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (CP) ในโอกาสเข้าร่วมเจรจาหารือความร่วมมือด้านความมั่นคงทางชีวเวชภัณฑ์ของประเทศไทย

       27 มิถุนายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี และ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นพ.พรชัย มาตังคสมบัติ ที่ปรึกษาคณบดี พร้อมด้วยทีมผู้บริหาร ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม, รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และ อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ และผู้แทนคณาจารย์จากภาควิชาจุลชีววิทยา ได้แก่ รองศาสตราจารย์ พญ.อรุณี ธิติธัญญานนท์ หัวหน้าภาควิชา, รองศาสตราจารย์ ดร.พรพรรณ มาตังคสมบัติ ชูพงศ์ รองหัวหน้าภาควิชา, รองศาสตราจารย์ ดร.ภากร เอี้ยวสกุล อาจารย์ประจำภาควิชา และผู้แทนจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (CEMB) ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย เชื้อวัชรินทร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมให้การต้อนรับกรรมการสภากาชาดไทยและผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (CP) ในโอกาสเข้าร่วมเจรจาหารือความร่วมมือด้านความมั่นคงทางชีวเวชภัณฑ์ของประเทศไทย Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Essential and Practical Guidelines for Preparing Horizon Europe 2025 Proposals” เพื่อชี้แจงข้อมูลและลำดับความสำคัญเกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์ “Horizon Europe Strategic Plan 2025 – 2027” และนโยบายของสหภาพยุโรปในหัวข้อ “Choose Europe” ที่ได้มีการปรับปรุงใหม่

       25 มิถุนายน 2568 งานวิจัยและนวัตกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Essential and Practical Guidelines for Preparing Horizon Europe 2025 Proposals” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงข้อมูลและลำดับความสำคัญเกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์ “Horizon Europe Strategic Plan 2025 – 2027” ฉบับใหม่ ที่พึ่งได้รับการตีพิมพ์ไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ควบคู่ไปกับนโยบายของสหภาพยุโรปในหัวข้อ “Choose Europe” ที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขใหม่เช่นกัน ซึ่งทางสหภาพยุโรปได้ถูกแต่งตั้งในฐานะพันธมิตรที่มีความเชื่อถือในด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงเป็นตัวกลางในเรื่องของการระดมทุนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักวิจัยในกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและอาเซียนอีกด้วย ดังนั้นการจัดสัมมนาในครั้งนี้ จึงถือเป็นการสร้างความเข้าใจและตอบข้อสงสัยต่าง ๆ ให้กับคณาจารย์และนักวิจัย เพื่อให้เกิดการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์ที่กำหนดขึ้นมาใหม่ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มาเป็นผู้กล่าวต้อนรับ และ K.R.M.H. Tatas H.P. Brotosudarmo, Ph.D

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “Essential and Practical Guidelines for Preparing Horizon Europe 2025 Proposals” เพื่อชี้แจงข้อมูลและลำดับความสำคัญเกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์ “Horizon Europe Strategic Plan 2025 – 2027” และนโยบายของสหภาพยุโรปในหัวข้อ “Choose Europe” ที่ได้มีการปรับปรุงใหม่ Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก Kaohsiung Medical University สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) พร้อมหารือความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัย

       23 มิถุนายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ และ ผู้แทนจากภาควิชาจุลชีววิทยา ได้แก่ รองศาสตราจารย์ พญ.อรุณี ธิติธัญญานนท์ หัวหน้าภาควิชา รองศาสตราจารย์ ดร.พรพรรณ มาตังคสมบัติ ชูพงศ์ รองหัวหน้าภาควิชา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิมพ์วรา วัชราทิตย์ และ อาจารย์ ดร.รัชรา กาละวงค์ อาจารย์ประจำภาควิชา ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก Kaohsiung Medical University (KMU) สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) นำโดย Prof. Po-Liang Lu, Dean, College of Medicine Prof. Jau-Ling Suen, Director, Graduate Institute of Medicine,

คณะวิทย์ ม.มหิดล ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจาก Kaohsiung Medical University สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) พร้อมหารือความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัย Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุมภาคีความร่วมมือวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ไทย (Thailand Science and Engineering Consortium – TSEC) ครั้งที่ 3 พร้อมร่วมเยี่ยมชมและหารือความร่วมมือกับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

       22 – 23 มิถุนายน พ.ศ. 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี และ รองศาสตราจารย์ ดร.เทียนทอง ทองพันชั่ง หัวหน้าภาควิชาเคมี เข้าร่วมการประชุมภาคีความร่วมมือวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ไทย (Thailand Science and Engineering Consortium – TSEC) ครั้งที่ 3 พร้อมด้วยภาคีความร่วมมือ ได้แก่ สภาคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (สควทท.) และ สภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย อีกทั้งยังได้ร่วมเยี่ยมชมและหารือความร่วมมือกับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ณ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ของประเทศ รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ วิจัย และนวัตกรรม ระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานวิจัย และภาคอุตสาหกรรม        โดยในช่วงระยะเวลาของการจัดการประชุม ได้รับเกียรติจาก

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุมภาคีความร่วมมือวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ไทย (Thailand Science and Engineering Consortium – TSEC) ครั้งที่ 3 พร้อมร่วมเยี่ยมชมและหารือความร่วมมือกับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติ The 20th Asian Chemical Congress 2025 จัดโดย สมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อสื่อสารเกี่ยวกับความรับผิดชอบทางด้านวิทยาศาสตร์เคมีในสังคม เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนของโลกต่อไป

       23 มิถุนายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม, รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงใจ นาคะปรีชา อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี และ รองศาสตราจารย์ ดร.สุภาวดี เกียรติเสวี อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี เข้าร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติ The 20th Asian Chemical Congress (20ACC) 2025 หรือ ASIACHEM 2025 ภายใต้หัวข้อการประชุม “Responsible Chemical Sciences for World Sustainability” ในระหว่างวันที่ 23 – 27 มิถุนายน 2568 ณ โรงแรมเดอะเบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ จัดโดย สมาคมเคมีแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติ The 20th Asian Chemical Congress 2025 จัดโดย สมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อสื่อสารเกี่ยวกับความรับผิดชอบทางด้านวิทยาศาสตร์เคมีในสังคม เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนของโลกต่อไป Read More »

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568 : Thailand Research Expo 2025” โดยมีคณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ร่วมทูลเกล้าถวายเมล็ดข้าวอวกาศ จากดาวเทียมวิจัย Shijian-19 และร่วมรับถ้วยรางวัลพระราชทาน ชนะเลิศอันดับ 1 จากผลงาน Chang-E 7 payload ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

       20 มิถุนายน 2568 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ไปเป็นองค์ประธานพิธีเปิดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568” : Thailand Research Expo 2025 ณ ห้องบอลรูม โรงแรมเซนทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ซึ่งจัดโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ ภายใต้แนวคิด “Research for All เชื่อมต่ออนาคตไทย ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่โดดเด่นจากนักวิจัยไทย อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิจัยภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาครัฐ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริง และสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพด้านงานวิจัย ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางการวิจัยและนวัตกรรม        ซึ่งในโอกาสอันดีนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568 : Thailand Research Expo 2025” โดยมีคณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ร่วมทูลเกล้าถวายเมล็ดข้าวอวกาศ จากดาวเทียมวิจัย Shijian-19 และร่วมรับถ้วยรางวัลพระราชทาน ชนะเลิศอันดับ 1 จากผลงาน Chang-E 7 payload ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “AI for Education : นวัตกรรมเพื่อการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัล” เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาประยุกต์ใช้ในด้านการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีจริยธรรม

19 มิถุนายน 2568 หน่วยโสตทัศนูปกรณ์ งานพัฒนาระบบและเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “AI for Education : นวัตกรรมเพื่อการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัล” ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้อาจารย์ นักศึกษา และ ผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา เข้าใจแนวคิดพื้นฐานของเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านการศึกษา เพื่อช่วยพัฒนาและส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้, การพัฒนาสื่อการเรียนรู้, การวัดและประเมินผลการเรียนรู้, การวิเคราะห์และปรับปรุงสื่อการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน และสามารถเสริมสร้างสมรรถนะของผู้เรียนควบคู่ไปพร้อมกันได้ ผ่านการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับจริยธรรมและความปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) อย่างมีความรับผิดชอบอีกด้วย ซึ่งในช่วงแรกของการอบรมได้รับเกียรติจาก นายศุภนันท์ ไกรตะนะ หัวหน้างานพัฒนาระบบและเทคโนโลยี มาเป็นผู้กล่าวต้อนรับและชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการฯ อีกทั้งยังได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติวัฒน์ สุวัตถิพงศ์ อาจารย์ประจำสำนักงานเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มาเป็นผู้บรรยายให้ความรู้ในครั้งนี้ ซึ่งได้มีอาจารย์ นักศึกษา บุคลากรด้านการศึกษา และผู้ที่สนใจ เข้าร่วมการอบรมกันอย่างคับคั่ง   

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “AI for Education : นวัตกรรมเพื่อการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัล” เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาประยุกต์ใช้ในด้านการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีจริยธรรม Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมเสวนา MUSC Business Forum Vol.1 “แลกเปลี่ยนมุมมองจากห้องแล็บสู่บริการวิชาการ” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและเตรียมความพร้อมในด้านการบริการวิจัยและวิเคราะห์ให้ประสบความสำเร็จ

       18 มิถุนายน 2568 หน่วยส่งเสริมนวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจ งานวิจัยและนวัตกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมเสวนา MUSC Business Forum Vol.1 “แลกเปลี่ยนมุมมองจากห้องแล็บสู่บริการวิชาการ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจและเตรียมความพร้อมในด้านการบริการวิจัยและวิเคราะห์ให้ประสบความสำเร็จ ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ซึ่งมีอาจารย์ นักวิจัยและผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกันอย่างคับคั่ง        โดยภายในงานได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มาเป็นผู้กล่าวต้อนรับและผู้ดำเนินรายการ และได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ พญ.อรุณี ธิติธัญญานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา, รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงใจ นาคะปรีชา อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี, รองศาสตราจารย์ ดร.อรชุมา อิฐสถิตไพศาล อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี และ อาจารย์ ดร.สุทธิชัย บุญประสพ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มาเป็นผู้ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองในการให้บริการวิชาการ ในฐานะตัวแทนของคณาจารย์ภายในคณะฯ

คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรมเสวนา MUSC Business Forum Vol.1 “แลกเปลี่ยนมุมมองจากห้องแล็บสู่บริการวิชาการ” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและเตรียมความพร้อมในด้านการบริการวิจัยและวิเคราะห์ให้ประสบความสำเร็จ Read More »

ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ และสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการเสวนาทางวิชาการ ปอมท. ครั้งที่ 1/2568 เรื่อง “นโยบาย ทิศทาง และขั้นตอนในการพิจารณาการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ”

       10 มิถุนายน 2568 ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ และ สภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการเสวนาทางวิชาการ ปอมท. ครั้งที่ 1/2568 เรื่อง “นโยบาย ทิศทาง และขั้นตอนในการพิจารณาการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณาจารย์รับทราบนโยบาย ทิศทาง และขั้นตอนในการพิจารณาการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่เป็นปัจจุบัน และสามารถวางแผนในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท อีกทั้งยังมีการถ่ายทอดสด ผ่านทาง WebEx Webinar และ FB Fanpage : ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย – ปอมท. ซึ่งได้มีคณาจารย์ บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ และผู้ที่สนใจ เข้าร่วมกันอย่างคับคั่ง ทั้งใน Online และ On-site      

ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ และสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการเสวนาทางวิชาการ ปอมท. ครั้งที่ 1/2568 เรื่อง “นโยบาย ทิศทาง และขั้นตอนในการพิจารณาการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย จัดกิจกรรมการบรรยายในหัวข้อเรื่อง “Research and Study Opportunities in France” เพื่อต่อยอดโอกาสทางการวิจัยและการศึกษาต่อในประเทศฝรั่งเศส

       9 มิถุนายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย งานวิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย จัดกิจกรรมการบรรยายในหัวข้อเรื่อง “Research and Study Opportunities in France” เพื่อต่อยอดโอกาสทางการวิจัยและการศึกษาต่อในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.ลูโดวิค อองเดรส (Dr. Ludovic Andres) ผู้ช่วยทูตฝ่ายความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และอุดมศึกษา สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย มาเป็นวิทยากรบรรยาย ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท        ซึ่งภายในงานได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มาเป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดการบรรยายในครั้งนี้ จากนั้นในลำดับต่อมาได้มีการบรรยายในหัวข้อเรื่อง Research and Study Opportunities in France โดย ดร.ลูโดวิค อองเดรส

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย จัดกิจกรรมการบรรยายในหัวข้อเรื่อง “Research and Study Opportunities in France” เพื่อต่อยอดโอกาสทางการวิจัยและการศึกษาต่อในประเทศฝรั่งเศส Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ร่วมงานฉลองครบรอบ 60 ปี คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อสุขภาวะดีอย่างยั่งยืน

       5 มิถุนายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.วิฑูร แสงศิริสุวรรณ รองคณบดี เป็นผู้แทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมแสดงความยินดีใน งานฉลองครบรอบ 60 ปี คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อสุขภาวะดีอย่างยั่งยืน เพื่อสานความสัมพันธ์อันดีระหว่าง 2 ส่วนงานที่มีมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองความสำเร็จของคณะกายภาพบำบัดที่มีต่อการพัฒนาวิชาชีพกายภาพบำบัดตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา และเพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจ ความผูกพันของบุคลากร ศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบัน รวมถึงนักกายภาพบำบัดจากทั่วประเทศไทย ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์วิชาชีพ สร้างเครือข่ายและความร่วมมือ ทั้งด้านการศึกษา วิจัย บริการวิชาการระหว่างสถาบันต่าง ๆ ไปจนถึงองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ให้บูรณาการงานต่าง ๆ ร่วมกันในอนาคต เพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิชาชีพ และคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อไป โดยได้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “เรียนรู้จาก 6 ทศวรรษ นำกายภาพบำบัดมุ่งสร้างสุขภาวะอย่างยั่งยืน” ณ ห้องศาสตราจารย์นายแพทย์เฟื่อง สัตย์สงวน ชั้น 3 คณะกายภาพบำบัด

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ร่วมงานฉลองครบรอบ 60 ปี คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อสุขภาวะดีอย่างยั่งยืน Read More »

ศูนย์กลางด้านความรู้ด้านเทคโนโลยีการวิเคราะห์อาหาร สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรชีวภาพ ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี คณะวิทย์ ม.มหิดล และ บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) จัดสัมมนา The Future Food Mini-Symposium ภายใต้หัวข้อ “Future Food : อาหารแห่งอนาคต”

       4 มิถุนายน 2568 ศูนย์กลางด้านความรู้ด้านเทคโนโลยีการวิเคราะห์อาหาร สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรชีวภาพ (Hub of Knowledge in Technology of Analysis for Food, Environment and Bioresources) ภายใต้ทุนอุดหนุนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรม The Future Food Mini-Symposium ภายใต้หัวข้อ “Future Food : อาหารแห่งอนาคต” เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านอาหาร, สิ่งแวดล้อม, ทรัพยากรชีวภาพ, เทคโนโลยี, งานวิจัย และนวัตกรรม ร่วมกัน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม

ศูนย์กลางด้านความรู้ด้านเทคโนโลยีการวิเคราะห์อาหาร สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรชีวภาพ ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี คณะวิทย์ ม.มหิดล และ บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) จัดสัมมนา The Future Food Mini-Symposium ภายใต้หัวข้อ “Future Food : อาหารแห่งอนาคต” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ โรงเรียนมัธยมศึกษาทั้ง 7 แห่ง ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อยกระดับการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนจากระดับมัธยมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา

       29 พฤษภาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรีในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ, เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์, โรงเรียนโรงเรียนวัดบวรนิเวศ, โรงเรียนศรีบุณยานนท์, โรงเรียนสามัคคีวิทยา และ โรงเรียนสายน้ำผึ้ง จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ณ ห้องประชุม SC2-220 ชั้น 2 อาคารวิทยาศาสตร์ 2 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เพื่อยกระดับการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนจากระดับมัธยมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา พร้อมทั้งเพื่อพัฒนาหลักสูตรในระดับปริญญาตรีให้มีความเท่าทันต่อสังคมในปัจจุบัน รวมไปถึงเพื่อเป็นการรองรับความต้องการของผู้เรียนและตอบสนองต่อสังคมในภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย        โดยในโอกาสนี้ทาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี และ รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและศาลายา พร้อมด้วยผู้อำนวยการจากโรงเรียนทั้ง 7 แห่ง ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ก่อนที่จะร่วมรับฟังข้อมูลในด้านของการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ โรงเรียนมัธยมศึกษาทั้ง 7 แห่ง ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อยกระดับการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนจากระดับมัธยมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ และองค์การเภสัชกรรม ร่วมพูดคุยหารือความร่วมมือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรบัณฑิตศึกษา และการให้บริการด้านวิชาการและงานวิจัยในอนาคตร่วมกัน

       30 พฤษภาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพ.พรรษกร ตันรัตนะ รองคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา ร่วมพูดคุยหารือความร่วมมือด้านการพัฒนาหลักสูตรบัณฑิตศึกษา ร่วมกับ องค์การเภสัชกรรม (GPO) ซึ่งนำโดย พญ.มิ่งขวัญ สุพรรณพงศ์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 4 อาคารอำนวยการ องค์การเภสัชกรรม โดยมีประเด็นในการหารือเกี่ยวกับการมุ่งพัฒนาหลักสูตรบัณฑิตศึกษาในด้านของ Antiaging and longevity science การดูแลสุขภาพแนวใหม่ ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนได้หลากหลายกลุ่ม ซึ่งหากมองในด้านของกลุ่มวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนจะสามารถนำเอาองค์ความรู้จากหลักสูตร ไปประยุกต์ใช้ในการดูเเลสุขภาพของตนเอง และคนในครอบครัวได้ รวมไปถึงยังจะเป็นการช่วยเตรียมความพร้อมทางด้านของสาธารณสุขและสังคมที่ต้องรองรับสังคมผู้สูงอายุในอนาคตอันใกล้อีกด้วย โดยภาพรวมของตัวหลักสูตรจะมีการพัฒนาให้มีความสอดคล้องไปกับแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของชาติในเรื่องของ Medical Tourism ผนวกกับแนวคิดของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้มีการมุ่งพัฒนาบัณฑิตที่จบไปให้มีความพร้อมต่อสังคมโลกในปัจจุบัน โดยมีความคาดหวังว่าบัณฑิตที่จบไป จะมีการกระจายนำความรู้เข้าสู่ชุมชนของตนและสังคมในวงกว้างเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้    

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ และองค์การเภสัชกรรม ร่วมพูดคุยหารือความร่วมมือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรบัณฑิตศึกษา และการให้บริการด้านวิชาการและงานวิจัยในอนาคตร่วมกัน Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมทบทวนการดับเพลิงขั้นต้นแบบรายชั้น และอบรมแผนรองรับสถานการณ์แผ่นดินไหว สำหรับอาคารชีววิทยา เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ในเชิงทฤษฎีสำหรับการปฏิบัติตนตามแผนการป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ

       29 พฤษภาคม 2568 งานบริหารและธุรการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมทบทวนการดับเพลิงขั้นต้นแบบรายชั้น และอบรมแผนรองรับสถานการณ์แผ่นดินไหว สำหรับอาคารชีววิทยา (อาคาร B) ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ในทฤษฎีการเกิดเพลิงไหม้และการเผชิญกับสถานการณ์แผ่นดินไหวอย่างถูกต้อง ไปจนถึงวิธีการวางแผนป้องกันเพื่อระงับเหตุการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการเอาตัวรอดจากเหตุเพลิงไหม้ผ่านวิธีการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงและวิธีการดับเพลิงในลักษณะต่าง ๆ รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์แผ่นดินไหวที่อาจจะเกิดขึ้น การตรวจสอบอาคาร ที่อนู่อาศัย หลังแผ่นดินไหว สำหรับผู้ใช้อาคาร ผู้บริหารอาคาร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย และวิศวกรอาคาร ซึ่งในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก คุณคณภรณ์ เข็มทอง หัวหน้างานบริหารและธุรการวิทยากร มาเป็นผู้บรรยายให้ความรู้ โดยมีบุคลากรที่ประจำการ ณ อาคารชีววิทยา ให้การตอบรับเข้าร่วมการอบรมเป็นอย่างดี        ซึ่งเนื้อหาการจัดอบรมในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย การประเมินความรุนเเรงเบื้องต้นเเละระยะของการเกิดเหตุเพลิงไหม้, การปฏิบัติตามเเผนการรองรับการเกิดอัคคีภัย, การเเจ้งเหตุขอความช่วยเหลือ, แผนผังความปลอดภัยประจำอาคาร, การตรวจสอบความพร้อมเเละฝึกการใช้งานเครื่องดับเพลิง, การตรวจสอบความพร้อมเเละฝึกการใช้งานสายดับเพลิง fire hose

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมทบทวนการดับเพลิงขั้นต้นแบบรายชั้น และอบรมแผนรองรับสถานการณ์แผ่นดินไหว สำหรับอาคารชีววิทยา เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ในเชิงทฤษฎีสำหรับการปฏิบัติตนตามแผนการป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ประจำปี 2568 เพื่อส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้ในการช่วยเหลือผู้ที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น และผู้ที่เกิดภาวะสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจในสถานการณ์ต่าง ๆ

       28 พฤษภาคม 2568 งานบริหารและธุรการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการ ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ประจำปี 2568 โดยได้รับเกียรติจากทีม BEAT CPR TRAINING CENTER มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ซึ่งการจัดอบรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรภายในคณะวิทยาศาสตร์ ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญขององค์ความรู้ในการช่วยเหลือผู้ที่เกิดภาวะสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ และการช่วยเหลือจากภาวะหัวใจหยุดเต้นด้วยการทำ CPR การใช้เครื่อง AED การตระหนักถึงความอันตรายของการเกิดภาวะสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ และภาวะสมองขาดออกซิเจน อีกทั้งยังเพื่อเป็นการระดมความร่วมมือสำหรับบุคลากรภายในให้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างความตระหนัก และร่วมพัฒนาในด้านของการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้เผยแพร่ได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในการช่วยเหลือผู้ที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น และผู้ที่เกิดภาวะสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ต่อไป ซึ่งมีประเด็นหัวข้อในการอบรมดังนี้ การเรียนรู้และการประเมินสถานการณ์ของผู้ป่วยอย่างรวดเร็วและแม่นยำ วิธีการสังเกตและลงมือช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน การทำ High-Quality CPR ที่จะเพิ่มโอกาสในการรชีวิตสูงสุด ให้แก่ผู้ป่วยตามมาตรฐานล่าสุดของสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา เทคนิคการเปิดทางเดินหายใจ การทำ CPR ในสถานการณ์ที่มีผู้ช่วยเหลือคนเดียวและหลายคน การใช้เครื่อง AED (เครื่องกระตุกคลื่นไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ)

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ประจำปี 2568 เพื่อส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้ในการช่วยเหลือผู้ที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น และผู้ที่เกิดภาวะสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจในสถานการณ์ต่าง ๆ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานประชุมวิชาการและอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ “mRNA as genetic medicines: the next-generation biologics toward ATMPs and vaccines” ภายใต้โครงการ Reinventing University ของสำนักงานปลัดกระทรวง อว.

       26 – 29 พฤษภาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานประชุมวิชาการและอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ “mRNA as genetic medicines: the next-generation biologics toward ATMPs and vaccines” ภายใต้การสนับสนุนโดยโครงการ พลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการเตรียมความพร้อมของ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการเป็นผู้นำของประเทศด้านการพัฒนานวัตกรรม ATMP ผ่านหน่วยวิจัยเซลล์และยีนบำบัด (Center for Cell And Gene Therapy: CAGT) และการนำเสนอความก้าวหน้าและแนวโน้มของเทคโนโลยี ATMP ในกลุ่ม mRNA และ CAR T cells

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานประชุมวิชาการและอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ “mRNA as genetic medicines: the next-generation biologics toward ATMPs and vaccines” ภายใต้โครงการ Reinventing University ของสำนักงานปลัดกระทรวง อว. Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล กับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมร่วมประชุมหารือความร่วมมือในด้านงานวิจัย นวัตกรรม และการศึกษา

       22 พฤษภาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และ รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และ รองศาสตราจารย์ ดร.ดำรงค์ อดุลยฤทธิกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมทั้งร่วมประชุมหารือความร่วมมือ ณ ห้อง Grand Auditorium ชั้น 4 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ซึ่งในโอกาสนี้ ทางคณะผู้บริหารได้มีการร่วมแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ในการบริหารมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมทั้ง เข้าร่วมการเสวนาภาพรวมความร่วมมือของสองมหาวิทยาลัย ด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม วิจัย

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล กับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมร่วมประชุมหารือความร่วมมือในด้านงานวิจัย นวัตกรรม และการศึกษา Read More »

ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม “Biotech Mahidol Grad OPEN HOUSE 2025” เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทำความรู้จักกับคณาจารย์ รุ่นพี่ศิษย์ปัจจุบัน พร้อมร่วมแนะแนวการศึกษาเพื่อต่อยอดสู่งานวิจัยและอาชีพในอนาคต

       19 พฤษภาคม 2568 ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม “Biotech Mahidol Grad OPEN HOUSE 2025” ณ อาคาร MUSES ชั้น 3 ห้อง 301 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ในรูปแบบ Onsite และ Online โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ แนะนำแนวทางในการประกอบอาชีพ ความก้าวหน้าในสายงาน และความสำคัญในการเรียนต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในยุคปัจจุบันจากคณาจารย์ รุ่นพี่ศิษย์ปัจจุบัน และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอก รวมไปถึงเป็นการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับทุนการศึกษา และงานวิจัยในสาขาต่าง ๆ ของภาควิชา ตลอดจนเพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษา เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอกของภาควิชา อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษารุ่นพี่ และนักศึกษารุ่นน้อง รวมไปถึงคณาจารย์ภายในภาควิชาอีกด้วย        ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี หัวหน้าภาควิชาภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ร่วมกับตัวแทนคณาจารย์และเจ้าหน้าที่สายสนับบสนุนจากภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทย์ ม.มหิดล จัดกิจกรรม “Biotech Mahidol Grad OPEN HOUSE 2025” เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทำความรู้จักกับคณาจารย์ รุ่นพี่ศิษย์ปัจจุบัน พร้อมร่วมแนะแนวการศึกษาเพื่อต่อยอดสู่งานวิจัยและอาชีพในอนาคต Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเจรจาหารือความร่วมมือด้านการศึกษา วิจัยและนวัตกรรม กับมหาวิทยาลัยชั้นนำ ณ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)

       13 พฤษภาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม, อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพ.พรรษกร ตันรัตนะ รองคณบดีฝ่ายแพทยศาสตร์และบัณฑิตศึกษา, รองศาสตราจารย์ ดร.กรกนก บุญวงษ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษา และ อาจารย์ ดร.นิศามณี เจริญชนม์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษานานาชาติ และ นางสาวน้องนุช ประสมคำ หัวหน้างานความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้เดินทางไปร่วมเจรจาหารือความร่วมมือด้านการศึกษา วิจัยและนวัตกรรม กับมหาวิทยาลัยชั้นนำ ณ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) โดยในช่วงเช้าได้เดินทางไปยัง College of Science, National Taiwan University (NTU) โดยมี

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเจรจาหารือความร่วมมือด้านการศึกษา วิจัยและนวัตกรรม กับมหาวิทยาลัยชั้นนำ ณ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนาม MOU ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, College of Medical and Dental Sciences : University of Birmingham และ Centre for Anatomy and Human Identification : University of Dundee เพื่อยกระดับการศึกษากายวิภาคศาสตร์ของประเทศไทยให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล

       6 พฤษภาคม 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา วีรชาติยานุกูล รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและศาลายา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อธิคุณ สุวรรณขันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ภัทรพงษ์ มกรเวส คณบดีคณะแพทยศาสตร์ และสองมหาวิทยาลัยชั้นนำจากสหราชอาณาจักร College of Medical and Dental Sciences : University of Birmingham และ Centre for Anatomy and Human Identification : University of Dundee นำโดย Professor Tracey Wilkinson : Sands

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนาม MOU ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, College of Medical and Dental Sciences : University of Birmingham และ Centre for Anatomy and Human Identification : University of Dundee เพื่อยกระดับการศึกษากายวิภาคศาสตร์ของประเทศไทยให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล Read More »

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมงาน Safety Day รณรงค์อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ครั้งที่ 9 พร้อมรับมอบของเชิงสัญลักษณ์ด้านความปลอดภัยประจำส่วนงาน และรางวัลเชิดชูเกียรติในการดำเนินการด้านความปลอดภัย ประจำปี 2567

       28 เมษายน 2568 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้แทนเข้าร่วมงาน Safety Day รณรงค์อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ครั้งที่ 9 พร้อมรับมอบของเชิงสัญลักษณ์ด้านความปลอดภัยประจำส่วนงาน เพื่อเป็นเกียรติและแสดงถึงความมุ่งมั่นในการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดภายในส่วนงานต่อไป พร้อมทั้งเป็นผู้แทนในการรับรางวัลเชิดชูเกียรติในการดำเนินการด้านความปลอดภัย ประจำปี 2567 ซึ่งจัดโดย ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (COSHEM) มหาวิทยาลัยมหิดล ณ โถงรับรอง (Foyer) อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา        โดยภายในงานได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นพ.ปิยะมิตร ศรีธารา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิทธิโชติ จักรไพวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้กล่าวรายงานเป้าหมายของการจัดงาน ก่อนร่วมกันถ่ายภาพกับคณะผู้บริหารส่วนงาน พร้อมทั้งรับมอบของเชิงสัญลักษณ์ด้านความปลอดภัยประจำส่วนงาน     

คณะวิทย์ ม.มหิดล เข้าร่วมงาน Safety Day รณรงค์อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ครั้งที่ 9 พร้อมรับมอบของเชิงสัญลักษณ์ด้านความปลอดภัยประจำส่วนงาน และรางวัลเชิดชูเกียรติในการดำเนินการด้านความปลอดภัย ประจำปี 2567 Read More »