Teerathep Kaewmanee

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

           1 มิถุนายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี โดยมีคณะผู้บริหารนำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี คณาจารย์ และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมกันแต่งกายด้วยชุดสุภาพโทนสีม่วงเข้าร่วมพิธี ณ อาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท             สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ปฏิบัติงานถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยความวิริยอุตสาหะและความจงรักภักดี ทรงใส่พระราชหฤทัยในทุกข์สุขของประชาชนเสมอมาในฐานะสมเด็จพระราชินี ทั้งมีพระปรีชาสามารถด้านการทหารเป็นที่ประจักษ์แก่ผองพสกนิกร ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการศาสนา ด้านการทหาร ด้านการศึกษา และสาธารณสุข เป็นแบบอย่างแห่งสตรีไทยที่พรั่งพร้อมไปด้วยจริยวัตรที่งดงาม ทรงรับเป็นพระราชภารกิจสำคัญที่จะดูแลชีวิตความเป็นอยู่ตลอดจนบรรเทาความทุกข์ยากเดือดร้อนของอาณาประชาราษฎร์ เขียนข่าว : นายธีรเทพ แก้วมณีตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย: นาย นภาศักดิ์ ผลพานิชเว็บมาสเตอร์: นายธีรเทพ แก้วมณีวันที่ 1 […]

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี Read More »

คณะวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นนานาชาติ สำหรับนักศึกษานานาชาติในระดับบัณฑิตศึกษาและนักวิจัยหลังปริญญาเอก “International Day: Getting to Know You”

            คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานความร่วมมือระหว่างประเทศ จัดกิจกรรมส่งเสริมความเป็นนานาชาติ สำหรับนักศึกษานานาชาติในระดับบัณฑิตศึกษาและนักวิจัยหลังปริญญาเอกของคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้กิจกรรมชื่อ  “International Day: Getting to Know You”  ในวันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุม K102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ ระหว่างเวลา 11.30 – 13.30 น. โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ให้การต้อนรับนักศึกษา พร้อมกับ ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี ให้เกียรติเข้าร่วมกิจกรรมด้วย             โดยกิจกรรม

คณะวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นนานาชาติ สำหรับนักศึกษานานาชาติในระดับบัณฑิตศึกษาและนักวิจัยหลังปริญญาเอก “International Day: Getting to Know You” Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมการศึกษาดูงานให้กับอาจารย์และนักศึกษาชาวต่างชาติ จาก Vrije University Amsterdam ประเทศเนเธอร์แลนด์

          วันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพงษ์ จอห์นส์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี ให้การต้อนรับและจัดกิจกรรมการศึกษาดูงานให้กับอาจารย์และนักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขา Medical Natural Sciences และ Biomedical Technology and Physics  จำนวน 25 ราย จาก Vrije University Amsterdam (VU Amsterdam) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ณ ห้องประชุม RF5 อาคารเคมี           โดยการศึกษาดูงานในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ ศึกษาโอกาสความเป็นไปได้ในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนนักศึกษา และพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นร่วมกัน รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลด้านการทำงานในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และหลักสูตร Medical Natural

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมการศึกษาดูงานให้กับอาจารย์และนักศึกษาชาวต่างชาติ จาก Vrije University Amsterdam ประเทศเนเธอร์แลนด์ Read More »

สมาคมศิษย์เก่า คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล และผู้บริหารคณะวิทย์ ม.มหิดล เฝ้าทูลละอองพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินรายได้ส่วนหนึ่งจากการแข่งขันกอล์ฟการกุศลชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

          เมื่อวันอังคารที่ 11 เมษายน 2566 เวลา 14.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จออก ณ วังสระปทุม พระราชทานพระราชวโรกาสให้ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พรชัย มาตังคสมบัติ นายกสมาคมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ และผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เฝ้าทูลละอองพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินรายได้ส่วนหนึ่งจากการแข่งขันกอล์ฟการกุศลชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย  https://news.ch7.com/detail/636830

สมาคมศิษย์เก่า คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล และผู้บริหารคณะวิทย์ ม.มหิดล เฝ้าทูลละอองพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินรายได้ส่วนหนึ่งจากการแข่งขันกอล์ฟการกุศลชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2566

          10 เมษายน 2566 เวลา 08:30 น. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมสืบสานงานประเพณีสงกรานต์ เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามของไทย และจัดพิธีทำบุญประจำปี 2566 โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี เป็นประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พร้อมด้วยผู้บริหาร ผู้เกษียณอายุงาน คณาจารย์ และผู้ปฏิบัติงานชาวคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมทำบุญถวายเครื่องไทยธรรมแด่พระภิกษุสงฆ์จากวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร จำนวน 9 รูป ณ บริเวณลานตึกกลม และร่วมพิธีทำบุญตักบาตรอาหารแห้ง บริเวณซุ้มทางเดินเฟื่องฟ้า           ก่อนเข้าสู่พิธีแสดงมุทิตาจิต รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ในเวลา 10:30 น. ณ บริเวณลานตึกกลม เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อผู้อาวุโส รวมทั้งเป็นการอนุรักษ์สืบสานประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และเป็นสิริมงคลในวันขึ้นปีใหม่ไทย โดยในปีนี้มีอาจารย์ผู้อาวุโสให้เกียรติมาร่วมพิธี จำนวน 10 ท่าน ได้แก่

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2566 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง ในพระราชูปถัมภ์ ฯ

          14 มีนาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และพระมหาธนศักดิ์ ชื่นสว่าง ผู้จัดการโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ร่วมพิธีลงนามทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โครงการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการ           โดยรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือการสร้างพันธมิตร และผมเชื่อว่าโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ที่ให้ความสนใจด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาเยาวชนคนรุ่นใหม่ มีจุดมุ่งหมายร่วมกันกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และการที่เรามีความร่วมมือกันอย่างเป็นทางการจะเสริมให้เกิดประโยชน์หลากหลายด้านในอนาคต ผมเชื่อว่า MOU นี้จะเกิดประโยชน์กับทุก ๆ ฝ่าย           ในโอกาสอันดีนี้ คณะผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง ในพระราชูปถัมภ์ ฯ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมสมทบทุนสนับสนุนจากศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ปทุมรัตน์ ตู้จินดา จัดซื้อรถเข็นไฟฟ้าสำหรับผู้พิการให้แก่นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์

          28 กุมภาพันธ์ 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมสมทบทุนกับศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ปทุมรัตน์ ตู้จินดา จัดซื้อรถเข็นไฟฟ้าสำหรับผู้พิการและมอบให้กับนางสาวสุนันทา เขียวกระจ่าง นิสิตชั้นปีที่ 3 ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล           โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  และศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ปทุมรัตน์ ตู้จินดา เป็นผู้ส่งมอบรถเข็นไฟฟ้าให้กับนิสิตและผู้ปกครอง ณ บริเวณหน้าอนุสรณ์สถาน ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท                    รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “เป็นเรื่องของการดูแล เพื่อให้นักศึกษาที่จำเป็นต้องใช้รถเข็นสามารถใช้ชีวิตประจำวันกับเพื่อน

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมสมทบทุนสนับสนุนจากศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ปทุมรัตน์ ตู้จินดา จัดซื้อรถเข็นไฟฟ้าสำหรับผู้พิการให้แก่นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่นจัดการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยในวาระครบรอบ 20 ปี การก่อตั้งหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) และหน่วยความร่วมมือการวิจัยสำหรับประเทศในตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์นานาชาติด้านเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยโอซาก้า (OU:CRS)

       8 มีนาคม 2566 เวลา 9.00-13.00 น. หน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) และหน่วยความร่วมมือการวิจัยสำหรับประเทศในตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์นานาชาติด้านเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยโอซาก้า (OU:CRS) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น จัดงานประชุมสัมมนา “Commemorative Symposium of 20th Anniversary of OU-MU:CRC and OU:CRS” ในวาระครบรอบ 20 ปี แห่งการก่อตั้งหน่วยงานทั้งสอง ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้องประชุม K102 ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และระบบ WebEx Meeting โดยมีวิทยากรจากมหาวิทยาลัยในเครือข่ายความร่วมมือ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น      

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่นจัดการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยในวาระครบรอบ 20 ปี การก่อตั้งหน่วยความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) และหน่วยความร่วมมือการวิจัยสำหรับประเทศในตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์นานาชาติด้านเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยโอซาก้า (OU:CRS) Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ SCGC มุ่งวิจัยเชิงรุก ยกระดับความร่วมมือพัฒนาพอลิเมอร์ชนิดพิเศษ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมขยายกรอบงานวิจัยด้านนวัตกรรมเพื่อสุขภาพและความยั่งยืน เดินหน้าพัฒนาวัสดุแห่งอนาคต ตอบโจทย์เมกะเทรนด์

          3 มีนาคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC ธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน ผนึกกำลังจัดงาน SCGC-Mahidol Science Symposium: “Healthcare, Well-being & Sustainability” เดินหน้าความร่วมมือสร้างสรรค์งานวิจัยเชิงพาณิชย์ ผลักดันนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี และความยั่งยืนให้กับผู้คนทั้งในประเทศไทยและระดับสากล ตอบรับเมกะเทรนด์  ภายในงานได้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือ Research and Innovation for the Future Materials โดยรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  และดร.สุรชา อุดมศักดิ์ รองผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม SCGC ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข พญาไท คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ SCGC มุ่งวิจัยเชิงรุก ยกระดับความร่วมมือพัฒนาพอลิเมอร์ชนิดพิเศษ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมขยายกรอบงานวิจัยด้านนวัตกรรมเพื่อสุขภาพและความยั่งยืน เดินหน้าพัฒนาวัสดุแห่งอนาคต ตอบโจทย์เมกะเทรนด์ Read More »

งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมการเตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ประจำปีงบประมาณ 2566

          วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566  เวลา 09.00-12.00 น.  ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข   งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพ จัดอบรมการเตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยใช้ AUN-QA CRITERIA VERSION 4.0  ในการจัดอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา มาเป็นวิทยากร โดยมีผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟัง จำนวนทั้งสิ้น 54 คน รับชมการประชุมย้อนหลัง / เอกสารประกอบการประชุม  (Intranet)

งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดอบรมการเตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ประจำปีงบประมาณ 2566 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคณาจารย์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเยี่ยมชมภาคชีววิทยาเพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

           22 กุมภาพันธ์ 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยอาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา เป็นประธาน พร้อมทีมบริหารและคณาจารย์ ให้การต้อนรับ ผู้บริหารและคณาจารย์จำนวน 15 ท่าน จากกองวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า นำโดยพันตรี ภัทรพล คงสุข อาจารย์ส่วนการศึกษา ในโอกาสเข้าศึกษาดูงานด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร ของภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำแนวไปปรับปรุงโครงสร้างหลักสูตรของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าต่อไป           ในโอกาสนี้ อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พาเยี่ยมชมการเรียนการสอนพร้อมทั้งแนะนำภาควิชาชีววิทยาและพันธกิจ ก่อนนำเสนอโครงสร้างหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเปิดให้ศึกษาดูงานในส่วนของห้องปฏิบัติการ และนำเสนอวิธีการประเมินความรู้และทักษะของนักศึกษา ปิดท้ายด้วยการถ่ายภาพร่วมกัน ณ อนุสรณ์สถาน ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข คณบดีท่านแรกของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เขียนข่าว : นายธีรเทพ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับคณาจารย์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเยี่ยมชมภาคชีววิทยาเพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับนักศึกษาเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนจากประเทศฝรั่งเศส

        วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี และ รองศาสตราจารย์ ดร. กัณยารัตน์ สุไพบูลย์วัฒน หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ ร่วมให้การต้อนรับนักศึกษาชาวต่างชาติ Ms. Afaf Afifi สัญชาติโมรอคโค และ Ms. Ekaterina Balakhnina สัญชาติรัสเซีย นักศึกษาระดับปริญญาโทหลักสูตร Master of Cultural Communication, University of Burgundy ประเทศฝรั่งเศส         ซึ่งเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล และ University of Burgundy ประเทศฝรั่งเศส โดยมีหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตและหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ-ภาคพิเศษ) กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ คณะวิทยาศาสตร์ เป็นเจ้าภาพในการจัดกิจกรรมแลกแปลี่ยน มีกำหนดระยะเวลา 5 เดือน

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับนักศึกษาเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนจากประเทศฝรั่งเศส Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับมอบ ส.ค.ส. และไดอารี่พระราชทาน จาก ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

    วันที่ 24 มกราคม 2566 รศ.นารถธิดา ตุมราศวิน ผู้อำนวยการสำนักวิจัย ผู้แทนสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ได้อัญเชิญ ส.ค.ส. และไดอารี่พระราชทาน จาก ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ อำนวยพรแด่ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ รวมทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  ในโอกาสที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ความร่วมมือกับการดำเนินงานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ มาด้วยดีโดยตลอดมา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับมอบ ส.ค.ส. และไดอารี่พระราชทาน จาก ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับเกียรติบัตรดีเด่นรางวัล “สถานศึกษาปลอดภัย” ประจำปี 2565 จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน

     วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม 2566 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติและยกย่องที่มีผลงานดีเด่นในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย และเป็นส่วนงานต้นแบบด้านความปลอดภัยของมหาวิทยาลัยมหิดลและสถานศึกษาระดับประเทศจากการตัดสินของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน       ซึ่งในโอกาสอันดีนี้ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี และทีมบริหาร ได้รับเกียรติบัตรดีเด่น สถานศึกษาปลอดภัย ประจำปี 2565 จาก นายอาทร นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5) ณ ห้องบรรยาย K101 มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท      คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในสถานศึกษาเป็นอย่างมาก โดยในวันที่ 10 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการจัดกิจกรรมปฏิบัติการหลักสูตรดับเพลิงขั้นต้น หลักสูตรดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟประจำปี 2566 และยังได้จัดอบรมหลักสูตรการช่วยชีวิตเบื้องต้นอีกด้วย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับเกียรติบัตรดีเด่นรางวัล “สถานศึกษาปลอดภัย” ประจำปี 2565 จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมคณบดีพบประชาคม (Meet the Dean) สรุปการดำเนินงานในปี 2565 และตอบคำถามชาวคณะวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยกันพัฒนาปรับปรุงคณะฯ

          27 ธันวาคม 2565 ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดี สรุปการดำเนินงานในปี 2565 พร้อมชี้แจงนโยบายและแนวทางบริหารงานของผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2566 เพื่อสื่อสารนโยบายและรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ระหว่างผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร ผ่านกิจกรรม Meet the Dean ในรูปแบบ Hybrid โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ณ อาคารบรรยายรวม ห้อง L-02 (ตึกกลม) และระบบประชุมออนไลน์ WebEx Meeting           สำหรับปี 2566 นี้ คณะวิทยาศาสตร์ยังคงมุ่งเน้นพัฒนาองค์กรด้วยหลักการ ซ่อม (Learning/Innovative Organization) ซ่อมในหลาย ๆ เรื่อง ทำให้ดียิ่งขึ้น ปรับปรุงอาคารบรรยายรวม/ห้องบรรยายให้สะดวกสำหรับทุกเพศและแก่บุคคลทุพพลภาพ ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน เปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัล (Digital Transformation) ต่อด้วยขั้นตอนที่สอง สร้าง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมคณบดีพบประชาคม (Meet the Dean) สรุปการดำเนินงานในปี 2565 และตอบคำถามชาวคณะวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยกันพัฒนาปรับปรุงคณะฯ Read More »

คณบดี ผู้บริหาร และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ประจำปี พ.ศ.2566

             29 ธันวาคม 2565 คณบดี ผู้บริหาร และบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ประจำปี พ.ศ.2565 ของมหาวิทยาลัยมหิดล ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และในวันเดียวกันนี้ผู้บริหารคณะวิทยาศาสตร์ ได้เข้าสวัสดีปีใหม่ พร้อมส่งความสุขให้กับผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพร้อมเป็นพลังที่สำคัญในการทำงานของมหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2566 ต่อไป

คณบดี ผู้บริหาร และบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ประจำปี พ.ศ.2566 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีทำบุญตักบาตรส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2566

               28 ธันวาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2566 จัดพิธีทำบุญวันขึ้นปีใหม่ ร่วมกันตักบาตรอาหารแห้งบริเวณซุ้มทางเดินเฟื่องฟ้า ถวายภัตตาหารและเครื่องไทยธรรมแด่พระภิกษุสงฆ์ จำนวน 9 รูป จากวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร ณ ลานใต้ตึกกลม นอกจากนี้ภายในงานยังจัดพิธีสวดมนต์อธิษฐาน เจริญจิตตภาวนาเพื่อถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ขอให้ทรงหายจากพระอาการประชวรและมีพระพลานามัยแข็งแรงโดยเร็ววัน                ในโอกาสอันดีนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ประธานในพิธี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร  อาจารย์ และผู้ปฏิบัติงานสายสนับสนุนร่วมใจกันเข้าร่วมพิธี หลังจากนั้นบุคลากรสายสนับสนุนเข้ารับคำอวยพรปีใหม่จากท่านคณบดี และคณะผู้บริหาร พร้อมรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน ณ บริเวณอาคารสตางค์ มงคลสุข เขียนข่าว : นายธีรเทพ แก้วมณี ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีทำบุญตักบาตรส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2566 Read More »

การติดตามผลการดำเนินงานตามข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-VISIT) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

       16 ธันวาคม 2565 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับฟังการติดตามผลการดำเนินงานตามข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-Visit) ประจำปีงบประมาณ 2566 ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วย ผู้บริหารของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับ และนำเสนอผลการดำเนินงานที่โดดเด่นในรอบปีงบประมาณที่ผ่านมา และแผนการดำเนินงานที่สำคัญของปีงบประมาณ 2566 ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน ในปีงบประมาณ 2566 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์นที รักษ์พลเมือง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์

การติดตามผลการดำเนินงานตามข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงาน (PA-VISIT) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 Read More »

คณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมโครงการสัมมนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก

       วันที่ 13-14 ธ.ค. 2565 คณาจารย์ปรีคลินิก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมโครงการสัมมนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก ณ โรงแรมเอเชีย เขตราชเทวี กรุงเทพฯ โดยวันแรกของการสัมมนา ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. นพ.วิชัย เทียนถาวร อธิการบดีสถาบันพระบรมราชชนก ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดตั้งสถาบันพระบรมราชชนกและกล่าวเปิดการสัมมนา รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนา จากนั้นเป็นการแนะนำหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก โดยอาจารย์ พญ.อุษา ศิริบุญฤทธิ์ โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก ตามด้วยการบรรยายเรื่องหลักการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ Vertical and Horizontal Integration โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.ดนัย วังสตุรค ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การอภิปรายเรื่องการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท: ความสำเร็จและอุปสรรค โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา

คณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมโครงการสัมมนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก Read More »

พิธีถวายราชสดุดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ 5 ธันวาคม 2565

2 ธันวาคม 2565 ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยและส่วนงาน ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระชัย สิริพันธ์วราภรณ์ รองคณบดี และ อาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณาจารย์ และบุคลากรงานศาลายา ได้ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรบำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระราชกุศล และพิธีถวายราชสดุดี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยร่วมตักบาตรพระภิกษุสงฆ์และสามเณร จำนวน 30 รูป ก่อนเข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์โดยพระสงฆ์ จำนวน 10 รูป และกล่าวถวายราชสดุดี ณ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาพร้อมกันนั้น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท จัดพิธีถวายราชสดุดี เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล

พิธีถวายราชสดุดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ 5 ธันวาคม 2565 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล และวิทยาลัยการจัดการ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ(MOU) จัดทำโครงการความร่วมมือระหว่างหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต – หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต

          วันที่ 31 ตุลาคม 2565 รศ. ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และรศ. ดร. วิชิตา รักธรรม คณบดีวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีลงนามทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โครงการ B.Sc. – M.M. ความร่วมมือระหว่างหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต – หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต           ซึ่งเป็นหลักสูตรเร่งรัดตรีควบโท หรือหลักสูตร 4+1 ภายใต้แนวคิด “นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ หัวใจบริหาร” เป็นหลักสูตรที่ได้รับการออกแบบเนื้อหาและกระบวนการการเรียนการสอนซึ่งเน้นสร้างความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประสมประสานกับทักษะที่เกี่ยวข้องทางด้านการบริหารจัดการ เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคธุรกิจและโอกาสในการประกอบอาชีพในอนาคตให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล โดยหลักสูตรดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยมหิดลในการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรที่มีความยืดหยุ่น (Flexi Education) โดยพิธีลงนามจัดขึ้น ณ ห้อง K101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เขียนข่าว : นายธีรเทพ แก้วมณีตรวจสอบโดย

คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล และวิทยาลัยการจัดการ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ(MOU) จัดทำโครงการความร่วมมือระหว่างหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต – หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” เนื่องใน “วันเทคโนโลยีของไทย” ประจำปี 2565

         19 ตุลาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล แสวงผล รองคณบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม และผู้ปฏิบัติงานคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพานพุ่มและถวายราชสักการะเพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” เนื่องในโอกาส “วันเทคโนโลยีของไทย” ซึ่งกำหนดให้เป็นวันที่ 19 ตุลาคม ของทุกปี เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถตลอดจนพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของพระองค์ จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นแก่ชาวไทยทั้งมวล ณ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม           วันที่ 19 ตุลาคม ของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “วันเทคโนโลยีของไทย” เนื่องจากเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงอำนวยการการสาธิตฝนเทียมสูตรใหม่ครั้งแรกของโลก ที่เขื่อนแก่งกระจาน ด้วยพระองค์เอง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” เนื่องใน “วันเทคโนโลยีของไทย” ประจำปี 2565 Read More »

สรุปการแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษาและการวิจัยครั้งที่ 2 ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี

          คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยลัยมหิดล นำโดย ผศ.ดร. ปฐมพงษ์ แสงวิไล ผู้ช่วยคณบดี ร่วมกับอาจารย์ ดร.วิทูร ชื่นวชิรศิริ หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์ รศ.ดร. ดาครอง พิศสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ และ รศ.ดร. ดวงใจ นาคะปรีชา ผู้แทนหัวหน้าภาควิชาเคมี ได้ร่วมให้การต้อนรับ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี โอกาสเข้าร่วมประชุมพูดคุยปรึกษาหารือในรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อสร้างความร่วมมือทางด้านการศึกษาและการวิจัย ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Faculty of Physics and Electrical Engineering, University

สรุปการแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษาและการวิจัยครั้งที่ 2 ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี Read More »

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Orientation and Problem Validation Workshop ภายใต้โครงการ Pre-Incubation for SPACE-F ช่วยเตรียมความพร้อมและเพิ่มโอกาสการเข้าร่วมในโครงการ SPACE-F

      วันที่ 27 กันยายน 2565 สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ร่วมมือกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยหน่วยพัฒนาธุรกิจ งานพันธกิจพิเศษ (Business Development Unit : BDU) ได้ร่วมกันจัดโครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F ซึ่งเป็นโครงการบ่มเพาะทีมสตาร์ทอัพที่มาจากนักศึกษา อาจารย์ และนักวิจัย ในมหาวิทยาลัยมหิดล ในรูปแบบสัมมนาและอบรมเชิงปฏิบัติการ Workshop ต่าง ๆ รวมถึงการให้คำปรึกษากับทีมสตาร์ทอัพที่ได้รับคัดเลือกให้มาร่วมกิจกรรมตลอดเดือนตุลาคม ก่อนจะเปิดเวที Pitching นำเสนอผลงานในวัน Demo day ช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้       โครงการ Mahidol Pre-incubation for SPACE-F มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการบ่มเพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) จากกลุ่มนักศึกษา อาจารย์ และ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลในด้านต่างๆ ที่ SPACE-F ให้ความสนใจ ได้แก่

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม Orientation and Problem Validation Workshop ภายใต้โครงการ Pre-Incubation for SPACE-F ช่วยเตรียมความพร้อมและเพิ่มโอกาสการเข้าร่วมในโครงการ SPACE-F Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับและพูดคุยเพื่อแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการกับ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี

             คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รศ.ดร.พลังพล คงเสรี พร้อมด้วย ศ.ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ และ รศ.ดร. กิตตศักดิ์ หยกทองวัฒนา รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนานักศึกษา ได้ร่วมให้การต้อนรับ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี ในโอกาสเดินทางมาพูดคุยปรึกษาหารือเพื่อแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษาและการวิจัยระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen เมื่อวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2565  

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับและพูดคุยเพื่อแสวงหาความร่วมมือทางวิชาการกับ Prof. Dr. Annette Ladstaetter-Weissenmayer, Dean of the Faculty of Physics and Electrical Engineering, University of Bremen ประเทศเยอรมนี Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมโครงการ “มหาวิทยาลัยเด็กประเทศไทย (TCUMU)” กับโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนรักและรู้จักวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2565 เวลา 08.30 – 13.00 น. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมโครงการ “มหาวิทยาลัยเด็กประเทศไทย ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (TCUMU)” ในหัวข้อ สนุกกับ CO2 ให้กับโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ โดยมี รศ.ดร. เทียนทอง ทองพันชั่ง ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ เป็นวิทยากร และได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์กล่าวต้อนรับน้อง ๆ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและคุณครูที่มาเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 30 คน โครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย เป็นโครงการที่ดำเนินการโดยเครือข่ายมหาวิทยาลัย สสวท. และ สวทช. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนต้นได้ร่วมทำกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่หลากหลาย โดยมีผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และพี่เลี้ยงนักศึกษาระดับปริญญาตรี โท และเอก คอยดูแลให้คำแนะนำในการทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งผลให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ เกิดแรงบันดาลใจ และรับการพัฒนาทักษะ การสังเกตุ การตั้งคำถาม

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมโครงการ “มหาวิทยาลัยเด็กประเทศไทย (TCUMU)” กับโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์ ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนรักและรู้จักวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สโมสรนักศึกษาจัดกิจกรรมงานวันไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2565 ในชื่อกิจกรรม “พบรัก ณ ตึกกลม“

     วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน 2565 เวลา 13.30 น. ณ ห้อง L01 อาคารบรรยายเรียนรวมตึกกลม สโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลจัดกิจกรรม พบรัก ณ ตึกกลม พิธีไหว้ครูประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อเเสดงถึงความรักและความเคารพต่อครูอาจารย์ อีกทั้งยังเป็นการสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามของไทย โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์เป็นประธานในพิธี กล่าวให้โอวาทเพื่อความเป็นสิริมงคล พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก่นักศึกษาทุกสาขาวิชา            ต่อด้วยตัวแทนนักศึกษาแต่ละระดับชั้น กล่าวความในใจถึงอาจารย์เพื่อระลึกถึงพระคุณ ก่อนเข้าสู่ช่วงของพิธีมอบดอกไม้ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สมลักษณ์ อสุวพงษ์พัฒนา และตัวแทนคณาจารย์จากภาควิชาต่าง ๆ เป็นผู้รับดอกไม้จากนักศึกษา กิจกรรมถัดมาเป็นการถ่ายรูปหมู่ของนักศึกษาและอาจารย์ทุกท่านในพิธีการ ปิดท้ายด้วยการเขียนการ์ดบอกความรู้สึกและมอบให้แก่อาจารย์ บริเวณใต้ตึกกลม เขียนข่าว : นายธีรเทพ แก้วมณีตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษภาพข่าวโดย: นายธีรเทพ แก้วมณี เว็บมาสเตอร์: นายธีรเทพ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สโมสรนักศึกษาจัดกิจกรรมงานวันไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2565 ในชื่อกิจกรรม “พบรัก ณ ตึกกลม“ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมแนะนำหลักสูตร การเตรียมความพร้อมและเทคนิค การรับสมัคร การสัมภาษณ์ของหลักสูตรปริญญาตรีไทยและนานาชาติ และโครงการโควตานักเรียน ปีการศึกษา 2565

วันพุธที่ 7 กันยายน 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จัดกิจกรรมแนะนำหลักสูตร การเตรียมความพร้อมและเทคนิค การรับสมัคร การสัมภาษณ์ของหลักสูตรปริญญาตรีไทยและนานาชาติ และโครงการโควตานักเรียน ปีการศึกษา 2565 ซึ่งกิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจในหลักสูตรและเปิดโอกาสให้ครูแนะแนวและบุคลากรทางการแนะแนวได้เยี่ยมชมคณะวิทยาศาสตร์ ดูนิทรรศการ พร้อมทั้งฟังบรรยายหลักสูตรปริญญาตรีไทย ซึ่งประกอบไปด้วย ภาควิชาคณิตศาสตร์ ภาควิชาเคมี ภาควิชาชีววิทยา ภาควิชาฟิสิกส์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ และภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ  และหลักสูตรระดับปริญญาตรีนานาชาติและ Dual Degree International Programs ประกอบไปด้วย คณิตศาสตร์ประกันภัย คณิตศาสตร์อุตสาหการและวิทยาการข้อมูล วิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ ทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม วัสดุศาสตร์และวิศกรรมนาโน และชีวนวัตกรรม ซึ่งทั้งสองหลักสูตรได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมทางการแนะแนวที่มาจากหลากหลายโรงเรียนเป็นอย่างยิ่ง โดยการบรรยายแบ่งออกเป็น 2 ภาษา ได้แก่ภาษาไทยและบรรยายภาษาอังกฤษ ผู้เข้าร่วมสามารถเลือกเข้าฟังได้ตามความสนใจ  ก่อนพาเข้าเยี่ยมชมพื้นที่อาคาร ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ห้อง STEM ห้อง Digital Bioscience Laboratory ห้อง Anatomy Museum และห้อง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมแนะนำหลักสูตร การเตรียมความพร้อมและเทคนิค การรับสมัคร การสัมภาษณ์ของหลักสูตรปริญญาตรีไทยและนานาชาติ และโครงการโควตานักเรียน ปีการศึกษา 2565 Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานมหกรรมคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565 เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานด้านพัฒนาคุณภาพ

       วันที่ 29 สิงหาคม 2565 งานนโยบายและพัฒนาคุณภาพร่วมกับงานบริหารและธุรการ และงานสารสนเทศและห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีการจัดงานมหกรรมคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565 เวลา 09.00 – 11.45 น. เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานด้านพัฒนาคุณภาพ เปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่บุคลากรทุกระดับและทุกส่วนงานของมหาวิทยาลัยในด้านการพัฒนาคุณภาพคนและพัฒนาคุณภาพงาน สู่การพัฒนาคุณภาพองค์กร  โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะกรรมการประเมินเพื่อทำหน้าที่พิจารณาและกลั่นกรองเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น (ชำนาญงาน ชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญฯ) ม. มหิดล ให้เกียรติมาบรรยายพิเศษในหัวข้อ “เคล็ดลับ การพิจารณาผลงานเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการของสายสนับสนุน”   โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น   86  ท่าน มีวัตถุประสงค์1.เพื่อให้ผลงานของคณะวิทยาศาสตร์ที่ส่งเข้าร่วมกิจกรรมเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่บุคลากรทุกระดับและทุกหน่วยงานภายในคณะวิทยาศาสตร์2. ได้ผลงานที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาต่อยอดไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานประจำได้ต่อไป โดยมีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมนำเสนอในงานมหกรรมคุณภาพ คณะวิทยาศาสร์ ทั้งหมดจำนวน 5 ผลงาน ขอแสดงความยินดีกับผลงานที่ได้รับรางวัล ได้แก่  1. แผนงานสำหรับจัดการความเสี่ยงด้านการจัดการเรียนการสอน ในสถานการณ์ระบาดของ COVID-19 ที่ได้รับรางวัลประเภท Team Good Practice Award,

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานมหกรรมคุณภาพคณะวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2565 เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานด้านพัฒนาคุณภาพ Read More »

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดแสดงหุ่นละครเล็ก กลุ่มเยาวชนวายุบุตร ตลาดน้ำคลองบางหลวง สืบทอดภูมิปัญญาเก่าแก่อันทรงคุณค่า

17 สิงหาคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดแสดงหุ่นละครเล็กจากกลุ่มเยาวชนวายุบุตร ณ อาคารสตางค์ มงคลสุข เพื่อสนับสนุนและสืบทอดภูมิปัญญาเก่าแก่อันทรงคุณค่า ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ กล่าวเปิดการแสดง วัตถุประสงค์ของการจัดแสดงเพื่อให้นักศึกษาต่างชาติได้แลกเปลี่ยนความรู้ มีปฏิสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยมหิดลในทุกมิติ ซึ่งรวมถึงด้านภาษาและวัฒนธรรม หุ่นละครเล็ก มหรสพไทย ถือกำเนิดในสมัยรัชกาลที่ 4 พัฒนามาจากการแสดงละครหุ่นหลวง การเชิดหนังใหญ่ และโขน รวมศาสตร์ศิลปะแขนงต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว เป็นหนึ่งในศิลปะที่ครั้งหนึ่งเกือบหายสาบสูญไปกับกาลเวลา แต่ด้วยความมุ่งมั่นของนักแสดงหุ่นละครเล็ก ทำให้จำนวนคณะแสดงหุ่นละครเล็กค่อย ๆ เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างช้า ๆ และกลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง คุณศราวุธ จันทรวรรณมานหรือครูบอล และสมาชิกกลุ่มวายุบุตรให้ความรู้เบื้องต้นก่อนการแสดง เช่น สาธิตการแต่งตัวโขน ซึ่งปกติแล้วเป็นขั้นตอนที่หาชมได้ยาก เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ความละเอียดอ่อน มีผู้ช่วยจำนวนมากในการแต่งตัวโขนเพียงตัวเดียว และอธิบายเครื่องแต่งกายพร้อมวิธีสวมใส่ โดยเน้นย้ำว่าภูมิปัญญาไทยนั้น จะไม่มีการตัดผ้าที่ใช้ในเครื่องแต่งกายเลย เนื่องจากเป็นผ้าที่ถักทอขึ้นมาด้วยความประณีตและมีราคาค่อนข้างสูง นอกจากนี้การที่เป็นผ้าผืนเดียวยังช่วยให้สวมใส่ได้ทุกขนาดอีกด้วย คนที่มีชีวิตกลับกลายเป็นหุ่นเชิด หุ่นเชิดที่ไร้ชีวิตกลับมีชีวา หุ่นหนึ่งตัวต้องใช้คนเชิดถึงสามคน โดยผู้เชิดจำเป็นต้องมีพื้นฐานโขนเป็นอย่างน้อย 5 ปี

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดแสดงหุ่นละครเล็ก กลุ่มเยาวชนวายุบุตร ตลาดน้ำคลองบางหลวง สืบทอดภูมิปัญญาเก่าแก่อันทรงคุณค่า Read More »