คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
25 ตุลาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี, อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์, รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสา ปฏิการมณฑล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายความยั่งยืนขององค์กร และคณาจารย์จากภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ชื่นจิตต์ บุญเฉิด นายกสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย, รองศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี หัวหน้าความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC), ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บังอรศิริ อินตรา จากหน่วยความร่วมมือการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพฯ, รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ ผู้ประสานงานโครงการ SPACE-F, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา (ECDD) และ อาจารย์ ดร.สุทธิชัย บุญประสพ พร้อมทั้ง นักวิจัย และบุคลากรสายสนับสนุน ร่วมให้การต้อนรับ สมาชิกกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งนำโดย ดร.ภก.ณัฐพศุตม์ ภัทธิราสินสิริ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ในโอกาสเข้าเยี่ยมชม และศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ณ ห้องประชุม K101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท
ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้มีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมเยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ให้กับคณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มอุดสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สมาชิกกลุ่มฯ เทคโนโลยีชีวภาพ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ฉะนั้นแล้วทางกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพจึงได้มีความเห็นว่า ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา (ECDD), หน่วยความร่วมมือการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC), หน่วยความร่วมมือการวิจัยสำหรับประเทศในตะวันออกเฉียงใต้ศูนย์นานาชาติด้านเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยโอซาก้า (OU:CRS), SPACE-F FoodTech startup incubator และ หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง (Center of Excellence for Shrimp Molecular Biology and Biotechnology: CENTEX Shrimp) เป็นหน่วยงานที่มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังประสบความสำเร็จในแง่ของการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ และมีความเหมาะสมที่จะนำคณะสมาชิกกลุ่มฯ เทคโนโลยีชีวภาพเข้าเยี่ยมชม ไปจนถึงการเข้าพบนักวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างแรงกระเพื่อมออกสู่สังคมได้อย่างเป็นวงกว้างต่อไป
เขียนข่าว : นายคุณานนต์ ศิริเขตร์
ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ
ภาพข่าวโดย : นายนนท์นภัทร อินทร์สุพรรณ์
เว็บมาสเตอร์ : นายคุณานนต์ ศิริเขตร์
วันที่ 25 ตุลาคม 2567