คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
6 กันยายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดี, รองศาสตราจารย์ ดร.กรกนก บุญวงษ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษา, รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิสา ปฏิการมณฑล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายแผน นโยบายและประกันคุณภาพ, รองศาสตราจารย์ ดร.ชูวงศ์ เอื้อสุขอารี หัวหน้าความร่วมมือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยโอซาก้า (MU-OU:CRC) และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤพัฒน์ หงส์ดิลกกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ร่วมให้การต้อนรับอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา จาก School of Life Sciences and Biotechnology, Shanghai Jiao Tong University ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมคณะวิทยาศาสตร์ สำหรับการถ่ายทำสารคดี พร้อมหารือเพื่อขยายความร่วมมือทางวิชาการเพิ่มเติม ณ ห้องประชุม K101 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท
โดยทางด้านของ School of Life Sciences and Biotechnology, Shanghai Jiao Tong University ได้นำโดย Prof. Xinqing Zhao (School of Life Sciences and Biotechnology, SJTU), Prof. Fengli Zhang (Student Group Leader), Prof. Chenguang Liu (Student Group Leader), Dr. Kai Li (Student Group Leader), Ms. Juan Xia (Administrator of Graduate Educational Affairs, School of Life Sciences and Biotechnology, SJTU), Ms. Yahui Li (Project Manager, Office of Global Communication, International Affairs Division, SJTU), Mr. Jiayi Li (Bioinformatics and AI), Miss Yitian Fang พร้อมทั้งนักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา และทีมถ่ายทำสารคดีจากสถานีโทรทัศน์เซี่ยงไฮ้ ซึ่งการมาร่วมเยี่ยมชมและถ่ายทำสารคดีในครั้งนี้ ได้อยู่ภายใต้กรอบของโครงการ Bioconversion of agricultural residues in Thailand ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมนักศึกษาระดับปริญญาตรีและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้รับการคัดเลือก ให้เกิดการตระหนักรู้และใส่ใจต่อปัญหาระดับโลก ในเรื่องของการใช้ประโยชน์และการแปลงชีวภาพของสารตกค้างทางการเกษตรในประเทศไทย เพื่อนำไปสู่การเสนอแนวคิดและการวางแผนสำหรับใช้เทคโนโลยีให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด สำหรับการปรับปรุงประสิทธิภาพทางชีวภาพผ่านการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รวมไปถึงวิศวกรรมเมตาบอลิซึมและชีววิทยาสังเคราะห์ อีกทั้งยังเพื่อเป็นสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศจีนและประเทศไทย ผ่านรูปแบบการถ่ายทำและนำเสนอผ่านสารคดีชุด ซึ่งดำเนินการสร้างและถ่ายทำโดยสถานีโทรทัศน์เซี่ยงไฮ้ ในชื่อสารคดีชุด “Dialogue of ASEAN and China” เพื่อนำเสนอความร่วมมือระหว่างประเทศจีนและประเทศภายในอาเซียน ไปจนถึงประเทศต่าง ๆ
เขียนข่าว : นายคุณานนต์ ศิริเขตร์
ตรวจสอบโดย : นางสาวปนิดา พยุหกฤษ
ภาพข่าวโดย : นายคุณานนต์ ศิริเขตร์
เว็บมาสเตอร์ : นายคุณานนต์ ศิริเขตร์
วันที่ 6 กันยายน 2567