คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
25 กรกฎาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกันจัดงาน SPACE-F Batch 5: Exploring Mahidol University โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสตาร์ทอัพโครงการ SPACE-F Startups Batch 5 และบริษัทเอกชนพันธมิตร ในด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวของกับวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมเข้าเยี่ยมชมหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือ ขับเคลื่อน ของมหาวิทยาลัยมหิดล
ในโอกาสนี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ สุวรรณเลิศ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ได้ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.พสิษฐ์ ภควัชร์ภาณุรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และรองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ผู้ประสานงานโครงการ SPACE-F ต้อนรับ SPACE-F สตาร์ทอัพในรุ่นที่ 5 และผู้แทนจากบริษัทเอกชนพันธมิตร 36 ท่าน ที่เข้าร่วมงานกิจกรรมครั้งนี้ โดยมีแขกผู้มีเกียรติจากหน่วยงานพันธมิตรได้แก่ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นำโดย Dr. Christopher Aurand บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) นำโดย คุณประทีป ศิริสุขถาวร และ บริษัท เนสท์เล่ ภูมิภาคอินโดไชน่า นำโดย คุณโกศล กิจอำนาจสุข อีกทั้งตัวแทนคณะกรรมการธุรกิจอาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย คุณบุญเลิศ อ่องไพบูลย์ และตัวแทนสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ องค์การมหาชน (NIA) คุณจิตรภณ จิรกุลสมโชค ณ SPACE-F อาคารชีววิทยาใหม่ ชั้น 6 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท
SPACE-F ถือได้ว่าเป็นโครงการส่งเสริมศักยภาพการเติบโตและการแข่งขันของ FoodTech Startup ในการสร้างนวัตกรรมระดับครัวไทยสู่ครัวโลก และช่วยให้สตาร์ทอัพค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมอาหารโลก ซึ่งเป็นการสร้างระบบนิเวศสตาร์ทอัพให้แข็งแกร่ง โดยมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารเพื่อความยั่งยืน ได้แก่ Health & Wellness, Alternative proteins, Novel food & Ingredients, Packaging solutions, Biomaterials & Chemicals, Packaging solutions, Smart Manufacturing, Restaurant Tech, Food safety & Quality และ Smart food services ซึ่งก่อตั้งโดยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา นำโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารแนวหน้าระดับโลก และมหาวิทยาลัยมหิดล ในบทบาทผู้ให้คำปรึกษาและสนับสนุนสตาร์ทอัพด้วยองค์ความรู้และเทคนิคเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงลึก ก่อนจะขยายความร่วมมือไปยังพันธมิตรวงการธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร และบริษัทให้คำปรึกษาในระดับนานาชาติ อาทิ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด บริษัท Lotte Fine Chemical และล่าสุด บริษัท เนสท์เล่ ภูมิภาคอินโดไชน่า โดยปัจจุบันได้บริษัท Techsauce และ Innovate 360 มาเป็นทีมผู้ดูและบริหารจัดการบ่มเพาะและสร้างเครือข่ายและขับเคลื่อนนวัตกรรมผ่านกิจกรรมระดับนานาชาติในรูปแบบที่หลากหลายสำหรับ SPACE-F Batch#5 นี้
และเนื่องด้วยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการให้คำปรึกษาและสนับสนุนสตาร์ทอัพ ด้วยองค์ความรู้และเทคนิคเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงลึก โดยมีเป้าหมายคือ ช่วยพัฒนาตอบสนองความต้องการของสตาร์ทอัพแต่ละราย เพื่อช่วยเสริมสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจของผู้ประกอบการ (Entrepreneurial ecosystem) ทั้งในคณะวิทยาศาสตร์ และในมหาวิทยาลัยมหิดล และยังได้มีส่วนช่วยสนับสนุนโครงการ SPACE-F โดยอำนวยความสะดวกในด้านสถานที่ กว่า 1,000 ตารางเมตร ที่ใช้ในการจัดตั้ง Co-working space, Co-working office และ Co-working lab สำหรับสตาร์ทอัพที่มาบ่มเพาะในโครงการ SPACE-F ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 5
การจัดงาน SPACE-F Batch 5: Exploring Mahidol University ในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่าง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นการส่งเสริมประสบการณ์ในการทำงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมกับภาคเอกชน และเป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการทำงานวิจัยที่สามารถนำไปสู่การเกิดนวัตกรรม และการต่อยอดเชิงพาณิชย์ อีกทั้งยังเป็นเพื่อการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ กับหน่วยงานอื่น ๆ ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้มีการร่วมพาผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ในโครงการ SPACE-F รุ่นที่ 5 และบริษัทเอกชนพันธมิตรชั้นแนวหน้าของประเทศ ได้แก่ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เนสท์เล่ ภูมิภาคอินโดไชน่า ไปเยี่ยมชมเพื่อทำความรู้จัก เรียนรู้ พร้อมพูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อันได้แก่ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้นหาตัวยา (Excellent Center for Drug Discovery: ECDD) นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภฤกษ์ บวรภิญโญ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ หน่วยสัตว์ทดลอง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพ.ณัฐพล ภาณุพินธุ หัวหน้าภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หน่วย “M-LAB” Merck Life Science Experience Center คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เป็นศูนย์รวมเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ และบริการเพื่อพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรมที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ตอบโจทย์ด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมในประเทศไทย นอกจากนี้กิจกรรม SPACE-F Batch 5: Exploring Mahidol University ในช่วงเช้า ยังได้รับเกียรติจาก คณะแพทยาศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี นำโดย ศ. นพ. ม.ล.ชาครีย์ กิติยากร รองคณบดีด้านนวัตกรรมและคู่ความร่วมมือ และทีมศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ (Medical Innovations Development (MIND) Center) นำโดย นายพชรณัชช์ เอกวุฒิ ผู้จัดการศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ มาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนมุมมองด้านนวัตกรรมทางการแพทย์ และการทำงานวิจัยงานวิจัยทางคลินิก (Clinical Trial) ของคณะแพทยาศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยเฉพาะในมุมที่สามารถเพื่อการช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมด้าน Medical foods ให้กับประเทศไทย
ในช่วงบ่ายของกิจกรรม SPACE-F Batch 5: Exploring Mahidol University ทีมสตาร์ทอัพในโครงการ SPACE-F รุ่นที่ 5 และบริษัทเอกชนพันธมิตรเดินทางไปเยี่ยมชมและเรียนรู้บทบาทและหน้าที่ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานนท์ ลาชโรจน์ รักษาการแทนรองผู้อำนวยการ iNT และ ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย นายสัตวแพทย์สุรชัย จันทร์ทิพย์ ผู้อำนวยการศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ และเดินทางไปเยี่ยมชม สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวภัทร กิตติบัญชากุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านบริหารและพัฒนาวิชาการ พร้อมด้วย อาจารย์ และนักวิจัย สถาบันโภชนาการ และยังได้ไปห้องปฏิบัติการและเครื่องมือภายในศูนย์เครื่องมือวิจัยและความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University Frontier Research Facility : MU-FRF) เป็นที่สุดท้ายของกิจกรรม SPACE-F Batch 5: Exploring Mahidol University ในครั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือของสตาร์ทอัพทางด้านเทคโนโลยีอาหารต่อไปในอนาคต
เขียนข่าว : นายคุณานนต์ ศิริเขตร์
ตรวจสอบโดย : รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐวี เนียมศิริ
ภาพข่าวโดย : นายนภาศักดิ์ ผลพานิช และ นายคุณานนต์ ศิริเขตร์
เว็บมาสเตอร์ : นายคุณานนต์ ศิริเขตร์
วันที่ 25 กรกฎาคม 2567