งานพัฒนาระบบและเทคโนโลยี

02 201 5814

MUSC

Data Governance

ธรรมาภิบาลข้อมูล

คือ กรอบการทำงานและชุดกระบวนการที่คณะฯ ใช้ในการจัดการข้อมูลให้มีคุณภาพ ปลอดภัย และสอดคล้องกับกฎระเบียบต่าง ๆ โดยครอบคลุมตั้งแต่การกำหนดนโยบาย มาตรฐาน บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ไปจนถึงการรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล ใช้งาน และกำจัดข้อมูล

INTRO VIDEO

วิดีโอ Data Governance

Data Governance คืออะไร EP 1.

การจัดการข้อมูลให้ดี ต้องทำอย่างไร?

Definition and Rules

Data Governance คืออะไร ?

กระบวนการบริหารจัดการข้อมูลในระดับองค์กรที่มุ่งเน้นการควบคุมคุณภาพ ความปลอดภัย ความถูกต้อง และการเข้าถึงข้อมูลตามมาตรฐาน เพื่อให้ข้อมูลที่มีอยู่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง

Data Governance กับคณะวิทยาศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหน่วยงานที่มีข้อมูลจำนวนมากและหลากหลายประเภท เช่น ข้อมูลด้านการเงิน ข้อมูลด้านงานวิจัย ข้อมูลด้านการศึกษา ข้อมูลด้านทรัพยากรบุคคล การทำ Data Governance จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้สามารถบริหารจัดการข้อมูลที่อยู่หลายแหล่งสามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้มากยิ่งขึ้น และสร้างความโปร่งใสในการจัดการข้อมูล ซึ่งนำไปสู่ความน่าเชื่อถือของคณะวิทยาศาสตร์

ผลลัพธ์ที่คาดหวังจากแผน Data Governance

    • ช่วยให้ผู้บริหารและบุคลากรตัดสินใจได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว
    • สามารถใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์และคาดการณ์แนวโน้ม
    • ข้อมูลมีความถูกต้อง , ครบถ้วน , เป็นปัจจุบัน และสอดคล้องกัน
    • ลดความผิดพลาดของข้อมูล และป้องกันข้อมูลซ้ำซ้อน
    • ลดเวลาที่ใช้ในการค้นหาและเข้าถึงข้อมูล
    • สนับสนุนการทำงานข้ามหน่วยงาน
    • ปลูกฝังแนวคิดการใช้ข้อมูลในทุกระดับขององค์กร
    • ส่งเสริมการใช้ข้อมูลในการปฏิบัติงาน
    • เพิ่มการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบของผู้ใช้ข้อมูล
    • มีมาตรฐานในการจัดเก็บและจัดการข้อมูล
    • สามารถตรวจสอบและติดตามข้อมูลได้ตลอดวงจรชีวิตของข้อมูล
    • มีการจัดทำ Metadata และ Data Catalog เพื่อให้ทราบว่าข้อมูลมีอยู่ที่ไหน ใช้งานอย่างไร

สถานการณ์ปัจจุบันของข้อมูล Data Governance ของคณะวิทยาศาสตร์

การประเมินสถานการณ์ : ยกตัวอย่างจาก ข้อมูลบุคลากร (สายวิชา-สายสนับสนุน)

ปัญหา

- ระยะเวลาในการได้เลข SAP จากมหาวิทยาลัยค่อนข้างนาน
- ข้อมูลไม่มีการอัปเดตแบบ Real-time เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงบุคลากร

ผลกระทบ

- การประมวลผล/คาดคะเนข้อมูลเกิดความผิดพลาด
- การตัดสินใจที่อิงกับข้อมูลที่ผิดพลาดอาจส่งผลเสียต่อมหาวิทยาลัย

กำหนดนโยบายและมาตรฐาน

สร้างนโยบายและมาตรฐานการจัดการข้อมูล Data Governance ของคณะวิทยาศาสตร์

กำหนดบทบาทและความรับผิดชอบ

กำหนด Data Owner, Data Steward, และ Data User

สร้างกระบวนการ

พัฒนากระบวนการจัดการข้อมูล (รวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล ใช้งาน)

สื่อสารและฝึกอบรม

สร้างความตระหนักและให้ความรู้แก่บุคลากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ด้านข้อมูลบุคลากร

- คาดคะเนจำนวนบุคลากรตามสายวิชาชีพในอนาคต (การวางแผนกำลังคน)
- วางแผนงบประมาณด้านบุคลากร (สวัสดิการ เงินปีใหม่ ค่าตำแหน่ง)
- เพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนงบประมาณของค

ขอบเขต Data Governance ของคณะวิทยาศาสตร์

ข้อมูลการศึกษา

ข้อมูลบุคลากร

ข้อมูลวิจัยและนวัตกรรม

ข้อมูลการเงินและงบประมาณ

วัตถุประสงค์ของการทำ Data Governance สำหรับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สร้างแนวทางและโครงสร้างการบริหารจัดการข้อมูลให้เป็นระบบ มีมาตรฐาน และสามารถตรวจสอบได้

 

  • กำหนดแนวทางเพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน และเชื่อถือได้
  • ป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต และกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มผู้ใช้งาน
  • ให้แน่ใจว่าการจัดเก็บและใช้งานข้อมูลเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง เช่น PDPA (Personal Data Protection Act)
  • ส่งเสริมการใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในการวิจัย วิชาการ และการบริหารจัดการองค์กร
  • จัดเตรียมข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจของผู้บริหารและบุคลากร
  •  ปลูกฝังแนวคิดการใช้ข้อมูลในการดำเนินงานของบุคลากรและนักศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  • ส่งเสริมการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภายในคณะ รวมถึงการประสานงานกับหน่วยงานภายนอก
  • ให้มีแนวทางในการจัดเก็บและบริหารข้อมูลวิจัยเพื่อสนับสนุนงานวิจัยและการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
  • กำหนดบทบาทและความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดการข้อมูล เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้

**นโยบายฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการข้อมูลของคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นการรักษาความปลอดภัยความเป็นส่วนตัว และความถูกต้องของข้อมูล เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะอย่างมีประสิทธิภาพ