ก่อนหน้านี้ เราได้รู้แล้วว่าการเอียงของแกนโลกส่งผลต่อการเกิดฤดูกาลอย่างมาก ผ่านปรากฏการณ์วันครีษมายัน (ครีด-สะ-มา-ยัน) (Summer Solstice) หรือวันที่มีเวลากลางวันยาวนานที่สุด และเป็นวันที่ประเทศในซีกโลกเหนือเป็นช่วงกลางฤดูร้อน ขณะที่ประเทศในซีกโลกใต้เป็นช่วงกลางฤดูหนาว เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ไปแล้ว

 

ในครั้งนี้ มารู้จักข้อเท็จจริงและเกร็ดน่ารู้อื่น ๆ เกี่ยวกับวันศารทวิษุวัต (สาด-ทะ-วิ-สุ-วัด) (Autumnal Equinox) ปรากฏการณ์ที่ช่วงเวลาในตอนกลางวันเท่ากับช่วงเวลาในตอนกลางคืน ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 23 กันยายน หาคำตอบของปรากฏการณ์ เช่น ตำแหน่งของโลกและดวงอาทิตย์ในวันศารทวิษุวัตเป็นอย่างไร ปรากฏการณ์นี้บ่งบอกการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลอย่างไร คำว่า Equinox แปลว่าอะไร ช่วงเวลากลางวัน-กลางคืนในวันศารทวิษุวัตเท่ากัน 12 ชั่วโมง เป๊ะ ๆ เลยไหม?

 

แล้วจริงหรือไม่ที่ว่าเมื่อไปยืนกลางแจ้งตอนเที่ยงในวันศารทวิษุวัต เราจะไม่มีเงา? ไปกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วฤทธิ์ มิตรธรรมศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล