เนบิวลารูปปู ซากของการระเบิดของดาวขนาดใหญ่ (มหานวดารา หรือ supernova) ในกาแล็กซีทางช้างเผือก แหล่งกำเนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในหลายช่วงคลื่น ตั้งแต่พลังงานต่ำไปถึงพลังงานมหาศาล ซึ่งแม้แต่เครื่องเร่งอนุภาคที่ใหญ่ที่สุดของมนุษย์ก็ยังไม่สามารถสร้างได้ นักฟิสิกส์อวกาศศึกษาเนบิวลารูปปูเพื่ออะไร และศึกษาอย่างไร
ค้นหาคำตอบไปกับ ศาสตราจารย์ ดร.เดวิด จอห์น รูฟโฟโล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วฤทธิ์ มิตรธรรมศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ นักฟิสิกส์อวกาศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในนักวิจัยกลุ่มวิจัยฟิสิกส์อวกาศ ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีคอสมิก ซึ่งทำการศึกษาเกี่ยวกับเนบิวลารูปปูโดยใช้อุปกรณ์ที่ชื่อว่า Large High Altitude Air Shower Observatory (LHAASO) ที่มณฑลเสฉวน ประเทศจีน และกล้องโทรทรรศน์อวกาศเฟอร์มี