โซลาร์เซลล์ในอาคาร : พลังงานตอบโจทย์ Internet of Things (IOTs)
ถ้าพูดถึงโซลาร์เซลล์ เรามักจะคิดถึงแผงวงจรที่ตั้งอยู่กลางแจ้ง เพื่อเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์แล้วเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้า และคุ้นตากับแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งใกล้กับอาคารที่อยู่อาศัย บนหลังคาสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ หรือทุ่งโซลาร์เซลล์กลางแจ้งขนาดใหญ่ แต่รู้หรือไม่ว่าขณะนี้มีการพัฒนาเทคโนโลยีโซลาร์เซลล์ให้ล้ำหน้าไปอีกขั้นด้วยการปรับให้วัสดุที่นำมาสร้างเป็นแผงวงจรสามารถเก็บพลังงานจากแสงที่มีปริมาณน้อยกว่า อย่างเช่นแสงภายในอาคารได้ด้วย
โซลาร์เซลล์ในอาคารมีแนวคิดการทำงานแบบไหน มีประโยชน์ และสามารถตอบโจทย์การเข้าสู่ยุค Internet of Things (IOTs) ได้อย่างไร รู้จัก “โซลาร์เซลล์ในอาคาร” ไปกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ ผู้ได้รับทุนการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย
01:34 มีโซลาร์เซลล์แบบอื่นนอกจากโซลาร์เซลล์กลางแจ้งที่เราคุ้นเคยไหม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ อธิบายถึงโซลาร์เซลล์นอกอาคารที่ติดตั้งกลางแจ้งอยู่ทั่วไป และโซลาร์เซลล์ในอาคาร พร้อมบอกถึงความแตกต่างของโซลาร์เซลล์ทั้ง 2 ชนิด
02:30 ทำไมถึงเลือกวิจัยเรื่องโซลาร์เซลล์ที่ใช้ในอาคาร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ เล่าถึงความเป็นมา และแนวคิดในการพัฒนาโซลาร์เซลล์ในอาคารที่รองรับการเข้าสู่ยุคของ Internet of Things (IOTs) โดยใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าอีกด้วย
04:18 ในฐานะที่ได้รับทุนการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย อะไรคือเป้าหมายของการวิจัยเทคโนโลยีโซลาร์เซลล์สำหรับใช้ในอาคาร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ เผยถึงเป้าหมายของการวิจัยและพัฒนาโซลาร์เซลล์ในอาคารตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
05:45 ประโยชน์ของโซลาร์เซลล์ในอาคาร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ อธิบายถึงประโยชน์ของโซลาร์เซลล์ในอาคารที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนไปอีกขั้น
06:26 อายุการใช้งานของโซลาร์เซลล์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ เผยอายุการใช้งานของโซลาร์เซลล์นอกอาคารกับโซลาร์เซลล์ในอาคาร และความตั้งใจในการพัฒนาให้โซลาร์เซลล์ในอาคารมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น
07:12 ความท้าทายของการสร้างเทคโนโลยีจากนวัตกรรมวัสดุใหม่ ๆ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ เผยถึงความท้าทายของการสร้างเทคโนโลยีจากนวัตกรรมวัสดุใหม่ ๆ
07:55 มุมมองต่อการทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโลโลยี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ เปรียบทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโลโลยีเปรียบกับการล่องเรือหาขุมทรัพย์ และหลักการในการทำงานวิจัยให้สำเร็จ
Podcast: Play in new window | Download
Subscribe: Apple Podcasts