รู้ลึกรอบด้านเทคนิคผลิตวัคซีนต้าน COVID-19

ทั่วโลกมีการพัฒนาวัคซีนต้าน COVID-19 เพื่อหวังสร้างภูมิคุ้มกันหมู่หยุดยั้งการระบาดของ COVID-19 ให้ได้ในเร็ววัน และในขณะนี้มีบริษัทที่ได้รับการสนับสนุนโดยภาครัฐและภาคเอกชนกว่า 9 แห่งทั่วโลก  คิดค้นวัคซีนต้าน COVID-19 ได้สำเร็จและผ่านการรับรองจากหน่วยงานควบคุมกำกับด้านคุณภาพและความปลอดภัยของแต่ละประเทศ หรือได้รับการรับรองเป็นกรณีฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) เรียบร้อยแล้ว โดยแต่ละบริษัทก็มีการพัฒนาวัคซีนที่แตกต่างกัน และนอกจากวิธีการที่ต่างกันแล้วราคาก็ยังต่างกันอีกด้วย ซึ่งนานาประเทศทั่วโลกก็เร่งดำเนินการสั่งซื้อกันอย่างเร่งด่วน

มารู้จักวัคซีนต้าน COVID-19 แบบเจาะลึกและรอบด้านกับ รองศาสตราจารย์ พญ.อรุณี ธิติธัญญานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้าน COVID-19 ใน Simple Science ตอน รู้ลึกรอบด้านเทคนิคผลิตวัคซีนต้าน COVID-19

01:36 การพัฒนาวัคซีนต้าน COVID-19 ในปัจจุบันมีกี่ประเภท แต่ละวิธีมีจุดเด่นอย่างไร ใช้เวลาในการพัฒนาเท่าไหร่

รองศาสตราจารย์ พญ.อรุณี อธิบายถึงประเภทของการพัฒนาวัคซีนต้าน COVID-19 ที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน พร้อมให้รายละเอียดจุดเด่นของแต่ละวิธี รวมถึงเวลาในการพัฒนาวัคซีน และสิ่งที่ทำให้การทดสอบประสิทธิภาพวัคซีนในประชากรกลุ่มใหญ่ ระยะที่ 3 (Phase 3) เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

17:11 ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนต้าน COVID-19

รองศาสตราจารย์ พญ.อรุณี กล่าวถึงความปลอดภัยของวัคซีนต้าน COVID-19 ผลข้างเคียง และการปิดช่องว่างด้านความปลอดภัยของวัคซีน ด้วยเทคนิคการพัฒนาวัคซีนต้าน COVID-19 แบบอื่นที่น่าจับตามอง

29:49 ราคาของวัคซีนแต่ละประเภททำไมถึงแตกต่างกัน

รองศาสตราจารย์ พญ.อรุณี เผยถึงสิ่งที่ทำให้วัคซีนแต่ละประเภทมีราคาแตกต่างกัน

31:33 ว่าด้วยเรื่องของโครงการ COVAX

รองศาสตราจารย์ พญ.อรุณี กล่าวถึงโครงการ COVAX ซึ่งเป็นทำข้อตกลงกับกลุ่มวิจัยวัคซีนที่มีแนวโน้มประสบความสำเร็จและจะกระจายวัคซีนให้ประเทศที่เข้าร่วมโครงการอย่างทั่วถึง

33:08 ในส่วนของวัคซีนต้าน COVID-19 ที่ประเทศไทยกำลังพัฒนาอยู่เป็นวัคซีนประเภทไหน? อีกนานไหมกว่าจะได้ใช้วัคซีนต้าน COVID-19 ฝีมือคนไทย

รองศาสตราจารย์ พญ.อรุณี เล่าถึงความหวังที่ประเทศไทยจะมีวัคซีนต้าน COVID-19 ฝีมือกลุ่มนักวิจัยไทย ในฐานะที่อาจารย์ดูแลห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยา ตามมาตรฐานความปลอดภัยระดับที่ 3 (Bio Safety Level 3; BSL-3) ซึ่งได้มีส่วนช่วยทดสอบประสิทธิภาพวัคซีนให้กับทีมวิจัยวัคซีนแนวหน้าของไทยถึง 3 กลุ่ม