How to ทำยาทากันยุงแบบ D.I.Y.

สภาพอากาศในเดือนตุลาคม 2563 นี้ บางพื้นที่มีฝนตกอย่างต่อเนื่องด้วยอิทธิพลของร่องความกดอากาศและพายุ แน่นอนว่าช่วงเวลาที่ฝนตกชุกนั้น นอกจากโควิด 19 ที่ทุกคนจะต้องเฝ้าระวัง การ์ดอย่าตกกันแล้ว เราก็ควรให้ความสำคัญกับโรคภัยไข้เจ็บยอดฮิตในพื้นที่เขตร้อนอย่างประเทศไทย เช่น โรคไข้เลือดออก และโรคอื่น ๆ ทีมียุงเป็นพาหะของโรคด้วยเช่นกัน ซึ่งหนึ่งในการป้องกันโรคคือการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และหลีกเลี่ยงไม่ให้โดนยุงกัด ที่สามารถทำได้ด้วยการใช้ยากันยุงในรูปแบบต่าง ๆ

เราสามารถสกัด “ยาทากันยุง” เองได้หรือไม่ และเทคนิคพื้นฐานในการทำยาทากันยุง ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยคืออะไร ดร.จินรภา โพธิกสิกร นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ ภาควิชาจุลชีววิทยา มีคำตอบ

01:07 ยาทากันยุง เกราะป้องกันสารพัดโรคเขตร้อน

ดร.จินรภา โพธิกสิกร อธิบายถึงโรคเขตร้อนที่มียุงเป็นพาหะโรคไหนบ้างที่เราสามารถป้องกันการติดต่อได้ง่าย ๆ ด้วยการทายาทากันยุง

01:53 อะไรเป็นเทคนิคพื้นฐานที่สำคัญในการทำยาทากันยุง

ดร.จินรภา โพธิกสิกร เล่าถึงพื้นฐานที่สำคัญในการทำยาทากันยุงที่มีประสิทธิภาพ

02:43 How to ทำยาทากันยุงแบบ D.I.Y.

วิธีการสกัดยาทากันยุงอย่างง่าย ด้วยอุปกรณ์ที่หาได้ภายในห้องครัว

  • สมุนไพรไล่ยุง เช่น ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ยูคาลิปตัส
  • หม้อสเตนเลสทรงลึกใบใหญ่ 1 ใบ
  • หม้อสเตนเลสทรงลึกใบเล็ก 1 ใบ
  • กระทะทรงลึก 1 ใบ
  • เตาแก๊ส
  • น้ำแข็ง
  • ผ้าขนหนูชุบน้ำ
  • กระบอกฉีดยา (Syringe)
  • นำเอาสมุนไพรใส่หม้อทรงลึกใบใหญ่ และใส่น้ำจนท่วม ตั้งบนเตาแก๊ส
  • วางหม้อสเตนเลสทรงลึกใบเล็กลงไปในหม้อใบใหญ่
  • วางกระทะปิดปากหม้อใบใหญ่
  • คาดผ้าขนหนูชุบน้ำรอบ ๆ ปากหม้อใบใหญ่
  • ใส่น้ำแข็งลงในกระทะ
  • เปิดแก๊สไฟแรงปานกลาง ต้มสมุนไพรนาน 15 – 30 นาที คอยเติมน้ำแข็งเรื่อย ๆ อย่าขาดช่วง
  • เทน้ำที่ได้จากการสกัดลงในแก้วใส
  • ใช้กระบอกฉีดยาดูดเอาน้ำมันที่แยกชั้นอยู่บนน้ำอย่างชัดเจนออกมา
  • นำน้ำมันที่ได้บรรจุลงในขวดสเปรย์สำหรับใช้งาน

06:10 ยาทากันยุงต้องทาเยอะแค่ไหน แล้วมีฤทธิ์ไล่ยุงได้นานกี่ชั่วโมง

ดร.จินรภา โพธิกสิกร แนะนำถึงการใช้ยาทากันยุงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

07:19 เกี่ยวกับการวิจัยเรื่องยาทากันยุง

ดร.จินรภา โพธิกสิกร เผยถึงแผนการวิจัยเพิ่มประสิทธิภาพยาทากันยุงโดยที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ