ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน
ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ประวัติการศึกษา
ระดับปริญญาตรี - B.Sc. (Physics) Mahidol University พ.ศ. 2524
ระดับปริญญาโท - M.Sc. (Physics) Louisiana State University, Baton Rouge, Louisana, U.S.A พ.ศ. 2530
ระดับปริญญาเอก - Ph.D. (Physics) University of Cincinnati, Cincinnati, Ohio, U.S.A พ.ศ. 2536
ประวัติการทำงาน
- Academic
- Lecturer, Dapartment of Physics, Mahidol University
- Lecturer, Department of Physics, Chulalongkorn University
- Associate Member (since 1985), International Centre for Theoretical Physics, TRIEST, Italy
- Visiting Professor, Tokyo Institute of Technology, Ookayama, Tokyo (1996)
- Visiting Professor, Institute for Theoretical Physics, Leipzig, Germany (1997)
- Industry and Executive Management
พ.ศ. 2547-2552 General Manager, Fabrinet Corporation Ltd. (U.S Optical Telecommunucation )
พ.ศ. 2552-2553 ผู้อำนวยการฝ่ายองค์ความรู้และต้นแบบ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) กระทรวงกลาโหม
พ.ศ. 2553-2558 รองผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) กระทรวงกลาโหม
พ.ศ. 2559 ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
เกียรติประวัติ
Thai-Torey Science Foundation: Outstanding Research 1996 and 1997
การมีส่วนร่วมในการพัฒนาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เป็นที่ทราบกันดีว่า รัฐบาลได้ผนวก กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงเศรษฐกิจของประเทศ และเพื่อให้การดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปอย่างเป็นรูปธรรม มี output, outcome และ impact ที่ชัดเจนเชิงประจักษ์ ได้มีการกำหนดกรอบการดำเนินการเชิงนโยบายที่เรียกว่า Agenda Based ซึ่งประกอบด้วยการพัฒนาด้านต่างๆ 5 ด้าน คือ
- Food Innopolis (เมืองนวัตกรรมอาหาร) เพื่อสร้าง Innovation และ Value-added Products ในกลุ่มอาหาร
- Mechatronics and Automation System เพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม
- SME
- STEM (Science Technology Engineering Mathematics) Education
- Future Technology
ในฐานะที่เป็นผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะสามารถร่วมผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ กับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการพัฒนาด้านต่างๆ ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น
- การนำ Nuclear Technology ไปประยุกต์ใช้ในการวิจัยด้านต่างๆ เช่น การใช้ Nuclear Radiation ในการวิจัยทางวัสดุศาสตร์ ทั้งในด้าน Characterization และ Synthesis
- การจัดทำหลักสูตรของคณะวิทยาศาสตร์ที่ align กับแผนยุทธศาสตร์ของประเทศ เพื่อให้การผลิตบัณฑิตสอดคล้องกับความต้องการบุคลากรในอนาคตของประเทศ
- การพัฒนาต่อยอดจากผลงานวิจัยไปสู่ Product Development ซึ่งขั้นตอนการพัฒนาจาก R&D ไปสู่ Output ที่มี Economic Impact คือ
(1) Conceptual Design ซึ่งจะเป็นขั้นตอนที่เชื่อมกับทางมหาวิทยาลัยโดยตรง
(2) Preliminary Design
(3) Prototyping and Validation เพื่อนำไปสู่การขยายฐานไปสู่ผู้ประกอบการ
จากประสบการณ์ที่เคยดำรงตำแหน่งระดับบริหารเชิงพาณิชย์ในภาคเอกชน จะสามารถเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างภาคการศึกษา - การวิจัยและพัฒนา กับ ผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรมต่างๆ