ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน
นายกสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย และ Research Platform Leader, ศูนย์นวัตกรรม (Global Innovation Incubator) บริษัท ไทย ยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

ประวัติการศึกษา   
ระดับปริญญาตรี - วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2522
ระดับปริญญาโท - วิทยาศาสตร์อาหาร University of Illinois, Urbana-Champaign, USA
ระดับปริญญาเอก - วิทยาศาสตร์อาหาร University of Illinois, Urbana-Champaign, USA

ประวัติการทำงาน  

  • ตำแหน่งทางวิชาการ
    พ.ศ. 2529-2535       Assistant Professor, Dept. of Food Science, University of Massachusetts, Amherst, MA
    พ.ศ. 2535-2541       Associate Professor, Dept. of Food Science, University of Massachusetts, Amherst, MA
    พ.ศ. 2536                Acting Department Head (6 months), Department of Food Science, University of Massachusetts, Amherst, MA
    พ.ศ. 2541-2546       Professor, Dept. of Food Science, University of Massachusetts, Amherst, MA
    พ.ศ. 2546-2552       Product Science Fellow, Hill’s Pet Nutrition, Inc, Science and Technology, Topeka, KS
    พ.ศ. 2552-2557       ศาสตราจารย์เทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    พ.ศ. 2558-ปัจจุบัน    Chemistry Leader and Research Platform Lead, Thai Union Frozen Products (TUF), Global Innovation Incubator
  • ตำแหน่งทางบริหาร
    พ.ศ. 2552-2554       ผู้อำนวยการสถานวิจัยผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและอาหารเพื่อสุขภาพ (NFF), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    พ.ศ. 2554-2556       คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    พ.ศ. 2558-ปัจจุบัน    Chemistry Leader and Research Platform Lead, ศูนย์นวัตกรรมบริษัท ไทย ยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
    พ.ศ. 2558-ปัจจุบัน    นายกสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารแห่งประเทศไทย FoSTAT).

งานที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม/ประเทศชาติ

  • การทำงานร่วมมือกับประเทศไทย: อ.ภาวิณีทำงานร่วมมือกับนักวิชาการในประเทศไทย ด้านวิทยาศาสตร์อาหารและด้านมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ โดยการสนับสนุนจากทบวงมหาวิทยาลัยและกระทรวงวิทยาศาสตร์ (โครงการสมองไหลกลับ-ATPAC or the Association of Thai Profession in America and Canada)
  • หลังจากได้ประสบการณ์การทำงานในสหรัฐอเมริกา อ.ภาวิณี ได้ตัดสินใจย้ายกลับมาประเทศไทยเพื่อช่วยพัฒนามหาวิทยาลัยภาคใต้ สร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยเชิงบูรณาการและนำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งด้านการพัฒนาระบบ กระบวนการ และธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรในมหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และอื่นๆ) และในภาคเอกชน (เป็นส่วนหนึ่งของการจัดตั้ง Global Innovation Incubator, TU ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเป็นผู้ประสานงานหลักของการเขียนโครงการ BOI เฟส 1 และ 2 รวมงบประมาณ 250 ล้านบาท และประสานได้คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ มาร่วมงานประมาณ 30 ท่าน)

ผลงานเด่นที่เป็นที่ยอมรับและภาคภูมิใจ

  • มีผลงานตีพิมพ์จาก ปริญญาโทและเอก (peer review journal) 16 ชิ้น ด้านเคมีฟิสิกส์ในอาหาร
  • ชิวิตอาจารย์ (University of Massachusetts) ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ภายใน 6 ปี และตำแหน่งศาสตราจารย์ภายใน 6 ปี ต่อมา ศึกษาค้นคว้าวิจัยคุณสมบัติของน้ำที่มีผลกระทบต่อคุณสมบัติของอาหาร ผลงานที่เด่นที่สุดคือการศึกษาการเคลื่อนไหวของโมเลกุลน้ำโดยวิธีฟิสิกษ์ โดยใช้ NMR (Nuclear Magnetic Resonance) งานวิจัยอาหารทหาร (US Army R&D Center), วิทยาศาสตร์ชีวโพลีเมอร์ นำทีมวิจัยให้ได้ทุนวิจัยขนาดใหญ่
  • งานวิจัยที่บูรณาการ ใน 17 ปีของการเป็นอาจารย์ในสหรัฐอเมริกา อ.ภาวิณีร่วมมือกับทางหน่วยวิจัยอาหารทหารของกระทรวงกลาโหม ด้านอายุการเก็บอาหารโดยเฉพาะขนมปัง อ.ภาวิณีศึกษาการนำโปรตีนจากเศษปลามาใช้ ทางการหืนของไขมันนมและไขมันปลา โครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนรวมแล้วมากกว่า 1 ล้านดอลล่าสหรัฐ อ.ภาวิณีได้สร้างความร่วมมือกับหลายศาสตร์ เช่น โพลีเมอร์, เคมี จุลชีววิทยา และกลุ่มวิจัยข้าวและมันสัมปะหลังในประเทศไทย 
  • งานวิจัยในประเทศไทย อ.ภาวิณีศึกษาการนำโปรตีนจากปลาทูน่ามาใช้ในอาหารสัตว์เลี้ยงและคุณสมบัติเชิงสุขภาพ (ร่วมกับบริษัทสงขลาแคนนิ่ง) นอกจากนั้นยังได้รับทุนจากโครงการมหาวิทยาลัยวิจัย ในการศึกษาสารออกฤทธ์เชิงสุขภาพจากอาหารในภาคใต้ของไทย และผลที่เกี่ยวข้องกับโรคผู้สูงอายุ  อ.ภาวิณี ได้ริเริ่มโครงการอาหารพร้อมทานสำหรับทหาร (สำนักงานวิชาการเกษตร) โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยพระมงกุฏ อาหารผู้ประสบอุทกภัย อ.ภาวิณีร่วมโครงการครัวไทยสู่ครัวโลก (สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ) โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีคุณสมบัติเชิงสุขภาพ
  • อ.ภาวิณี มีผลงานตีพิมพ์มากกว่า 80 ชิ้นงาน (peer-reviewed journals) และมีการนำเสนอทางวิชาการกว่า 100 และบทความในหนังสือนานาชาติมากกว่า 30 บทความ สิทธิบัตร 5 ชิ้น
  • ตีพิมพ์หนังสือ Bread Staling หรือ การแข็งตัวของขนมปัง รองบรรณาธิการของสารานุกรมของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร (4 เล่ม) และ บรรณาธิการ หรือ Editor in Chief (Songkhlanakarind Journal of Science and Technology) และรองบรรณาธิการหลายวารสาร เช่น Cereal Chemistry
  • ได้รับเชิญเข้าร่วมกรรมการต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา เช่น โครงการอาหารฉุกเฉินสำหรับผู้ประสบภัย (USAID-US Army-Institute of Medicine, USA) และ FASEB (Federation of American Societies for Experimental Biology) เพื่อประเมินการขออนุญาต ขององค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา และประธานกรรมการวิชาการ และกรรมการเคมีอาหารของสถาบันเทคโนโลยีอาหารแห่งสหรัฐอเมริกา
  • ในสหรัฐอเมริกา อ.ภาวิณี ได้ร่วมพัฒนางานวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์อาหารที่ institute of Food Technologists เช่น ได้เป็นสมาชิกและประธานกรรมการการศึกษา (Committee on Education) ที่กำหนดมาตรฐานหลักสูตรระดับประเทศ และดำเนินการประเมินหลักสูตรเพื่อสร้างความเข้มแข็งในบัณฑิตในสายวิทยาศาสตร์การอาหารแห่งสหรัฐอเมริกา รวมถึงการสนับสนุนการให้ทุนนักศึกษา ได้เป็นประธาน Food Chemistry Division ซึ่งจัดประชุมทางวิชาการประจำปี ที่เจาะประเด็นสำคัญในงานวิจัยเคมีอาหารและเสริมสร้างงานวิจัยที่เข้มแข็งฃ
  • งานสนับสนุนส่งเสริมนักวิชาการวิทยาศาสตร์อาหารแห่งประเทศไทย: ศ. ดร.ภาวิณี ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารแห่งประเทศไทย (Food Science and Technology Association of Thailand หรือ FoSTAT).  FoSTAT เป็นองค์กรอิสระไม่หาผลกำไร ที่มุ่งสนับสนุนนักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร  ด้วยงาน 4 หลัก คือ สร้างความเข้มแข็งด้านวิชาการด้วยงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม  จัดมาตรฐานด้วยการสอบคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์อาหาร (credited Food Science Professional Standard examination cfops)  จัดงานประชุมวิชาการและกิจกรรมการแข่งขันนวัตกรรมอาหารและตอบคำถาม (quiz competition) อบรมวิชาการ และ ร่วมงานเชิงนโยบาย ในและต่างประเทศ (e.g., UN-FAO, ASEAN, Thailand, IUFoST หรือ world food congress, and IFT-USA). ปัจจุบันได้เป็นองค์กรร่วมในการพัฒนากระบวนการขออณุญาตอาหารสุขภาพกับ องค์การอาหารและยาและสำนักงานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (สวทน)

รางวัลและเกียรติที่ได้รับ

  • พ.ศ. 2542  - รางวัล ศาสตราจารย์ยอดเยี่ยมที่สหรัฐอเมริกา (Outstanding Professor award) จาก NE IFT (Institute of Food Technologist, Eastern Conference)
  • พ.ศ. 2532  - Lilly Teaching Fellow (University of Massachusetts, Amherst)
  • พ.ศ. 2540 - CFNR Certificate of Excellence in Advising and  Outstanding Advisor Award  (University of Massachusetts, Amherst)
  • พ.ศ. 2550 - Global Winner of Colgate Palmolive’s Chairman You Can Make a Difference Award

ปณิธานที่ยึดถือในการทำงานและการดำรงชีวิต

พัฒนาจิตใจให้เป็นผู้น้อยใฝ่รู้ความรู้แปลกใหม่เสมอ เปิดประตูใหม่ให้ตัวเอง พยายามทำให้ทักษะที่ดีมีอยู่เจริญขึ้นและรู้ข้อบกพร่องของตนเพื่อการปรับปรุงต่อเนื่องเสมอๆ อย่าให้ปัจจัยเชิงลบเข้ามากระทบตนและงาน พยายามแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้เร็วก่อนกลับบ้านเสมอ ทำตัวเป็นผู้ผูกกัลยาณมิตรให้แน่นแฟ้น เป็นผู้ฟังที่ดี และนำข้อดีของคนอื่นมาเป็นครู แต่ขอให้กล้าคิดต่างและทำต่างไปจากเดิม และเมื่อไหร่ที่เราคิดว่าไม่เห็นมีอะไรที่จะต้องปรับปรุง เมื่อนั้นเตรียมตัวกับความล้มเหลวได้เลย

สร้างฉันทะในการทำงานแล้วจะสามารถเพิ่มความเพียรพยายามให้สู่ความสำเร็จได้ โดยให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วย มีไฟแต่อย่าให้ไฟนั้นรุ่มร้อนในตัวเอง

และสำหรับครูบาอาจารย์นั้น เราต้องเชื่อในลูกศิษย์เสมอว่าเขาจะต้องไปได้ไกลกว่าเรา เพราะเขาได้สิ่งที่ครูบาอาจารย์สะสมไว้เป็นมรดกให้พวกเขา เขาคืออนาคตของเรา

หากเรานักวิชาการสามารถมองทะลุความสำเร็จส่วนตัวได้แล้ว ขอให้ รู้จักเปลี่ยนชีวิตตัวเพื่อทำอะไรให้ประเทศชาติได้ประโยชน์และให้สาธารณชนมีพื้นที่และชีวิตในสังคมที่ดีกว่า เมื่อรู้สึกว่าตนก้าวหน้ามาพอแล้วให้รู้จักวางประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนรวม