ความมหัศจรรย์ของพืชเฉพาะถิ่น (Fantastic endemic plants and how to find them)

พืช มีวิวัฒนาการมากว่าร้อยล้านปี มีความหลากหลายกว่าแสนชนิดกระจายอยู่ทั่วโลก โดยพืชแต่ละชนิดก็มีลักษณะและความพิเศษแตกต่างกันไป ทำให้เราสามารถพบพืชบางชนิดได้เฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น พืชเฉพาะถิ่นบางชนิดมีสารออกฤทธิ์ที่สามารถนำไปใช้ทางการแพทย์ได้ บางชนิดใช้เป็นอาหารได้ บางชนิดเป็นไม้ประดับที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ บางชนิดเป็นพืชหายาก และหนึ่งผู้ที่ทำหน้าที่สำรวจเพื่อสืบหาและศึกษาพืชพรรณที่แสนพิเศษ เพื่ออนุรักษ์พืชเหล่านี้ไว้ก็คือนักพฤกษศาสตร์ที่ทำงานด้านอนุกรมวิธานพืชนั่นเอง

การศึกษาด้านอนุกรมวิธานพืชไม่ใช่เพียงการตั้งโจทย์วิจัยแล้วหาคำตอบภายใน 2-3 ปี แต่เป็นการใช้ประสบการณ์ของนักวิจัยร่วมกันสำรวจและศึกษาพืชแต่ละกลุ่มอย่างรอบด้านตามความความเชี่ยวชาญ ก่อนจะนำมารวบรวมเป็นข้อมูลมีความสมบูรณ์ที่สุด เพื่อวางแผนการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน 2 นักพฤกษศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทยา เจนจิตติกุล และ ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งล่าสุดได้ตีพิมพ์การค้นพบ “เปราะแมงมุม” พืชเฉพาะถิ่นสีขาวสวย สกุลเปราะ พืชเฉพาะถิ่นชนิดใหม่ของไทยกล่าว

01:18 พืชเฉพาะถิ่นคืออะไร

ทำความเข้าใจกับความหมายของพืชเฉพาะถิ่น และเบื้องหลังการทำงานของนักพฤกษศาสตร์ในการสำรวจเพื่อสืบหาพืชชนิดใหม่ กับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทยา เจนจิตติกุล และ ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล

03:30 ความสำคัญของพืชเฉพาะถิ่น โยงใยที่ซ่อนเร้นของพืชกับสิ่งมีชีวิตในพื้นที่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทยา เจนจิตติกุล และ ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล กล่าวถึงความสำคัญของพืชเฉพาะถิ่น และโยงใยความสัมพันธ์ที่ซ่อนเร้นของพืชกับสัตว์และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ พร้อมเผยภูมิประเทศที่พบพืชเฉพาะถิ่นมากในประไทย และความเสี่ยงต่อการหายไปของพืชเฉพาะถิ่น

07:52 เปราะแมงมุม พืชเฉพาะถิ่นชนิดใหม่ของไทย

เกี่ยวกับการค้นพบเปราะแมงมุม พืชวงศ์ขิงเฉพาะถิ่นชนิดใหม่ของไทยทั้งถิ่นที่อยู่ การกระจายตัว ลักษณะเฉพาะ ที่มาของชื่อและการค้นพบ การนำไปใช้ประโยชน์ การศึกษาต่อยอดในอนาคต รวมถึงความพิเศษของการศึกษาวิจัยด้านอนุกรมวิธานพืช

18:28 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาพืชเฉพาะถิ่น

การพบพืชเฉพาะถิ่นในพื้นที่หนึ่งบ่งชี้ถึงอะไร เราสามารถอนุรักษ์พืชอย่างยั่งยืนได้อย่างไร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทยา เจนจิตติกุล และ ดร.สาโรจน์ รุจิสรรค์สกุล ยกกรณีศึกษา การอนุรักษ์พืชในถิ่นอาศัยด้วยการท่องเที่ยว