เคยสงสัยไหมว่า แม้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจะระดมสรรพกำลังด้วยกันในการศึกษาเชื้อ SARS-CoV-2 ต้นเหตุของโรค “โควิด-19” ทั้งพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันโรค พัฒนายารักษาโรค บังคับใช้สารพัดมาตรการป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ แต่ทำไมเราถึงยังไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% และกวาดล้างโรคนี้ให้หมดไปเหมือนกับที่ทำกับโรคระบาดอื่น ๆ ได้เสียที
ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกได้ทำการศึกษาเชื้อ SARS-CoV-2 เพื่อต่อสู้กับโรคระบาดโควิด-19ที่เกิดขึ้น โดยในการศึกษาเชื้อไวรัส นักวิทยาศาสตร์จะต้องเลี้ยงไวรัสในห้องปฏิบัติการเพื่อเพิ่มปริมาณไวรัสสำหรับการทำการทดลองต่าง ๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วนักวิทยาศาสตร์จะอนุมานว่าไวรัสที่ได้จากการเพาะเลี้ยงจะเหมือนกับไวรัสต้นแบบ และผลการทดลองที่ได้จากการศึกษาไวรัสเพาะเลี้ยงนั้นจะสะท้อนธรรมชาติของไวรัสต้นแบบ แต่ผลการศึกษากลับบ่งชี้ว่า SARS-CoV-2 มักจะกลายพันธุ์ไประหว่างการเพาะเลี้ยง และนี่อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การต่อสู้กับโรคโควิด-19 นั้นดำเนินไปอย่างยากลำบากและล่าช้า
ในการศึกษานี้ ทีมนักวิจัยทำการศึกษาการปรับตัว (adaptation) ของ SARS-CoV-2 สองสายพันธุ์ คือ B.1.36.16 ซึ่งเป็นสายพันธุ์เด่นในช่วงระลอกการระบาดที่ 2 ของประเทศไทย และ AY.30 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์เดลต้าที่ระบาดอย่างกว้างขวางในช่วงระลอกการระบาดที่ 4 ของประเทศ ระหว่างการเพาะเลี้ยงในเซลล์สามสายพันธุ์ คือ Vero E6, Vero E6/TMPRSS2 และ Calu-3 ซึ่งเป็นเซลล์ที่ถูกใช้บ่อยครั้งในการเพาะเลี้ยง SARS-CoV-2
ทีมนักวิจัยพบว่าไวรัสเพาะเลี้ยงทั้ง 2 สายพันธุ์กลายพันธุ์ในหลายตำแหน่งกระจัดกระจายไปทั่วทั้งจีโนม ซึ่งการกลายพันธุ์ที่พบในหลาย ๆ จุดก็เป็นการกลายพันธุ์ที่สามารถพบได้ในเชื้อที่แยกได้ตามธรรมชาติด้วย การกลายพันธุ์ปรับตัวที่เด่นชัดถูกเจอในส่วนของลำดับสารพันธุกรรมที่โคด (code) โปรตีน non-structural protein 1, non-structural protein 3, spike glycoprotein, nucleocapsid protein และ membrane glycoprotein โดยรูปแบบกลายพันธุ์ปรับตัวนั้นมีความแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ของไวรัสและชนิดของเซลล์ที่ถูกใช้ในการเพาะเลี้ยง
ผลการศึกษา ชี้ให้เห็นถึงความสามารถในการปรับตัวที่สูงมากของ SARS-CoV-2 และความสำคัญของการหาและวิเคราะห์ลำดับสารพันธุกรรม ของเชื้อที่ถูกเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการก่อนที่จะถูกนำไปใช้ในการทดลองทางชีววิทยาที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อน เพื่อให้มั่นใจว่าเชื้อที่ได้จากการเพาะเลี้ยงนั้นเหมือนกับเชื้อต้นแบบ
การศึกษานี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญและบทบาทของการศึกษารูปแบบทางวิวัฒนาการของไวรัส ในการรับมือกับการระบาดของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (หรือแม้กระทั่งโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ) เพื่อให้เรามีสุขภาพที่ดีและปลอดภัยในอนาคต
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |