ผู้ดำเนินการร่วม
ปัจจุบันโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นตามวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของมนุษย์ และความแตกต่างในระดับพันธุกรรมของแต่ละบุคคล ในขณะที่การให้ยาเพื่อรักษาในรูปแบบปกติยังคงมีข้อจำกัด ทำให้การรักษายังไม่มีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ยาอาจจะถูกทำลายหรือเสียสภาพทำให้มีปริมาณน้อยลงก่อนออกฤทธิ์รักษา หรืออาจจะมีปริมาณที่มากเกินความจำเป็น นอกจากจะเป็นการสิ้นเปลืองยาโดยใช่เหตุแล้ว อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์แก่ผู้ใช้ยาอีกด้วย ดังนั้นการพัฒนาระบบนำส่งยาที่สามารถควบคุมการปลดปล่อยยาได้ รวมทั้งการควบคุมการปลดปล่อยยาให้มีความจำเพาะกับบุคคล เพื่อให้การรักษาด้วยยามีประสิทธิภาพสูงที่สุด จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่มีความน่าสนใจทั้งทางด้านวิชาการและเทคโนโลยี
ในงานวิจัยนี้ นักวิจัยจึงมุ่งเน้นไปที่การสังเคราะห์ “นาโนเจลแบบแกน-เปลือก” ที่สามารถต่อยอดเป็นระบบนำส่งยารักษาโรค ที่ควบคุมการปลดปล่อยยาได้ ย่อยสลายได้ รวมทั้งไม่เป็นพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งนาโนเจลแบบแกน-เปลือก ที่ทีมวิจัยสังเคราะห์ได้มีส่วนแกนเป็น poly(2 hydroxyethyl methacrylate) หรือ PHEMA และส่วนเปลือกเป็นไตรเมธิลไคโตซาน หรือ TMC โดยใช้วิธีอิมัลชัลพอลิเมอไรเซชันแบบใช้แสงกระตุ้นและไม่เติมสารลดแรงตึงผิว (surfactant-free emulsion photopolymerization)
ถึงแม้ว่า PHEMA จะเป็นพอลิเมอร์สังเคราะห์ แต่ก็มีสมบัติที่ชอบน้ำ (hydrophilic) เข้ากันได้กับสิ่งมีชีวิต (biocompatible) มีการนำไปใช้เป็นวัสดุฐานสำหรับทำคอนแทคเลนส์ และประยุกต์ใช้ทางด้านชีวการแพทย์มากมายในรูปของไฮโดรเจล ส่วน TMC เป็นอนุพันธ์ชนิดหนึ่งของไคโตซาน โดยสารตั้งต้นของไคโตซานคือไคติน เป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติสามารถสกัดได้จากเปลือกกุ้ง หรือกระดองปู เป็นต้น สามารถย่อยสลายได้ และเข้ากันได้กับสิ่งมีชีวิต โดยส่วนแกนของนาโนเจลในงานวิจัยนี้จะประกอบไปด้วยพันธะไดซัลไฟด์ (-S-S-) ที่สามารถแตกสลายได้ผ่านปฏิกิริยารีดอกซ์ ด้วยตัวสารเคมีในร่างกายของมนุษย์ เช่น กลูตาไธโอน (Glutathione)
และนอกจากศึกษาการหาสภาวะที่ดีที่สุดสำหรับการสังเคราะห์นาโนเจลชนิดนี้แล้ว ทีมวิจัยยังบรรจุเมลาโทนินซึ่งเป็นยาต้นแบบลงไปในนาโนเจล เพื่อทดสอบความสามารถในการย่อยสลายของนาโนเจลที่สังเคราะห์ได้ ผ่านการกระตุ้นด้วยปฏิกิริยารีดอกซ์ และความสามารถในการปลดปล่อยยาต้นแบบ อีกด้วย
โดยผลการทดสอบพบว่าระบบนาโนเจลที่ถูกกระตุ้นการย่อยสลายด้วยปฏิกิริยารีดอกซ์สามารถปลดปล่อยยาต้นแบบได้สูงถึง 60 % ในระยะเวลา 2-3 ชั่วโมง ถ้าเทียบกับสภาวะที่ไม่ถูกกระตุ้น (~40 %) ในช่วงเวลาที่เท่ากัน
ในอนาคตทีมวิจัยหวังว่านาโนเจลที่สังเคราะห์ได้นี้จะถูกพัฒนาต่อเป็นระบบนำส่งยารักษาโรคที่มีประสิทธิภาพ ไม่เป็นพิษกับมนุษย์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และปรับระบบให้จำเพาะกับแต่ละบุคคล เช่น ผู้ที่แพ้ยาบางชนิด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาแบบแม่นยำและจำเพาะ (Precision Medicine) ได้ในอนาคต
สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม (Build resilient infrastructure, promote inclusive and sustainable industrialization and foster innovation)
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |