การศึกษาการแสดงออกของยีน EgNRT2.3 and EgNAR2 ถูกควบคุมโดยการขาดธาตุไนโตรเจนและการทำหน้าที่ร่วมกันของโปรตีนทั้งสองในการดูดซึมและขนส่งไนเตรตในปาล์มน้ำมัน

EgNRT2.3 and EgNAR2 expression are controlled by nitrogen deprivation and encode proteins that function as a two-component nitrate uptake system in oil palm

       ปาล์มน้ำมัน (Elaeis guineensis Jacq.) เป็นพืชที่มีความสำคัญต่อการผลิตน้ำมันปาล์มและไบโอดีเซล การปลูกปาล์มน้ำมันจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยจำนวนมากเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง แต่ในปัจจุบันวิธีการประเมินการใส่ปุ๋ยและการจัดการสำหรับปาล์มน้ำมันนั้นยังคงอาศัยการวิเคราะห์ธาตุอาหารจากใบและดิน เนื่องจากยังมีการศึกษาที่ไม่มากนักเกี่ยวกับกลไกการดูดซึมธาตุอาหารในระดับโมเลกุล

       งานวิจัยนี้เกี่ยวกับการศึกษายีน EgNRT2.3 และ EgNAR2 โดยจากการแสดงออกของยีนทั้งสองพบการแสดงออกที่สูงที่สุดในรากอ่อนลำดับที่ 3 และ 4  ของปาล์มน้ำมัน และยังพบอีกว่ายีนทั้งสองมีการเพิ่มระดับการแสดงออกที่ตอบสนองต่อการขาดธาตุไนโตรเจน และมีรูปแบบการแสดงออกของยีนที่แตกต่างกันไปตามชนิดของสารประกอบไนโตรเจนที่ให้กับปาล์มน้ำมัน

       นอกจากนี้จากการวิเคราะห์โปรโมเตอร์ของยีนทั้งสองยังพบส่วนควบคุมการแสดงออกของยีนที่สัมพันธ์กับการตอบสนองต่อการขาดธาตุไนโตรเจน ส่วนการศึกษาหน้าที่ของโปรตีนที่ผลิตจากยีน ด้วยวิธีการศึกษาในไข่กบ (Xenopus oocyte assay) แสดงให้เห็นว่าโปรตีน EgNRT2.3 และ EgNAR2 ต้องทำหน้าที่ร่วมกันในการขนส่งไนเตรต (two-component nitrate uptake system) ซึ่งเป็นรายงานการศึกษาระบบการทำงานนี้ครั้งแรกในปาล์มน้ำมัน

ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าโปรตีน EgNRT2.3 และ EgNAR2 ทำหน้าที่เป็นระบบการขนส่งไนเตรตในปาล์มน้ำมัน

       อีกทั้ง ยังช่วยทำให้เราเข้าใจกลไกการดูดซับไนโตรเจนขั้นพื้นฐานในปาล์มน้ำมันได้มากขึ้น ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงรูปแบบและประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในปาล์มน้ำมันต่อไปในอนาคต

SDGs หลัก

ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตร กรรมที่ยั่งยืน (End hunger, achieve food security and improved nutrition and promote sustainable agriculture)

มุมมองใหม่ การออกแบบอย่างมีเหตุผล และวิศวกรรมของวัสดุจากดีบุก สำหรับการลด CO2 โดยเคมีไฟฟ้า

New perspectives, rational designs, and engineering of Tin (Sn)-based materials for electrochemical CO2 reduction

       การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก (CO2) ที่เราปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญมากในการป้องกันผลกระทบด้านลบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วิธีหนึ่งในการทำเช่นนี้คือการใช้กระบวนการที่เรียกว่าการลด CO2 ด้วยเคมีไฟฟ้า ซึ่งเปลี่ยน CO2 ให้เป็นสารเคมีและเชื้อเพลิงที่มีประโยชน์ 

      ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สนใจใช้วัสดุที่มีส่วนประกอบของดีบุกเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาสำหรับกระบวนการนี้ เนื่องจากมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงวิธีต่าง ๆ ในการปรับปรุงประสิทธิภาพของวัสดุที่มีดีบุกเหล่านี้เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

      นอกจากนี้ ในบทความยังได้กล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ เช่น องค์ประกอบของวัสดุ ขนาด และวิธีการทำงาน และดูวิธีต่าง ๆ ในการวัดประสิทธิภาพ โดยรวมแล้ววัสดุที่ทำจากดีบุกดูเหมือนเป็นทางออกที่ดีในการลดการปล่อย CO2 และมีศักยภาพในการพัฒนาเพิ่มเติมและรวมเข้ากับแหล่งพลังงานหมุนเวียนต่าง ๆ

SDGs หลัก

ปฎิบัติการอย่างเร่งด่วยเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น (Take urgent action to combat climate change and its impactsa)