ผู้ดำเนินการร่วม

การศึกษา Genome-wide CRISPR screen ระบุตัวควบคุมการทำงานของ MAPK และ MTOR pathways ทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดการดื้อยา sorafenib ในมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์

A genome-wide CRISPR screen identifies regulators of MAPK and MTOR pathways that mediate resistance to sorafenib in acute myeloid leukemia

       โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์นั้นมีการดำเนินของโรคเร็วและอัตราการรอดชีวิตต่ำ 30% ของผู้ป่วยมีความผิดปกติของยีน FLT3 ซึ่งทำให้โปรตีน FLT3 ทำงานมากเกินไป ดังนั้นเราจึงมีความพยายามในการพัฒนายาที่สามารถยับยั้งการทำงานของ FLT3 ได้

       ในบรรดายารักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า ยาในกลุ่ม ‘sorafenib’ เป็นหนึ่งในยาที่ให้ผลการรักษาที่น่าพอใจในผู้ป่วย แต่ผลของยาคงอยู่ได้ไม่นานเนื่องจากเกิดการดื้อต่อยา งานวิจัยนี้เราใช้เทคนิค genome-wide CRISPR knock out screen ซึ่งเป็นเทคนิคที่สามารถระบุว่ายีนใดของมนุษย์เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อยากลุ่มนี้ได้ เพื่อที่จะทำความเข้าใจว่าผู้ป่วยเกิดการดื้อต่อยาได้อย่างไร

       เราพบว่ายีนหลายตัวที่ทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของ MAPK pathways ซึ่งเป็นวิถีการส่งสัญญาณภายในเซลล์ที่กระตุ้นการเจริญของมะเร็ง และ MTOR pathways ที่มีบทบาทในการควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ในเซลล์ เมื่อถูกทำให้ไม่ทำงานจะทำให้เซลล์มะเร็งดื้อยามากขึ้น จึงได้ทำการศึกษายืนยันผลของยีนเหล่านี้ทีละตัว และพบผลที่สอดคล้องกันว่าผู้ป่วยที่มีปริมาณของผลผลิตจากยีนเหล่านี้ต่ำจะตอบสนองต่อยาไม่ดี

       นอกจากนั้นเราได้สร้างเซลล์มะเร็งที่ดื้อต่อยา sorafenib และพบว่าเซลล์เหล่านี้มีการทำงานของ MAPK และ MTOR pathways สูง 

ดังนั้นการใช้ยายับยั้งการทำงานของ MAPK signaling ร่วมกับยายับยั้ง FLT3 จะสามารถจัดการกับเซลล์มะเร็งได้ดีกว่า

SDGs หลัก
สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย (Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages)