กระบวนการคริสเปอร์เพื่อตรวจโรคตับและตับอ่อนวายเฉียบพลันในกุ้ง ซึ่งสามารถอ่านผลผ่านโทรศัพท์มือถือได้

Smartphone-compatible, CRISPR-based platforms for sensitive detection of acute hepatopancreatic necrosis disease in shrimp

โรคตับและตับอ่อนวายเฉียบพลัน (AHPND) ได้รับการขนานนามว่าเป็น โรคติดเชื้อที่รุนแรงที่สุดในกุ้งเศรษฐกิจ โดยการระบาดของโรคนี้ในช่วงต้นทศวรรษที่ 2010 ได้ทำให้ผลผลิตกุ้งของโลกลดลงอย่างมหาศาล และส่งผลให้ประเทศไทยตกจากอันดับผู้ส่งออกกุ้งชั้นนำของโลก

โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียวิบริโอบางสายพันธุ์ ซึ่งสามารถสร้างโปรตีนพิษ ที่มีฤทธิ์ทำลายตับกุ้งโดยตรง โดยฟาร์มที่ได้รับผลกระทบ อาจสูญเสียกุ้ง 100% ภายในเวลาอันสั้น 

        เพื่อเป็นการเพิ่มตัวเลือกในการตรวจวินิจฉัยโรคนี้ กลุ่มวิจัยของเรา จึงได้ดัดแปลง วิธีตรวจโรคด้วยคริสเปอร์ ให้มีความจำเพาะต่อยีนสร้างสารพิษก่อ AHPD และตรวจดีเอ็นเอได้ต่ำถึง 100 โมเลกุล โดยใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง ผ่านการบ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส

ทำให้วิธีนี้มีศักยภาพในการใช้งานระดับภาคสนามสูง

        นอกจากนี้ วิธีคริสเปอร์ยังใช้งานร่วมกับโทรศัพท์มือถือ เพื่ออ่านสัญญาณแสงจากปฏิกิริยา ผ่านแอปพลิเคชันถ่ายรูปทั่วไป อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพของวิธีตรวจแบบ nested PCR ซึ่งได้มีการใช้งานอย่างแพร่หลายอยู่แล้ว ให้มีขั้นตอนที่สั้นลง เป็นการเพิ่มความสะดวกสบายของการตรวจโรคนี้ในระดับห้องปฏิบัติการ

SDGs หลัก
สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย (Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages)