ผู้ดำเนินการร่วม

การเปลี่ยนแปลงลักษณะของกลุ่มไอส์เลตตับอ่อนในหนูตัดรังไข่ที่กินอาหารไขมันและน้ำตาลฟรักโตสปริมาณสูง

Morphological alteration of the pancreatic islet in ovariectomized rats fed a high‑fat high‑fructose diet

        โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมักเกิดขึ้นร่วมกับภาวะดื้อต่ออินซูลินและความผิดปกติของเซลล์ผลิตอินซูลินในตับอ่อน ผลงานวิจัยก่อนหน้านี้พบว่าภาวะดื้อต่ออินซูลินและระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกิดขึ้นในหนูที่ตัดรังไข่ออกและได้รับอาหารมีไขมันและน้ำตาลฟรักโตสในปริมาณสูง

        งานวิจัยนี้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงลักษณะของกลุ่มไอส์เลตตับอ่อนในระดับจุลกายวิภาคศาสตร์ของหนูตัดรังไข่ที่กินอาหารไขมันและน้ำตาลฟรักโตสปริมาณสูงเป็นเวลา 12 สัปดาห์ 

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มไอส์เลตตับอ่อนของหนูที่ถูกตัดรังไข่ออกมีขนาดใหญ่ขึ้น กลุ่มไอส์เลตตับอ่อนมีขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นไปอีกในกลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันและน้ำตาลฟรักโตสปริมาณสูง

        โดยความผิดปกติดังกล่าวเกิดขึ้นร่วมกับปริมาณไขมันสะสมในเซลล์และการขยายบริเวณของกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินและกลูคากอน ทั้งนี้การให้ฮอร์โมนเพศหญิงสามารถบรรเทาความผิดปกติของลักษณะของกลุ่มไอส์เลตตับอ่อนในหนูตัดรังไข่ที่กินอาหารไขมันและน้ำตาลฟรักโตสปริมาณสูงได้

        งานวิจัยนี้ได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของกลุ่มไอส์เลตตับอ่อน กระบวนการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และแนวทางที่ช่วยบรรเทาความผิดปกติดังกล่าว

SDGs หลัก
สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย (Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages)